ข้าพเจ้านางสาว ปารีณา ทิพย์อักษร ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ 2554 ทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานได้ทำการอบรมการท่องเที่ยวในชุมชนและอบรมเรื่องการยกระดับมาตรฐานพืชสมุนไพรในท้องถิ่นฐานภูมิปัญญาโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สาวิตรีผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ในวันนี้ได้อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย)

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้านี้จะต้องประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพผลิตภัณฑ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าและการตลาดเป็นต้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าก็จะได้แก่ประเภททอดผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดกรอบปรุงรสผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดฉาบ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดเคลือบธัญพืช แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอบได้แก่ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าอบ ปรุงรส แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์(กล้วยน้ำว้า) ประเภทตาก ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าตากเคลือบ แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์(กล้วยน้ำว้า)  ประเภทผงได้แก่ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแป้งทำขนมผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าผงพร้อมชงดื่ม  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภททำแห้งได้แก่ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดสุญญากาศ ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าฟรีชตราย  แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าประเภทกวนได้แก่ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้ากวน  แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทของเหลวได้แก่ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าไซเดอร์ผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าไซรัปเอามาใส่พวกกาแฟเครื่องดื่มได้เป็นต้น

ต่อมาเราจะพูดถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวทับทิมชุมแพซึ่งข้าวใน ตำบลโคกสะอาดนั้นมีจำนวนมากทางคณะอาจารย์ที่ดูแลโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็จะได้แก่ประเภทแป้งสำหรับประกอบอาหารขนม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางได้แก่สำหรับทาตัวทาหน้ามาร์คหน้าครีมข้าว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารของว่างขนมเครื่องดื่มผง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเครื่องดื่มน้ำส้มสายชูจากข้าวเป็นต้น

ต่อมาก็ได้อบรมเรื่องความรู้เบื้องต้นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสมุนไพรโดยนางสาวภัทรานิษฐ์ กุลพิเชษฐวณิชย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบ้านแองกรุ๊ปจำกัด

ต่อมาก็จะพูดถึงความรู้เบื้องต้นก่อนการแปรรูปการผลิต ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสมุนไพรเชิงพาณิชย์ก็จะได้แก่อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยารักษาโรคและเครื่องสำอาง  กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติการผลิตได้แก่องค์ประกอบในการผลิต ความรู้พื้นฐาน ข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ

องค์ประกอบในการผลิต คือสุขวิทยาส่วนบุคคล สุขลักษณะของสถานที่ คุณภาพและถูกลักษณะของวัตถุดิบ สุขลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ในการผลิต  สุขลักษณะในการผลิต สุขลักษณะของบรรจุภัณฑ์การบรรจุ ต่อมาจะพูดถึงความรู้พื้นฐาน ได้แก่  ข้อควรรู้เกี่ยวกับสารต่างๆที่ใช้ในการผลิต  มาตราชั่งตวงวัด  สารต้องห้ามในการผลิต ข้อควรระวังในการใช้สารต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้และแนวทางป้องกัน

ต่อมาจะพูดถึง มาตราชั่ง ตวง วัด

ข้อควรระวังในการใช้สารปัญหาอาจเกิดขึ้นจากการใช้และแนวทางป้องกัน

กรด (Acids)  การแก้พิษเบื้องต้น

-ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนควรให้ผู้ป่วยกินยาลดกรดหรือน้ำต่างอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นน้ำปูนใสผสมน้ำมาก ๆ แล้วให้ผู้ป่วยดื่มน้ำนมหรือน้ำข้าว

การทําบัดรักษาด้านการแพทย์

-ล้างท้องด้วยมิลค์ออฟแมกนีเซีย (Milk of magnesia)ผสมน้ำ จำนวน 2-4 ลิตรให้ยาระงับปวดและยาประเภทคอร์ติโคสเตอรอย (Corticosteroids) ให้การรักษาอาการช็อค (Shock)

ด่าง (Alkalines) การแก้พิษเบื้องต้น

-ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนให้ดื่มน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 2 ถ้วยแก้วหรือให้ดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำส้มคั้นจํานวนมากอย่างใดอย่างหนึ่ง

การบำบัดรักษาด้านการแพทย์

-ควรส่องหลอดอาหารด้วยเครื่องส่อง (Esophagoscope )ทันทีเพื่อหาส่วนที่เป็นแผลให้กรดน้ำส้ม 1 เปอร์เซ็นต์ตรงบริเวณแผลจนเป็นกลางให้ยาระงับปวดเพื่อรักษาอาการช็อคให้ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อช่วยป้องกันหลอดอาหารตีบ

