บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
กิจกรรมพัฒนาประจำเดือนพฤษภาคม
บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นายสราญจิต อินทราช กลุ่มประชาชนทั่วไป
************************************************************
1.ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01, 02 และ 06 ในภาพรวมพบว่า จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลโดยดูพื้นที่ของภาพรวมทั้งหมดแล้วสภาพของชุมชนนั้นน่าอยู่ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้รู้สึกว่าได้อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง หมู่บ้านโคกใหม่มีความสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่ ไม่ค่อยจะมีขยะตามหมู่บ้าน สภาพชุมชนเป็นสภาพที่ไม่มีความแออัด มีอากาศที่ถ่ายเทบริสุทธิ มีร้านค้าพอเพียงต่อความต้องการของประชาชนครัวเรือนและชุมชน และอีกทั้งยังขาดองค์ความรู้ในด้านการทำเกษตรอินทรีย์อีกด้วย และความต้องการของหมู่บ้านอยากให้มหาวิทยาลัยมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเรื่องการเกษตรและการทำเกษตรอินทรีย์และกลุ่มอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนครอบครัวอีกด้วย
- ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลังและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานร่วมกับทางผู้นำหมู่บ้านและ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านโคกใหม่ ม.1 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดย มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน ได้แก่
- นางสาว สมัย จันทรลักษณ์
- นาย บุญเมือง ผาคำ
- นาง นันทนา ขงรัมย์
- นาง วิลัยลักษณ์ ขงรัมย์
- นาย พิชิต ขอมา
เปิดโครงการและแนะนำโครงการโดย ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มาเป็นประธานเปิดงานโครงการในครั้งนี้ด้วย และได้มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 1คน ได้แก่ นางอำนวย ศรีคล้าย ที่ได้มาให้ความรู้แก่ทีมปฏิบัติงานและผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
-กิจกรรมต่อไปคือได้มีการอบรมทำปุ๋ยอินทรีย์และทำน้ำหมักชีวภาพ
- 1. สูตรฮอร์โมนกล้วย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมคือ
(1) ต้นกล้วย (ตัดในช่วงเช้า)
(2) กากน้ำตาล
วิธีการทำ
-สับต้นกล้วยให้ละเอียด
-นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้วในสัดส่วน 1/3ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้7วันจึงจะสามารถนำมาใช้ได้
วิธีใช้
-ใช้ฮอร์โมนกล้วย 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็นทุกสัปดาห์
ประโยชน์ของจุลินทรีย์หน่อกล้วย
-ป้องกันเชื้อรา
-รากเน่า
-โคนเน่า
-ทำให้ดินร่วนซุย
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้อุปสรรคที่เจอช่วงนี้คือการแพร่ระบาดของโรคระบาดCOVID19ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านให้เกิดความกลัวและวิตกกังวลกันมาก ในชุมชนยังขาดอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงและยังไม่มีการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างความเข็มแข็งในชุมชน
ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานทุกคนจะนำความรู้ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ในอนาคตและขอขอบคุณ คุณแม่อำนวย ศรีคล้าย ที่ได้สละเวลามาแบ่งปันความรู้ให้แก่ทีมปฏิบัติงานทุกคน
ขอขอบคุณ ผศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม และคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านที่ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานโครงการในครั้งนี้