1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS06 - ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ
  4. ผลการปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ร่วมกันลงทะเบียนฉีควัคซีนและการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19ตามนโยบายของกระทรวง อว. ประจำเดือนมิถุนายน บ้านหนองสรวง ตำบลแสลงพัน อำเภอลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ร่วมกันลงทะเบียนฉีควัคซีนและการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19ตามนโยบายของกระทรวง อว. ประจำเดือนมิถุนายน บ้านหนองสรวง ตำบลแสลงพัน อำเภอลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนมิถุนายน)
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)

           ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ณ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3     ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

           ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงระหว่าง เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ชาวบ้านได้ทำการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการไถนา หว่านข้าว ชาวบ้านในชุมชนมีความสามัคคีร่วมด้วยช่วยกันหว่านข้าวของสมาชิกในชุมชน และได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน สมาชิกชาวบ้านในชุมชนได้มีการเฝ้าระวังโรคระบาด กินร้อนช้อนกลางล้างมืออย่างเคร่งครัด

วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและสมาชิกทีมงานตำบลได้มีการประชุมออนไลน์กับทีมอาจารย์ มอบหมายงาน จัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานประจำเดือนมิถุนายน การประชาสัมพันธ์รณรงค์การลงทะเบียนฉีควัคซีนและการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19 ให้กับชุมชนตำบลแสลงพัน งานที่ได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่

           1.การลงพื้นที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ที่ลงพื้นที่จัดกิจกรรมได้แก่ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 และบ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7

           2.ประสานงานผู้ใหญ่บ้าน อสม. เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้รณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาด มอบอุปกรณ์ป้องกันสิ่งจำเป็นแก่ชุมชน หน้ากากอนามัย เจลสเปรย์แอลกอฮอล์ สบู่ล้างมือ 

           3.ข้าพเจ้าประสานงานนายก อบต.แสลงพันอัดคลิปวีดีโอ บันทึกภาพกล่าวเชิญชวนรณรงค์            การลงทะเบียนฉีควัคซีนและการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19

          วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายลงพื้นที่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3                เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้รณรงค์การลงทะเบียนฉีควัคซีนและการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิค-19 มอบอุปกรณ์ป้องกันสิ่งจำเป็นแก่สมาชิกในชุมชน หน้ากากอนามัย เจลสเปรย์แอลกอฮอล์ สบู่ล้างมือ  

            Step1  คลีนพื้นที่ ทำความสะอาดบริเวณสถานที่สาธารณะและที่มีประชาชนร่วมกันจำนวนมาก เช่น วัด ศาลาประชาคม ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน มีการทำความสะอาดปัดกวาด เช็คถูบริเวณรอบลานวัด,ลานธรรมและบนศาลาวัดป่าแสลงพัน หมู่ที่ 5 ศาลาประชาคมทำความสะอาดเก็บขยะบริเวณรอบศาลา เช็คถู โต๊ะ เก้าอี้ บ้านสามเขย หมู่ที่ 13 บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนาหมู่ที่ 17

            Step2 การทำวัสดุป้องกันการแพร่ระบาด เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์ การทำสบู่ และการทำเจลแอลกอฮอล์แจกจ่ายประชาชนในพื้นที่

            Step3 การเดินรณรงค์เชิญชวน ติดป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชนเชิญชวนให้ไปรับวัคซีน จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การพูดเชิญชวนตามหลังคาเรือนต่าง ๆ เช่น วิธีการสวมแมสที่ถูกต้อง การใช้เจลแอลกอฮอล์ การล้างมือด้วยสบู่ที่ถูกวิธี ฉีคสเปรย์แอลกอฮอล์

การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

            วันที่ 1 มิถุนายน 2654 เวลา 09:00 น.ได้มีการฝึกอบรมการเพาะเห็ดฟาง ที่วัดป่าแสลงพัน หมู่ที่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยได้เรียนเชิญท่านคณบดี ผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม กล่าวเปิดงาน และได้เรียนเชิญท่านวิทยากรการเพาะเห็ดฟาง ครูอ๋อย นายภัทร ภูมรา มาบรรยายฝึกอบรมพัฒนา ผู้เข้าอบรม มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 จำนวน 6 คน 2.บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 จำนวน 5 คน 3.บ้านบุก้านตง หมู่ที่ 12 จำนวน 5 คน 4.บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่14 จำนวน 3 คน 5.บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16 จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 24 คน ซึ่งผลการฝึกอบรมชาวบ้านให้ความร่วมมือมาตรงต่อเวลาเข้าแถวเว้นระยะห่างในการลงชื่อเข้าร่วมอบรม สวมแมส และฉีคสเปรย์แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ ชาวบ้านได้ให้ความเข้าร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรม และยังมีการหยอดเชื้อเห็ดนางฟ้า   นำกลับไปเพาะที่บ้าน ได้ติดตามผลการฝึกอบรมชาวบ้านที่ทำการเพาะเห็ดฟางนำวิธีการทำดูแลและติดตามผลเป็นอย่างดี

