รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงานประจำเดือนเมษายน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
โดย นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ ประเภท บัณฑิตจบใหม่
พื้นที่รับผิดชอบ : บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ 15 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: HS06 การสร้างได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
วันที่ 22 มีนาคม 2564 ได้มีการประชุมถอดบทเรียนสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนารายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนเมษายน พบว่า แนวทางพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีดังนี้
1) ประเภทเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่จะนำมาพัฒนาอาชีพ ได้แก่
1.1 ฟางข้าว
1.2 เปลือกมันสำปะหลัง
1.3 เศษใบไม้ หญ้า วัชพืช
2) ประเภทอาชีพที่จะพัฒนาเพื่อสร้างรายได้
2.1) การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และเห็ดฟางกองเตี้ย
2.2) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงดิน
วันที่ 29 มีนาคม 2564 ดิฉันและสมาชิกในกลุ่มได้นัดกันเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันในกลุ่ม
โดยคณะปฏิบัติงานในกลุ่ม ดังนี้
1.นางสาวเพ็ญนภา ตาชูชาติ (ดิฉัน)
2.นางสาวพัชรี มณีเติม
3.นางสาววนิดา เชาวนกุล
4.นายศิริพงษ์ เครือจันทร์
5.นายหัสวัฒน์ งอยไธสง
ได้ปฏิบัติงานลงพื้นที่สอบถามข้อมูลของจากคนในชุมชนเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และจากการสอบถามข้อมูลคนในชุมชนส่วนใหญ่สนใจการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และเห็ดฟางกองเตี้ย เพื่อสร้างรายได้
วันที่ 5 เมษายน 2564 ได้มีการประชุมรายงานความก้าวหน้าการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางการพัฒนารายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ดิฉันและคณะปฏิบัติงานในกลุ่ม ได้ลงสำรวจตามพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ คือ 1. หมู่ 3 บ้านหนองสรวง 2. หมู่ 4 บ้านหนองผักโพด 3. หมู่ 9 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย 4. หมู่ 13 บ้านสามเขย 5. หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้สอบถามข้อมูลความต้องการทางการพัฒนารายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำเห็ดฟาง เป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ คือ สภาพอาการที่ร้อนและคนในชุมชนออกไปไร่ไปนา ทำให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน