ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนั้นประชากรโลกดำรงชีวิตอยู่เป็นกลุ่ม หรืออาจเรียกได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมก็ว่าได้ อาจจะเริ่มที่สองคนจนกลายเป็นหมู่คณะ และจะเห็นว่าการดำเนินการงานต่างๆต้องช่วยเหลื่อและซื้อจ้างค่าแรงของมนุษย์กันเอง อาทิเช่น การทำเกษตร การอุตสาหกรรม การดำเนินธุรกิจต่างๆ ล้วนต้องดำเนินงานตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งจะดำเนินการโดยขาดผู้นำไม่ได้ หากขาดผู้นำแล้วนั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้อาจไม่สำเร็จตามที่คาดหวัง การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นทั้งต้นแบบ รูปแบบ และเป็นกฎข้อบังคับไปในตัวเพื่อควบคุมให้ผู้ตามเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในปัจจุบันต่างมีผู้นำที่สามารถนำพาชุมชนให้เจริญก้าวหน้ามากมายและยังมีอีกบางส่วนที่ยังมองเพียงประโยชน์ส่วนตนอยู่ ซึ่งยังเป็นปัญหาที่ชุมชนพอเจอและต้องการที่จะให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลแก้ไข
หากจะคัดสรรผู้นำที่ดีและคุณลักษณะตรงตามที่ชุมชนต้องการนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะการเข้ามาเป็นคนสาธารณะแล้วนั้นต้องยอมอุทิศตน เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเข้ามารับผิดชอบงานแล้วละเลยต่อหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวไว้หรือนำพาผู้ตามไปในทิศทางที่มิชอบ จำต้องทำการปลดเพื่อคัดสรรหาบุคคลอาสาเข้ามาดูแลใหม่
ปัญหาผู้นำข้างต้น หากการคัดสรรผู้นำเป็นไปอย่างเที่ยงตรงไม่มีการทุจริตก็จะได้รับบุคคลที่ชุมชนต้องการ แต่หากการคัดสรรไม่โปร่งใสแล้วนั้นบุคคลที่เข้ามารับผิดชอบส่วนงานที่ชุมชนมอบให้อาจจะไม่ตรงตามที่ชุมชนต้องการ ซึ่งบางชุมชนอาจมีผู้มีอิทธิพลเข้ารับเป็นผู้นำแต่ไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ๆได้รับมอบหมาย จึงเป็นเหตุให้ส่วนการปกครองต้องมีการตรวจสอบประเมินคุณลักษณะของผู้นำทางชุมชุนในทุกๆ 4 ปี เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น คำแนะนำและชี้แจงข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของผู้นำ ทั้งยังร่วมประชาคมการประเมินผู้นำในรูปแบบการใช้เสียงข้างมาก และแบบฟอร์มการประเมิน ซึ่งการประเมินนั้นจะอยู่ภายใต้การควบคุมของการปกครองส่วนอำเภอ เมื่อทำการประเมินภายในชุมชนแล้วเสร็จทางกรมการปกครองจะทำการสรุปการประเมินออกมาเป็นตัวเลขเพื่อให้ง่ายต่อการชี้แจง และจะทำการออกหนังสือสั่งการตามกระบวนการส่งจังหวัดและนำสู่ชุมชนเพื่อแจ้งผลการประเมินคุณลักษณะและแก้ไขในส่วนที่ไม่ผ่าน ทั้งนี้ในส่วนที่ไม่ผ่านการประเมินจำต้องยอมรับและทำตามหนังสือสั่งการระบุสิ้นสุดวาระการเป็นผู้นำชุมชน และเปิดรับบุคคลผู้ที่จะอาสาเข้ามาดูแลชุมชนใหม่เมื่อมีการจัดการเลือกตั้ง
การประเมินลักษณะผู้นำนั้นสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้มากเพราะหากส่วนปกครองไม่เข้ามามีบทบาท ดูแลชุมชนก็ไม่สามารถที่จะเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะออกไปได้ ดังนั้นส่วนปกครองเป็นเสมือน USB ที่จะรับฟังข้อมูลและส่งเสียงออกไปได้เสมือน ลำโพง ทั้งนี้ยังต้องขอขอบคุณผู้นำอีกมากมายที่สามารถพัฒนาและนำพาชุมชนให้เจริญก้าวหน้าไปได้ซึ่งต้องถือเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้นำ
นายอัครวัฒน์ เชาว์ชูรัมย์
กพร. ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองหงส์
ภาพประจำเดือนมีนาคม 2564
กิจกรรมประชุมผู้นำและจับฉลากกาชาด ณ ศาลาประชาคมอำเภอหนองหงส์
กิจกรรมโครงการ “เราชนะ”(รอบเก็บตก)
ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อร้องเรียน
กิจกรรม อำเภอยิ้ม…เคลื่อนที่ ณ วันบ้านสวน ม.13 ต.ห้วยหิน อ.หนองหงส์