ข้าพเจ้านางสาว ปารีณา ทิพย์อักษร ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทางคณะอาจารย์และทางทีมงานผู้ปฏิบัติงานโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ทุกคนได้มีการนัดกันนำปุ๋ยคอกไปใส่ต้นสมุนไพรที่ปลูกไว้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและทางคณะอาจารย์ได้นัดประชุมออนไลน์พูดคุยพบปะกับทางสมาชิกทีมงานที่เข้ามาใหม่ทั้ง12 คนและได้อธิบายเรื่องการทำงาน

วันที่3 ตุลาคม 2564   ทางอาจารย์ได้นัดผู้ปฏิบัติงานทุกคนทั้งคนเก่าและคนใหม่มาช่วยกันนำใส่ปุ๋ยคอกไปใส่ต้นสมุนไพรที่ป่าชุมชนบ้านหนองปิง เมื่อใส่ปุ๋ยคอกเสร็จทางอาจารย์ได้อธิบายเรื่องการปฏิบัติงานให้กับคนใหม่ที่เข้ามาว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำในแต่ละเดือน และได้อธิบายเรื่องการอบรมทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านสังคม ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ และเรื่องการเขียนบทความรายงานปฏิบัติงานในแต่ละเดือนว่าต้องเขียนยังไงและส่งวันไหน

วันที่4 ตุลาคม 2564 ทางอาจารย์ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมอบรมการเก็บข้อมูลแบบสอบถามสำรวจ SROI โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T ในแบบสอบถามนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T โดยในการปฏิบัติหน้าที่ลูกจ้างโครงการในครั้งนี้ ท่านได้รับประโยชน์/ การเปลี่ยนแปลงในระดับใด ซึ่งหัวข้อที่ 2 อาจารย์ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานตัวแทนนักศึกษา 3 ราย บัณฑิต 3 ราย ประชาชน 3 ราย ซึ่งข้าพเจ้าได้เป็นตัวแทนบัณฑิตนั้นเอง ซึ่งการประเมินในครั้งนี้มีทั้งหมด 11 กลุ่ม คือ

1.ตำบลเป้าหมาย เช่นประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร ตำบลละ 3ราย

2.ลูกจ้างโครงการ เช่น นักศึกษา ประชาชน บัณฑิต ประเภทละ 3 ราย

3.ครอบครัวลูกจ้าง เช่น ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ 1 ครอบครัว/ตำบล

4.ชุมชนภายใน เช่น วัด/ชุมชน/แหล่งเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน 1ราย/ตำบล

5.ชุมชนภายนอก เช่น ชุมชน/แหล่งเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน 1ราย/ตำบล

6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ เช่น อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในแต่ละตำบลนั้นๆ 1คน/1แบบสอบถาม

7.เจ้าหน้าที่โครงการ USI  เช่น เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ 1 คน/ USI

8.ผู้แทนตำบล เช่น เจ้าหน้าที่ อบต.ประจำตำบล*ผู้ได้รับมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล 1 คน/ตำบล

9.หน่วยงานภาครัฐ เช่น หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ / โรงพยาบาล/พัฒนาชุมชน/รพ.สต. 1คน/หน่วยงาน

10.อปท. เช่นกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต./เทศบาลตำบล 1คน/ตำบล

11.เอกชนในพื้นที่ เช่นห้างร้านหรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก./บริษัท. ภายในตำบล

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ได้ให้กำหนดส่งแบบประเมินนี้ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564

วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ที่จะอบรมในวันที่9 ตุลาคม และทางทีมงานคนเก่าได้ช่วยกันอธิบายเรื่องการเขียนบทความการปฏิบัติงานประจำเดือน การเขียนใบลางานและการเข้าอบรมทั้ง 4 ทักษะ นั้นเอง

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ทางทีมงานทุกคนได้จัดเตรียมความพร้อมและได้เรียนเชิญอาจารย์มาให้ความรู้และอบรม เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากกล้วย) ในการอบรมนี้ทำให้รู้ว่าการนำกล้วยที่ล้นตลาดนั้น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายอย่างมาก เช่น ประเภททอด ประเภทอบ ประเภทตาก ประเภทผง ประเภททำแห้ง ประเภทกวน ประเภทเหลว เป็นต้น

และได้อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากข้าว)  ในการอบรมทำให้รู้ว่าการนำข้าวที่ล้นตลาดนั้นและทุกคนในชุมชนนั้นมีอยู่แล้ว นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายอย่างมาก คือ ประเภทแป้ง เช่น นำมาทำขนม ประเภทเครื่องสำอาง เช่น แป้งสำหรับทาตัว ทาหน้า มาร์คหน้า ครีมขาว ประเภทอาหาร เช่น ของว่าง ขนม เครื่องดื่มผง  เครื่องดื่ม และนำส้มสายชูจากข้าว

และได้อบรมความรู้เบื่องต้นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องการแปรรูปสมุนไพร เช่นความรู้เบื่องต้นในการผลิตการแปรรูปจากสมุนไพรเชิงพาณิชย์และขั้นตอนการปฏิบัติงาน การผลิต องค์ประกอบในการผลิต สุขลักษณะของสถานที่ เครื่องสำอาง อาหาร ข้อกำหนด มาตรฐาน เช่นตัวอย่างฉลาก เลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.เป็นต้น

 

อื่นๆ

เมนู