บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน

ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

นายศิริพงษ์ เครือจันทร์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่

***********************************************************************************************************************************

  1. จัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการรอบแรก (เดือนมีนาคม-กรกฎาคม) 2564

เพื่อจัดทำรูปเล่ม และนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานผลของโครงการในระยะเริ่มแรก ในส่วนของชุมชนบ้านสามเขย หมู่ที่ 13 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน สำรวจพื้นที่ของชุมชนประชากร สร้างเครือข่ายกับผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำมาขยายผลและวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนร่วมกันชุมชนอื่นในพื้นที่ของตำบลแสลงพัน และในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – มิถุนายน ที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในหลายพื้นที่ ซึ่งได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในหลายภาคส่วน ทั้งสภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชน รวมไปถึงในเขตพื้นที่ของตำบลแสลงพันด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้คนในพื้นที่ต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย ล้างมืออยู่บ่อย ๆ และลดการพบปะผู้คนเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีน

Step1 คลีนพื้นที่ ทำความสะอาดบริเวณสถานที่สาธารณะและที่มีประชาชนร่วมกัน คือ วัดป่าแสลงพัน โดยได้มีการทำความสะอาดพื้นที่กวาดใบไม้ที่กองอยู่รอบ ๆ วัดเพื่อลดแหล่งแพร่เชื้อโรค พร้อมทั้งความสะอาดบริเวณภายในศาลาของวัด ซึ่งเป็นที่สำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ ซึ่งมีผู้คนใช้งานเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อที่สามารถทำให้เกิดการระบาดได้

Step2 ได้มีการจัดทำวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์ สบู่ และการทำเจลแอลกอฮอล์ แจกจ่ายประชาชนในพื้นที่พร้อมทั้งแจกจ่ายหน้ากากอนามัยสำหรับประชาชนในพื้นที่

Step3 กิจกรรมการเดินรณรงค์เชิญชวน ให้ประชาชนให้ไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับประชาชนในประเทศ และได้รณรงค์ป้องกันเฝ้าระวังการแพร่ระบาดการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือและการใช้เจลแอลกอฮอล์

หลังจากสถานการณ์โควิด 19 ได้คลี่คลายและเบาบางลงจึงได้มีการจัดการอบรมสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยตัวแทนประชาชนกลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านสามเขย อบรมเรื่องการผลิตเห็นจากตะกร้าและการผลิตจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ณ ศาลากลางบ้านหมู่บ้านสามเขย ผลฝึกการอบรมในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในการเข้ารับการฝึกอบรม และมีความสนใจอย่างมากในการพัฒนาฝึกฝนอาชีพเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อรายได้ ให้แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากผู้นำชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านรวมถึงผู้ปฏิบัติงานทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการฝึกฝนพัฒนาอาชีพเป็นอย่างดี

  1. กิจกรรมการส่งเสริมตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน

ในการดำเนินกิจกรรมโรงเรือนเพาะเห็ดของชุมชุนทั้ง 3 ชุมชนได้มีการแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโรงเรือนสู่ตลาดท้องถิ่นของชุมชน การบรรจุภัณฑ์ในระยะเริ่มต้น การประมาณราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และคำนวณค่าใช้จ่ายในการออกจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ได้มีการแนะนำการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพของชุมชนและลดรายจ่ายของครัวเรือน

  1. กิจกรรมติดตามและให้คำแนะนำประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์

จากการอบรมพัฒนาอาชีพเพื่อพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หัวข้อการทำเห็ดจากฟางและน้ำหมักชีวภาพ ในระยะแรกที่ผ่านมาทำให้มีประชาชนหลายชุมชนให้ความร่วมมือ และสนใจที่จะเรียนรู้การพัฒนาอาชีพ ได้มีประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนในการทดลองและลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดและทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลในระยะแรกมีประชาชนหลายคนสามารถทำได้เป็นอย่างดี และได้มีชุมชนจำนวน 3 ชุมชนรวมกลุ่มกันจัดตั้งโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดคือ ชุมชนบ้างหนองตาดตามุ่ง ชุมชนบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา และชุมชนบ้านบุก้านตง ซึ่งทั้ง  3 ชุมชนสามารถรวมกลุ่มจัดตั้งโรงเรือน ดูแลและเพาะเห็ดเพื่อจำหน่ายสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี

  1. การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.1 กลุ่มบ้านหนองตาดตามุ่ง เสนอ : 1. ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น 2. น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง(เห็ด)

สมาชิกในกลุ่ม

  1. นางศุภาณัน ริชาร์ดส (หัวหน้าทีม)
  2. นางสาววรัญญา พิมพ์เชื้อ
  3. นางสาวศิรินันท์ ฝาสูงเนิน
  4. นางสาววนิดา เชาวนกุล
  5. นายอภิสิทธิ์ แสงสุข
  6. นายหัสวัฒน์ งอยไธสง

4.2 กลุ่มบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา เสนอ 1. แหนมเห็ด ส้มเห็ด  2. เห็ดชุบแป้งทอด จากส้มเห็ด

