บทความรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน (เดือนกรกฎาคม)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)

 

             ข้าพเจ้านางสาววนิดา เชาวนกุล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS06 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ณ บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

          ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพบว่า ได้มีผู้ปกครองมาจากพื้นที่เสี่ยงสูงไม่ทำการกักตัวก่อให้เกิดการแพร่เชื้อโรคระบาดโควิค-19 ในตำบลแสลงพัน ในบางพื้นที่หมู่บ้านได้มีการกักตัวเฝ้าระวังโรคระบาดโควิค–19 บางหลังคาเรือนต้องทำการหยุดค้าขาย หยุดงานเพื่อกักตัวอยู่ที่บ้าน ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง งดจับกลุ่มสังสรรค์หรือชุมนุมอยู่ในสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากเพื่อความปลอดภัย ทำให้ยากต่อการลงพื้นที่และชาวบ้านในชุมชนขาดรายได้ อีกส่วนก็เป็นฤดูแห่งการทำนาก่อให้เกิด การรับจ้างรถนา หว่านข้าว เพื่อให้มีรายได้เกิดขึ้นแก่ครอบครัว เป็นต้น

                

           วันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 09:00 น. ณ วัดป่าแสลงพัน บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉันและสมาชิกทีมงานได้เข้าร่วมโครงการ U2T COVID WEEK การทำสบู่เหลวล้างมือ สูตรสมุนไพร บัวบก เสลดพังพอน โดยมีท่านวิทยากร ครูอี๊ด ภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐ์วณิช เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำสบู่เหลวล้างมือ ได้ทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีการทำสบู่เหลวล้างมือ

                   

สูตรสบู่เหลวล้างมือสมุนไพร

  1. AD25 600 กรัม
  2. N70 1,000 กรัม
  3. ผงข้น 350 กรัม
  4. KD 250 กรัม
  5. น้ำ+สมุนไพร 8,000 มิลลิกรัม
  6. สารกันเสีย 1ออนซ์
  7. น้ำหอม 1ออนซ์
  8. สีผสมอาหาร

วิธีการทำ

     1.นำน้ำ+สมุนไพรต้มให้เดือด กรองเอากากออก

     2.นำ AD 25 +N70 คนให้เข้ากันไปในทางเดียวกัน

     3.นำน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ ผงข้น คนให้ละลาย เทผสม AD 25 +N70 คนให้เข้ากัน

     4.เติม KD+สารกันเสีย+สีผสมอาหาร และน้ำหอม คนให้เข้ากัน และบรรจุลงภาชนะ

                                     

                 

 

         วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำความสะอาดสร้างโรงเรือนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในเบื้องต้น หมู่บ้านต้นแบบคือ บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 และบ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5

                   

                   

         วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เปิดงานกิจกรรมโรงเรือนเห็ดนางฟ้าโดยได้ทำการแบ่งเป็น 2 โซน เวลา 09:30-10:30 น. ที่บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 โดยมีท่านวิทยากรครูอ๋อย คุณภัทร ภูมรา และทีมงาน มาอบรม สอนวิธีการดูแลรักษา บำรุงเห็ด และมีตัวแทน บ้านบุขี้เหล็ก หมู่ที่ 6 บ้านบุขี้เหล็กใหม่ หมู่ที่ 11 บ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา หมู่ที่ 17 ตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน เข้าร่วมอบรมฟังบรรยาย เวลา 11:00-12:00 น. ได้ทำการอบรมที่บ้านหนองตาดตามุ่ง หมู่ที่ 5 มีตัวแทน บ้านหนองตาดตามุ่งหมู่ที่ 5 บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 บ้านแสลงพันพัฒนา หมู่ที่ 14 ตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน เข้าร่วมอบรมฟังบรรยาย  

                                ผลการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชาวบ้านให้ความสนใจและให้ความร่วมมือสามัคคีเป็นอย่างดี ได้มีการเพาะเห็ดฟางที่บ้านไว้กินและช่วยลดรายจ่ายในครอบครัว ช่วงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วงแรก ชาวบ้านยังไม่มีความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มากเพียงใดจึงได้เกิดการฝึกอบรมพัฒนาเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมและวิธีการทำ การเพาะเห็ดฟาง ผลจากการฝึกอบรม บางหลังคาเรือนเพาะเห็ดฟางไม่เกิดผลผลิต ไม่ออกดอกมากและเป็นเห็ดโคนน้อย อุณหภูมิยังไม่ตรงตามที่ต้องการ ดิฉันได้เข้าลงพื้นที่ให้คำแนะนำและวิธีการดูแลติดตามทุกวัน ผลการติดตามและการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์การเพาะเห็ดฟางมีการออกดอกเพิ่มมากขึ้นสามารถเก็บผลผลิตมารับประทานเป็นอาหารได้ ดิฉันได้นำอุปสรรคและปัญหามาวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

                                                           

                                  

 

อื่นๆ

เมนู