            วันที่ 3 มิถุนายน 2564 ได้เข้าร่วมจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ ณ ศาลากลางหมู่บ้านสามเขย หมู่ที่ 11 สมาชิกตัวแทนหมู่บ้านหนองผักโพด หมู่ที่ 4 จำนวน 6 คน และบ้านสามเขย หมู่ที่ 13 จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 11 คน ร่วมด้วยอาจารย์และทีมงานสมาชิกตำบลแสลงพัน

            วันที่ 4 มิถุนายน 2564 ได้เข้าร่วมจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ ณ ศาลาข้างองค์การบริหารส่วนตำบลแสลงพัน บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 สมาชิกตัวแทนหมู่บ้านหนองระนาม หมู่ที่ 2 จำนวน 5 คน บ้านหนองตาหล่า หมู่ที่ 8 จำนวน 5 คน บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ที่ 9 จำนวน 7 คน และบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 23 คน ร่วมด้วยอาจารย์และทีมงานสมาชิกตำบลแสลงพัน

            วันที่ 5 มิถุนายน 2564 ได้เข้าร่วมจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ ณ ศาลา sml บ้านหนองสรวง หมุ่ที่ 3 หมุ่บ้านที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ มีผู้ได้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 3 คน ได้แก่ นางสาวณัฐจิตรา เสนานอก นางประครอง สีหานู นางสาวปณิดา ชาติมนตรี บ้านโคกใหม่ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 คน บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ที่ 15 จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 13 คน ร่วมด้วยอาจารย์และทีมงานสมาชิกตำบลแสลงพัน

            วันที่ 8 มิถุนายน 2564 ได้เข้าร่วมจัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การเพาะเห็ดฟางและการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ ณ ศาลากลางบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 สมาชิกตัวแทนหมู่บ้านบุขี้เหล็ก หมุ่ที่ 6 จำนวน 5 คน บ้านบุขี้เหล็กใหม่ หมู่ที่ 11 จำนวน 4 คน และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 11 คน ร่วมด้วยอาจารย์และทีมงานสมาชิกตำบลแสลงพัน ผลการฝึกอบรมพัฒนาโดยภาพรวมชาวบ้านให้ความเข้าร่วมเป็นอย่างดีพร้อมรับการถ่ายทอดความรู้นำไปใช้และปฏิบัติตามขั้นตอน ทั้งนี้เรายังต้องติดตามผลเพื่อพัฒนาปรับปรุงต่อไป

           

                    

                         

อาชีพที่อบรม

   1.การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

 มีการฝึกอบรมการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เตรียมวัสดุอุปกรณ์คือ ตะกร้าพลาสติก เชื้อเห็ดฟาง รำ ผงแป้งสาลี ฟางข้าวที่ทำการแช่ไว้ 1คืน หมาดๆ ถุงดำ ปุ๋ยคอก

วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1 ทุบก้อนเชื้อเห็ดฟางในถุงให้แตกพอประมาณแต่ไม่ต้องให้ถึงกับละเอียด นำมาผสมกับแป้งสาลี 1ช้อนชา รำละเอียด 1ช้อนชา ผสมให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 2 ใส่ฟางข้าว ลงไปในตะกร้าให้ฟางข้าวมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่นๆ

ขั้นตอนที่ 3 โรยปุ๋ยคอกลงไปเล็กน้อยรอบๆบนฟางข้าว

ขั้นตอนที่ 4 นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยรอบๆตะกร้า โดยเน้นโรยที่ช่องของตะกร้า ถึงตอนนี้เราจะได้เป็น ชั้นที่ 1

(1ตะกร้าจะต้องทำ 4 ชั้น)

ขั้นตอนที่ 5 ทำชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ด้วยวิธีเดิมแบบข้างต้น จากนั้นชั้นที่ 4 โรยเชื้อเห็ดฟางรอบๆทั่วตะกร้า ปิดชั้นที่ 4 ด้วยฟางข้าว

ขั้นตอนที่ 6 รดน้ำใส่ตะกร้าให้เปียกชุ่ม (ถึงตอนนี้เราก็จะได้ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง 1 ตะกร้าเป็นที่เรียบร้อย)  

ขั้นตอนที่ 7 นำตะกร้าสวมใส่ถุงดำเชือกมัดปากถุง ไปวางไว้บนพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ วางไว้บนเหนือพื้นดินประมาณ 3-4นิ้ว นำเชือกที่มัดกับถุงดำมัดขึ้นไว้บริเวณที่วางตะกร้าเห็ดฟาง

    2.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ

มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการหมักคือ ถังน้ำ กากน้ำตาล หน่อกล้วย

วิธีทำ

ขั้นตอนที่ 1 เทน้ำใส่ถังน้ำ 20ลิตร

ขั้นตอนที่ 2 เทกากน้ำตาลลงถังลิตร คนในทางเดียวกัน ห้ามสลับทาง

ขั้นตอนที่ 3 เทหน่อกล้วยที่สับละเอียดแล้วลงไป คนให้เข้ากัน ปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก    หมักไว้ 14 วัน

      

อื่นๆ

เมนู