1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. บทความการปฏิบัติงานและการอบรมทำสบู่แหลวล้างมือ ป้องกันโควิด-19 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนกรกฏาคม 2564

บทความการปฏิบัติงานและการอบรมทำสบู่แหลวล้างมือ ป้องกันโควิด-19 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ประจำเดือนกรกฏาคม 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.  

ดิฉันนางสาวพัชรี มณีเติม ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4  ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – รายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

จากการลงพื้นที่ เขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ บ้านหนองผักโพด หมู่ 4 ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม สภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านบรรยากาศดี ผู้คนเป็นมิตร อาชีพหลัก คือ ทำเกษตร และเลี้ยงสัตว์ การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 เมื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล ชาวบ้านหวาดระแวงเพิ่มขึ้น ทางโครงการและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการอบรมการทำอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 คือ ทำสบู่เหลวล้างมือ พร้อมแจกไปใช้ที่บ้านเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้กันทั้งครัวเรือน

1) ผลจากการฝึกอบรมการการทำอุปกรณ์ทำสบู่เหลว

ทางโครงการและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้าน ให้หาจิตอาสา หมู่บ้านละ 2-3 คน เพื่อมาอบรมการทำสบู่เหลวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด 19  ก่อนเข้ารับการอบรมมีการฉีดสเปย์แอลกอฮอล์ทุกครั้ง และมีการเว้นระยะห่าง

สถานที่ วัดป่าแสลงพัน ต. แสลงพัน อ. ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

วิทยากรผู้ให้ความรู้ ครูอี๊ด ภัทรานิษฐ์  กุลพิเชษฐ์วณิช กรรมการผู้จัดการบริษัท บ้านเธอแอง กรุ๊ปส์ จำกัด

จากวันที่มีการอบรมทำสบู่เหลว ดิฉันได้ลงพื้นที่สอบถามการใช้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำกลับไปใช้ ชาวบ้านแจ้งว่าใช้แล้วรู้สึกสะอาด จะล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ไปทำธุระข้างนอกก่อนเข้าบ้านก็จะล้างมือ มีคนสนใจการทำผลิตภัณฑ์ สอบถามเรื่องต้นทุน แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำสบู่แหลวล้างมือ

อุปกรณ์ ดังนี้

1 AD 600 กรัม
2 N70 1000 กรัม
3 ผงข้น 350 กรัม
4 KD 250 กรัม
5 น้ำ+สมุนไพร 8000 มิลลิกรัม
6 สารกันเสีย 1 ออนซ์
7 น้ำหอม 1 ออนซ์
8 น้ำหอม ใส่พอประมาณ


วิธีทำ ดังนี้

  1. นำน้ำ+สมุนไพรต้มให้เดือด กรองเอากากออก
  2. นำAD+N70 คนให้เข้ากัน
  3. นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ ผงข้น คน ให้ละลาย เทผสมในข้อ N70 คนให้เข้ากัน
  4. เติม KD,สารกันเสีย,สีผสมอาหาร และ น้ำหอม คนให้เข้ากัน บรรจุลงภาชนะ

2) การทำโรงเรือนต้นแบบ

ในเดือนกรกฏาคมมีการทำโรงเรือนต้นแบบ 2 โรงเรือน ตั้งอยู่ที่บ้าน บุขี้เหล็กใหม่พัฒนา และบ้านหนองตาดตามุ้ง ภายในทีม จะแบ่งเป็น 2 ทีม แยกกันทำส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันเว้นระยะห่าง โควิด 19 และตัวแทนชาวบ้านที่คอยช่วยเหลือ เริ่มแรก หาสถานที่ทำโรงเรือน ซื้ออุปกรณ์การทำชั้นวางเห็ด ได้แก่ เหล็กซิ่ง 4 หุน ขนานชั้นความหนา 1.5 mm. อิฐบล็อก อิฐมอญแดง ลวด ท่อ PVC 4 หุน ผ้าใบกันร้อน เมื่อสร้างเสร็จ ภายในทีมได้นำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาลง โรงเรือนละ 1,000 ก้อน และได้เชิญวิทยากรฝึกอบรมการเพาะเห็ด : นายภัทร ภูมรา มาให้ความรู้ในการดูแลเห็ด จิตอาสาในชุมชนในแต่ละชุมชนมารับฟังการบรรยายถ่ายทอด เพื่อที่จะดูแล พัฒนาผลิตภัณฑ์ในลำดับต่อไปและทำบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละโรงเรือน

3) ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์

3.1  ปัญหาการหาสถานที่ทำโรงเรือนคือ คับแคบ และการควบคุมอุณหภูมิค่อนข้างยาก

3.2  ปัญหาการเชิญชาวบ้านมาให้ความรู้ด้านเพาะเห็ด ทำให้เกิดการอบรมอาชีพหลายครั้งจนเกินความจำเป็น และอบรมทำสบู่เหลวล้างมือ จำกัดจำนวนคน เนื่องจากโรคระบาดโควิด 19

3.3  ปัญหางบที่ใช้ในการอบรม และทำโรงเรืองในแต่ละครั้งบานปลาย

4) แนวทางแก้ไข

การอบรมในแต่ละครั้งต้องการคนที่สนใจจริงๆ มาอบรม การทำโรงเห็ดอยากให้ชาวบ้านช่วยออกค่าใช้จ่ายบางส่วนเพราะจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการสร้างอาชีพมากขึ้น

 

 

อื่นๆ

เมนู