แบบรายงานผลการปฏิบัติประจำเดือนพฤษภาคม 2564
นายศิริพงษ์ เครือจันทร์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบ 01 จำนวน 20 ชุด ,แบบ 02 จำนวน 20 ชุด แบบ 06 จำนวน 20 ชุด ของชุมชนบ้านสามเขย ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งภาพรวมพบว่า ชุมชนอยู่กันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุส่วนคนวัยทำงานต่างออกไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ โดยชุมชนประกอบอาชีพทำนาและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก
- ทำการเชิญชวนและประสานงานผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟาง และ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง : เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผลการปฏิบัติงาน มีผู้เข้าร่วมเป็นจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 คน
- ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานทำการสังเคราะห์องค์ความรู้ ถอดบทเรียน จากการฝึกอบรม ตามที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์/กิจกรรม ได้แก่
1) การแปรรูปเศษวัสดุจากฟางข้าว
2) การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
- ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญในชุมชนบ้านสามเขย ตำบลแสลงพัน อำเภอ ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลที่ทำการบันทึกไปแล้ว ได้แก่ (วัด โรงเรียน แหล่งน้ำ ร้านค้า ตลาด ฯลฯ ) ทั้งนี้ จะทำการบันทึกข้อมูลให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนถัดไป
- ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานชุมชน ในทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T พื้นที่รับผิดชอบตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ช่วยเหลือดูแลเกี่ยวกับการประสานงานกับผู้นำชุมชน
- ได้กำกับติดตามผลการฝึกอบรม การนำองค์ความรู้จากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ของสมาชิกชุมชนที่เป็นจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น หมู่บ้านสามเขย ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ ในรูปแบบของการโทรศัพท์สอบถาม และติดต่อทางไลน์กลุ่ม พบว่า มีการลงมือปฏิบัติจริงในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว และจะได้ติดตามพร้อมทั้งร่วมพัฒนาในระยะต่อไป
- ได้ดำเนินการประสานงานผู้นำชุมชนบ้านสามเขย ได้แก่ นายวิชิต พิมพันธ์ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านสามเขย หมู่ 13 และสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุข และปราชญ์ชุมชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป็นทีม ที่ปรึกษาในโครงการพัฒนา
- ได้ทำการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้เพื่อการแปรรูป การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การตลาด และอื่นๆ เช่น ความต้องการของตลาด วัตถุดิบ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตามโครงการการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟาง และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าว และเปลือกมันสำปะหลัง : เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตามที่ได้รับมอบหมาย จากเว็บไซต์ วิทยากรบรรยายและจากผู้รู้ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความรู้กับทีมปฏิบัติงาน โดยได้ทำการศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้
1) การแปรรูปเศษวัสดุจากฟางข้าว
2) การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