1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS06 – การลงพื้นที่อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชน ในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS06 – การลงพื้นที่อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชน ในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ประจำเดือนพฤษภาคม 2564

 

ดิฉันนางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่  เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์ 

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 15 บ้านโคกใหม่พัฒนา ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS06 – รายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ได้ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการและตามที่รับมอบหมาย ดังนี้

วันที่ 28 เมษายน 2564 ได้มีการประชุมเลื่อนกำหนดการอบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เลื่อนเป็นวันที่ 3 – 4พฤษภาคม 2564 และแจกเสื้อให้กับผู้ปฏิบัติงานประจำพื้นที่ตำบลแสลงพัน

 

วันที่ 3 พฤษภาคม 2564  นัดจัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่เข้าอบรมแบบเว้นระยะห่าง  ณ วัดป่าแสลงพันตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับกลุ่มย่อย

วันที่ 4 พฤษภาคม 2564   อบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชนในเขตตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          1 กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการ

          2 การฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้ 

2.1 สูตรฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

– ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม

– กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม

– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน

– ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด

– ถังน้ำ 1 ถัง    

– ไม้คน 1 อัน

– เครื่องปั่น 1 เครื่อง

วิธีทำ

– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้

– นำกากน้ำตาลเทลงไป

– นำแป้งข้าวหมากบดให้ละเอียดเทลงไป

– นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

หมักไว้ 14 วัน  เก็บไว้ในที่ร่ม 

ประโยชน์ฮอร์โมนไข่

-บำรุงใบเขียว

-เร่งดอก ผลผลิต

วิธีใช้

 -ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

-ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

2.2 สูตรฮอร์โมนกล้วย

วัสดุอุปกรณ์

-ต้นกล้วย(ตัดในช่วงเช้า)

-กากน้ำตาล

วิธีการ

1.สับต้นกล้วยให้ละเอียด

2.นำกากน้ำตาลผสมกับต้นกล้วยที่สับแล้ว ในสัดส่วน 1/3 ผสมแล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 7 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้

ประโยชน์จุลินทรีย์หน่อกล้วย

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-ทำให้ดินร่วนซุย

วิธีใช้

  2-5 แกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

2.3 สูตรไตรโครเดอร์มา

วัสดุอุปกรณ์

-ถังใส่น้ำ 1ถัง   

-ไม้พาย 1อัน

-เชื้อไตรโครเดอร์มา 2ช้อนแกง    

-น้ำตาลแดงธรรมชาติ 2 กิโลกรัม

วิธีการทำ

1.นำน้ำ 20 ลิตรมาเทลงในถังภาชนะ

2.นำน้ำตาลแดง 2 กิโลกรัมมาเทลงใส่ถัง

3.นำเชื้อไตรโครโรมา 2 ช้อนแกง เทลงใส่ถัง

4.ผสมให้เข้ากันไปในทิดทางเดียวกันให้น้ำตาลละลาย

5.หมักไว้48ชั่วโมง หรือ2วันนำออกมาใช้ได้เลย

ประโยชน์ไตรโคเดอร์มา

-ป้องกันเชื้อรา

-รากเน่า

-โคนเน่า

-แดงเกอร์

วิธีใช้

 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นจอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์

          3 การเพาะเห็ดจากฟางข้าว 

อุปกรณ์

  1. ตะกร้าไม้ไผ่ หรือพลาสติก ที่มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว
  2. ก้อนเชื้อเห็ดฟาง
  3. หยวกกล้วย หรือ ผักตบชวา สับละเอียด
  4. รำข้าว
  5. ฟาง
  6. พลาสติกใส สำหรับคลุม

