บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนพฤษภาคม)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)
ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ณ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบ้านหนองสรวง ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบ 01,02 และ 06 โดยภาพรวมชาวบ้าน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม เลี้ยงวัว ปลูกพืชผัก หาเช้ากินค่ำ รับจ้างทั่วไปในต่างอำเภอ หนี้สินสะสม เกิดปัญหาความยากจน และอยู่ในช่วงสถานการณ์เสี่ยง ชาวบ้านสนใจต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติลดรายจ่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการฝึกอบรมการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมให้กับสมาชิกที่เข้าร่วม ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
เชิญชวนสมาชิกในชุมชนบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 คน ได้แก่
1.นางสาวณัฐจิตรา เสนานอก บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3
2.นางประครอง สีหานู บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3
3.นางสาวปณิดา ชาติมนตรี บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3
ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวและเปลือกมันสำปะหลัง: เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 3-4 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
-
- กิจกรรมเปิดโครงการและแนะนำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)
- การฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
สูตรฮอร์โมนไข่
วัสดุอุปกรณ์
– ไข่ไก่ทั้งฟอง 6 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล 6 กิโลกรัม
– แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน
– ยาคูลท์หรือนมเปรี้ยว 1 ขวด
– ถังน้ำ 1 ถัง
– ไม้คน 1 อัน
– เครื่องปั่น 1 เครื่อง
วิธีทำ
– นำไข่ไก่ไปปั่นให้ละเอียด เทใส่ถังที่เตรียมไว้
– นำกากน้ำตาลเทลงไป
– นำแป้งข้าวหมากบดให้ละเอียดเทลงไป
– นำยาคูลท์เทลง คนให้เข้ากัน ต้องคนไปในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง ปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก
– หมักไว้ 14 วัน
วิธีใช้
– ใช้ 2-5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
– ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ทุกสัปดาห์
ประโยชน์ฮอร์โมนไข่
– บำรุงใบเขียว
– เร่งดอก ผลผลิต
-
- การเพาะเห็ดจากฟางข้าว
เริ่มจากการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม นั้นคือก้อนเชื้อเห็ดฟาง ตะกร้าพลาสติก ฟางข้าว สุ่มไก่ พลาสติก วัสดุพลางแสง อาหารเสริมของเห็ดเช่นแป้งสาลี หรือผักตบชวา เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยก็ทำการเพาะ
-
- ทุบก้อนเชื้อเห็ดฟางในถุงให้แตกพอประมาณแต่ไม่ต้องให้ถึงกับละเอียด นำมาผสมกับแป้งสาลี 1 ช้อนชา จากนั้นแบ่งก้อนเชื้อเห็ดฟางออกเป็น 2กอง กองละเท่าๆกัน เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กอง สามารถและเพาะเห็ดฟางได้ ประมาณ 2 ตะกร้า
- ให้ใส่ฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้ว 1 คืน ลงไปในตะกร้า ให้ฟางข้าวมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น
- โรยอาหารเสริมลงไป จะเป็นผักตบชวาที่หั่นไว้หรือรำละเอียดก็ได้ โรยลงไปรอบๆบนฟางข้าวแต่อย่าใส่อาหารเสริมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้
- นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยรอบๆทับไปบนอาหารเสริม โดยเน้นโรยที่ช่องของตะกร้า ถึงตอนนี้เราจะได้เป็นชั้นที่ 1 เรียบร้อย (1ตะกร้าจะต้องทำ 3 ชั้น)
- ทำชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ด้วยวิธีการเดิมแบบข้างต้น จากนั้นปิดชั้นที่ 3 ด้วยฟางข้าว จากนั้นรดน้ำใส่ตะกร้าให้เปียกชุ่ม (ถึงตอนนี้เราก็จะได้ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง 1 ตะกร้าเป็นที่เรียบร้อย)
- นำตะกร้าเห็ดฟางไปวางไว้บนพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ วางไว้บนเหนือพื้นดินประมาณ 3-4 นิ้ว (นำก้อนอิฐมาวางรองเป็นฐานอย่าให้ติดพื้น)
- จากนั้นก็นำโครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่มาครอบตะกร้า
- นำพลาสติกมาคลุมโครงหรือสุ่มจากด้านบนถึงพื้นให้มิดชิดจากนั้นก็คุมด้วยวัสดุพลางอีกที
-
- ได้ทำการบันทึกข้อมูลสถานที่สำคัญในแอพพิเคชั่น U2T ตำบล
โดยรับผิดชอบบ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 มีสถานที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้ พืชในท้องถิ่น เช่น กล้วยน้ำหว้า,ผือ สัตว์ในท้องถิ่น เช่น ไก่,ควาย,วัว แหล่งน้ำในท้องถิ่น บ้านหนองสรวง ร้านอาหารในชุมชน
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09:00-15:00 น.ได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” โดยมีประธานกล่าวเปิดงาน โดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ในช่วงเช้าได้รับฟังการบรรยายโดย ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร บรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญา แห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในยุค Word Disruption” และในช่วงบ่ายได้รับฟังบรรยายจาก คุณโจน จันได บรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา:ทางเลือกและทางรอดในยุค Viral Disruption” การทอดผ้าป่าในครั้งนี้เพื่อสร้าง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปจนถึงรุ่นต่อๆไป
5.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
อยู่ในช่วงสถานการณ์เสี่ยง โควิค 19 ทำให้ได้ลงพื้นที่พบปะชาวบ้านยากมากยิ่งขึ้นการดำเนินงาน เกิดความล่าช้า และชาวบ้านออกไปทำนาและมีแดดฝนทำให้ลงพื้นที่ยากมากยิ่งขึ้น