หลักสูตร : HS07 การสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
นางสาวปรารถนา มณีพงษ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: HS07 การสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
ข้าพเจ้านางสาวปรารถนา มณีพงษ์ ผู้ปฏิบัติงานใหม่ ประจำตำบลโคกสะอาด ได้ดำเนินงานในช่วงเดือนตุลาคม ตามแผนดำเนินงานของตำบล โดยในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาได้ร่วมประชุมงานผ่านทางโปรแกรม google meet ตั้งแต่เวลา 19.00 นาฬิกาเป็นต้นไป โดยเนื้อหาหลัก ๆ ในการประชุมจะเป็นเรื่องตารางดำเนินงานและกิจกรรมประจำเดือนตุลาคม จากนั้นได้มีการให้คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานใหม่เกี่ยวกับการลงเวลาเข้าออกงาน การจัดทำแบบฟอร์มต่าง ๆ และการอมรมทั้ง 4 ด้าน สำหรับตารางงานในเดือนตุลาคมนี้ แบ่งเป็นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นัดหมายพบปะกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานเก่าและผู้เข้างานใหม่โดยร่วมกันพัฒนากำจัดวัชพืชและดูแลรักษาพืชสมุนไพรที่ได้ปลูกไว้แล้วก่อนหน้า วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นัดหมายจัดสถานที่เพื่อเตรียมการสำหรับการอบรมเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร และในวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรเพื่อการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
สำหรับการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ ข้าพเจ้าได้ทำการฝึกอบรมทักษะทั้ง 4 ด้าน โดยแบ่งเป็นทักษะด้าน English Literacy ทักษะด้าน Digital Literacy ทักษะด้าน Social literacy และทักษะด้าน Financial Literacy และได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับรายละเอียดในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นการลงเวลาเข้าออกงาน การเขียนแบบฟอร์มต่าง ๆ การเขียนบทความประจำเดือน และการเขียนรายงานประจำเดือน เป็นต้น ซึ่งในวันนั้นเองได้มีการนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานจัดเตรียมสถานที่สำหรับการอบรมในวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม อีกด้วย โดยข้าพเจ้าได้ช่วยจัดสถานที่สำหรับการอบรมไม่ว่าจะเป็นการจัดซุ้มหน้างาน การจัดเตรียมโต๊ะและเก้าอี้สำหรับผู้เข้าอบรม เมื่อปฏิบัติงานและภารกิจต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์และแยกย้ายกันกลับบ้าน
สำหรับการอบรมเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรนั้นกิจกรรมระหว่างการอมรมจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพร ความรู้เบื้องต้นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสมุนไพร เป็นต้น จากนั้นให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันและออกมานำเสนอผลงานประจำกลุ่มตนเองให้กลุ่มอื่น ๆ ได้รับฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมด้วยกันเอง และกิจกรรมสุดท้ายคือในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564 มีการนัดหมายกันกรอกข้อมูลชุมชนในการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ U2T เพื่อนำข้อมูลของตำบลโคกสะอาดไปวิเคราะห์และประมวลผลต่อไป