บทความสรุปผลการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ
ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564
บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
โดย นาย สราญจิต อินทราช กลุ่มประชาชนทั่วไป
ลงพื้นที่รับผิดชอบตามโครงการปลูกเห็ดนางฟ้า และ ทำผลิตภัณฑ์ เจลล้างมือ สบู่เหลว
บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาพรวมของตำบลแสลงพัน
-มีการจัดอบรมทีมงานพร้อมทั้งชาวบ้าน ในเรื่องการทำ สบู่เหลว โดยมีวิทยากร คือ นางภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช ( ครูอี๊ด ) ได้มาเป็นวิทยากร ให้คำแนะนำในการทำสบู่เหลว และ สมุนไพรโบราณต่างๆ โดยการใช้สมุนไพโบราณมาทำ
-มีการจัดอบรมชาวบ้านในเรื่องการปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีวิทยากร คือ นายภัทร ภูมรา ( ครูพีท ) ได้มาเป็นวิทยากรในการ ปลูก ดูแลรักษา และ แปรรูปจากเห็ดนางฟ้า
ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่รับผิดชอบ
ผู้ปฏิบัติรับผิดชอบในการดูแลพื้นที่ บ้านโคกใหม่ หมู่ 1 ได้ติดต่อประสานงานกับทางอาสาหมู่บ้าน 5 คน จากบ้านโคกใหม่ เพื่อเข้ารับฟังอบรมการปลูกและแปรรูปจากเห็ดนางฟ้า โดยใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เพื่อเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายให้แก่ชาวบ้าน
ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ปัญหาหลักคือในการลงพื้นที่เนื่องจากโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถประสานงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้งานล่าช้า
และ ต้องอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19
ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม แนวทางแก้ไข
ปัญหากำลังคนไม่พอ ต้องขอแรงจากขาวบ้านเพิ่ม
ปัญหาระยะเวลายื้ดเยื้อ ต้องเร่งสร้างโรงเรือน
ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม แนวทางแก้ไข
ปัญหาการควบคุมอุณภูมิของเห็ด ใช้ผ้าสแลนด์สีดำมาปิดเพิ่ม
โรงเห็ดไม่มิดชิด หาอุปกรณ์เพิ่ม
การขาดแคลนนำ ต่อท่อเพิ่มเติมเพื่อรดน้ำเห็ด
การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
นื่องจากผลกระทบจากมาตรการปิดกิจการต่างๆของรัฐ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนขาดรายได้
ซึ่งแต่เดิมมีประชาชนที่ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น เกษตรกร รับจ้างทั่วไป รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ต้องประสบปัญหาและประกอบอาชีพลำบากขึ้น จึงมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลต่าง
มีการลงความเห็นของชาวบ้านในการ ปลูกเห็ดนางฟ้า และทำโรงเรือน เพื่อที่จะเพิ่ม รายได้ และ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง โดยการ แปรรูปเห็ดนางฟ้า เป็น การทำ แหนมเห็ด และ ทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้า