วิธีการทำ

  1. เริ่มจากแช่ฟางในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน
  2. บี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำมาผสมกับหยวกกล้วยสับ และรำข้าว กะปริมาณให้พอดีกัน
  3. นำฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาใส่รองก้นตะกร้า เป็นชั้นที่ 1 ที่สำคัญคือต้องกดให้แน่น และเก็บฟางให้เรียบร้อยอย่าให้ออกมาช่องตะกร้า อาจใช้กรรไกรช่วยเล็มออกก็ได้
  4. โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมแล้ว โดยโรยบริเวณริมขอบตะกร้า เว้นตรงกลางไว้หากใครมีปุ๋ยคอก อาจใส่ปุ๋ยคอกลงตรงกลาง เพื่อบำรุงเห็ดให้เติบโตดีขึ้นก็ได้
  5. นำฟางมาคลุมปิด และทำสลับชั้นกันกับเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้ฟางทั้งหมด 4 ชั้น และเชื้อเห็ด 3 ชั้น มีเคล็ดลับอยู่ว่า พอถึงเชื้อเห็ดชั้นที่ 3 ให้โรยไปให้ทั่ว ไม่ต้องเว้นตรงกลางไว้แล้วใช้ฟางคลุมปิดเป็นชั้นสุดท้าย
  6. จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้พลาสติกใสคลุมทิ้งไว้ หากเพาะหลายตะกร้า อาจทำเป็นกระโจมพลาสติกคลุมก็ได้

วิธีการดูแล

  1. ตั้งไว้ในที่ร่ำไร คือได้แดดกับร่ม ประมาณ 50/50 เรียกว่าต้องไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป จากนั้นดูแลความชื้นให้ดี โดยสังเกตที่พลาสติกใส หากมีไอสีขาวๆ แสดงว่าความชื้นพอดี แต่ถ้าแห้ง ควรรดน้ำบริเวณรอบๆ ตะกร้า เพื่อเพิ่มความชื้นให้ตะกร้าเพาะ โดยไม่ต้องเปิดพลาสติกออกมารด
  2. ข้อควรรู้อีกประการคือ หากจะวางตะกร้าบนดิน ควรหาก้อนหินหรือก้อนอิฐ สำหรับวางตะกร้า เพื่อป้องกันแมลงอย่างมดหรือปลวกรบกวน
  3. รอประมาณ 5-10 วัน เห็ดรอบแรกก็จะออกมาให้ชื่นใจ เมื่อเก็บเห็ดแล้ว ให้รดน้ำให้ชุ่ม คลุมพลาสติกอีกครั้ง อีกประมาณ 7 วัน จะมีเห็ดออกมาให้เก็บอีกรอบ รวมแล้ว ถ้าดูแลดีๆ เชื้อเห็ด 1 ก้อน เพาะให้ตะกร้า 1 ใบ น่าจะได้เห็ดประมาณ 1 กิโลกรัม

และดิฉันทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้แก่ชุมชน ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

          เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ 15  เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 คน ได้แก่

  1. นายจำรัส วงค์ธรรม      บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 15
  2. นายสาคร ประทุม        บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 15
  3. นายทองสูน ประทุม      บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 15
  4. นายโพธิ์ เสาแก้ว          บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 15
  5. นายสุดใจ เขียวอ่อน     บ้านโคกใหม่พัฒนา  หมู่ที่ 15

สรุปผลการทำงานประจำเดือนพฤษภาคม การอบรมอบรมโครงการหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและปุ๋ยชีวภาพจากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับประชาชนในเขตตำบลแสลงพัน มีการทำความสะอาดบริเวณต่างๆ ภายในวัดป่าแสลงพัน และการดูแลป้องตัวเองจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยได้ร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มเป็นอย่างดีมาก ทำให้ดิฉันได้รับรู้ถึงความสามัคคีของตนในหมู่คณะที่มาช่วยกันทำความสะอาดและพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดทำให้สะอาดและจัดเป็นสถานที่เข้าอบรม  ทำให้ดิฉันได้ทราบถึงการตระหนักของความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด – 19 และการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ในการอบรมครั้งนี้ทำให้ดิฉัน คณะเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่ตำบลแสลงพันและอาจารย์ มีความประใจกับความร่วมมือร่วมใจจากจากผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง

 

อื่นๆ

เมนู