สมาชิกในกลุ่ม

1. นายเจษฎา  กุลสุนทรรัตน์  (หัวหน้าทีม)

2. นางสาวดวงฤทัย  อัมราสกุลสมบัติ

3. นายบุญเหนือ  เครือตา

4. นางสาวเพ็ญนภา  ตาชูชาติ

5. นางสาวพัชรี  มณีเติม

6. นายศิริพงษ์  เครือจันทร์

4.3 กลุ่มบ้านบุก้านตงพัฒนา เสนอ 1.ทอดกรอบเห็ด  2.เห็ดอบแห้งและข้าวเกรียบเห็ด

สมาชิกในกลุ่ม

  1. นายนิสิต คำหล้า (หัวหน้าทีม)
  2. นางสาวธิดา คำหล้า
  3. นายสราญจิต อินทราช
  4. นางสาวอารียา วิลาศ
  5. นางสาวกาญจนาวดี เคหาห้วย
  6. นางสาวรัตน์ชดาพร สร้อยจิต

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ด ไส้กรอกเห็ดวุ้นเส้น

วัตถุดิบ

  1. เห็ดฉีกฝอยนึ่งสุก 600 กรัม                2. หมูบดปนมัน             400   กรัม
  2. กระเทียม 50   กรัม                              4. พริกไทยเม็ด              10     กรัม
  3. รากผักชี 3       ราก                               6. ผงปรุงรส                  1       ช้อนโต๊ะ
  4. เกลือ 1        ช้อนโต๊ะ                            8. ซอสหอย                   2       ช้อนโต๊ะ
  5. ซีอิ๊วขาว 1        ช้อนโต๊ะ                      10. น้ำตาลทาย               2       ช้อนโต๊ะ

11.วุ้นเส้นสด             500     กรัม            12. ไส้หมูสำหรับยัด     10     กรัม

  1.  เชือกมัดไส้หรอก 1 ม้วน

วิธีทำ

  1. ฉีกเห็ดเป็นชิ้นเล็ก ล้างให้สะอาดนำไปนึ่งสุก 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบีบน้ำออกพอหมาดด้วยผ้าชาวบาง
  2. นำพริกไทย รากผักชี และกระเทียมโขลกพอละเอียด
  3. นำหมูบดไปตลุกเค้ากับเครื่องปรุงทั้งหมด คลุกเคล้าประมาณ 5 นาที ชิมรสตามใจชอบแล้วยัดไส้ไส้ที่เตรียมไว้แล้วมัดเป็นท่อนๆ
  4. ทำความสะอาดไส้กรอกแล้วผึ่งลมให้แห้ง ประมาณ 3-4 ชั่วโมง สามารถนำมาทอดหรือย่างได้

น้ำพริกเห็ดปลาร้าทรงเครื่อง

วัตถุดิบ

  1. พริกขี้หนูป่น   150 กรัม
  2. หอมหัวเล็ก   150 กรัม
  3. กระเทียม   150 กรัม
  4. ข่าซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด   20 กรัม
  5. ตะไคร้ซอย คั่ว แล้วโขลกละเอียด   20 กรัม
  6. ใบมะกรูดซอย คั่วแล้วโขลกละเอียด 20 กรัม
  7. น้ำมะขามเปียก   50 กรัม
  8. เนื้อปลาร้า   200 กรัม
  9. น้ำตาลทราย   100 กรัม
  10. เห็ดป่น   50 กรัม

วิธีทำ

  1. คั่วกระเทียมให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
  2. คั่วหอมหัวเล็กให้สุกแล้วโขลกละเอียด พักไว้
  3. นำปลาร้าใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน ผัดให้หอมและเดือด จึงใสน้ำมะขามเปียกและน้ำตาลทราย ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
  4. ใส่หอมหัวเล็ก กระเทียม ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูด ที่เตรียมไว้ ผัดให้เข้ากัน พอส่วนผสมเดือดจึงใส่พริกป่น ผัดให้เข้ากันดี ตักขึ้นใส่ภาชนะ
  1. การให้คำแนะนำด้านการตลาดกับกลุ่มผลิตเห็ด และน้ำหมักชีวภาพ

หลังจากการจัดตั้งกลุ่มโรงเรือนเพาะเห็ด ได้มีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดร่วมกับชุมชนและทีมปฏิบัติงาน ทีมปฏิบัติงานตำบลแสลงพันได้ลงมือทดลองพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากเห็ดร่วมกับชุมชนคิดค้นวิธี คำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ของชุมชนจากการจำหน่ายเห็ดธรรมดา ทั้งนี้ได้มีชุมชนบ้านบุก้านตงและชุมชนบ้านหนองตาดตามุ่ง ได้ให้ความสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ดคือ ไส้กรอกเห็ด และน้ำพริกปลาร้าเห็ดทรงเครื่อง เป็นผลิตภัณฑ์ในระยะเริ่มต้น

ภาพประกอบกิจกรรม

                                                          

อื่นๆ

เมนู