ความรู้พื้นฐานสารธรรมชาติจากพืชผักผลไม้สมุนไพรที่นำมาใช้

-สารธรรมชาติจากพืชแต่ละชนิดคุณสมบัติเฉพาะของพืชผักผลไม้สมุนไพร     -การเตรียมของแต่ละชนิด            -ข้อควรระวังในการใช้ปัญหาอาจที่เกิดขึ้นจากการนำมาใช้และแนวทางป้องกัน

ความรู้พื้นฐานกระบวนการในการผลิต

-คุณสมบัติประเภทส่วนประกอบทางเคมี    -เครื่องมืออุปกรณ์แต่ละชนิด    -สูตรเคมีพื้นฐานขั้นตอนวิธีการในการผลิต   -การควบคุมคุณภาพมาตรฐานในการผลิต

ข้อกําหนดมาตรฐาน ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการผลิต  มาตรฐานฉลาก  บทลงโทษเกี่ยวกับฉลากแต่ละชนิด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง  

เลขที่จดแจ้งหรือเลขที่ใบรับแจ้ง  คือเลขบนฉลากที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง) ได้ดำเนินการจดแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้นกว่าการสืบค้นด้วยชื่อผลิตภัณฑ์หรือชื่อ บริษัท เป็นประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวังร้องเรียนแจ้งเบาะแสเครื่องสำอางที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัยหากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายโดยบังคับให้แสดงข้อความที่จําเป็นต่อผู้บริโภค

ข้อความที่จำเป็นต่อผู้บริโภค

ชื่อเครื่องสำอางชื่อทางการค้าของเครื่องสำอางซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่นประเภทหรือชนิดเครื่องสําอางเช่นหากเป็นสบู่ต้องแสดงคำว่าสบู่ชื่อของสารทุกชนิดวิธีใช้เครื่องสําอางชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต (กรณีผลิตในประเทศ) ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต (กรณีนำเข้า) ปริมาณสุทธิเลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, วันเดือนปีที่ผลิต, วันเดือนปีที่หมดอายุคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของบุคคล

เลขที่ใบรับแจ้ง

ประกอบด้วยตัวเลข 10 หลักหลักที่ 1 และ 2 หลักแรกบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใดหลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าหรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออกหลักที่ 4 และ 5 จะบ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใดหลักที่ 6-10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นตัวอย่าง: 10-1-5430680 หมายถึง 10 หมายถึงแจ้งรายละเอียดกรุงเทพฯ 1 หมายถึงผลิต 54 หมายถึงแจ้งในปี พ.ศ. 2554 30680 หมายถึงเป็นใบรับแจ้งลำดับที่ 30680 ที่ออกในปี พ.ศ. 2554

ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการยื่นขออนุญาตเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

  1. การขอรหัสประจำตัวผู้ประกอบการชุดเอกสารสำหรับยื่นขอรหัสประจำตัวผู้ประกอบการใบตรวจรับเอกสารการขอรหัสประจำตัวผู้ประกอบการหนังสือมอบอำนาจ
  2. การขอจดแจ้งเครื่องสำอาง   ชุดเอกสารยื่นขอจดแจ้งเครื่องสําอาง  ใบควบคุมกระบวนการ  ใบตรวจรับเอกสารการขออนุญาตแจ้งรายละเอียดเครื่องสําอาง   แบบแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางควบคุม

การขอเปลี่ยนแปลงชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิตสถานที่นำเข้าสถานที่เก็บเครื่องสำอาง   ใบตรวจรับเอกสารการแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิตสถานที่นำเข้าสถานที่เก็บเครื่องสำอางแบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผู้ประกอบการ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนคือข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและสอดคล้องกับนโยบาย OTOP โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป

ประโยชน์ที่ได้รับจาก มผช.

  1. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความเข้าใจและมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
  2. สินค้าที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  3. สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ต้องการของตลาด
  4. สามารถนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว )
  5. ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆโดยมีข้อกำหนดที่เหมาะสมกับสภาพของผลิตภัณฑ์และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผู้ประกอบการสามารถที่จะปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสมอ. ได้ง่ายและสะดวกภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากสมอ. ให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาโดยมีการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

ต่อมาได้ทำการอบรมเรื่องกลเม็ดเทคนิคการพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์  บรรยายโดยอาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์อาจารย์ประจําสาขาวิชาศิลปะดิจิทัลคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้มาให้ความรู้ดังนี้

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก็จะต้องมี ต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ เช่นสินค้าทั่วไปไม่เกิน 5% ของราคาขาย สินค้าของฝากที่ระลึกไม่เกิน 10-15 % ของราคาขาย  และต้องตั้งชื่อของบรรจุภัณฑ์นั้นด้วย ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่งชื่อที่ดีต้อง เห็นภาพชัดเจน แตกต่าง คำนึงถึงอนาคต เป็นสากล จดสิทธิบัตรได้ เช่น Nike  เซ็นทรัล เป็นต้น

LOGO (โลโก้) = ตราสินค้าคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนหรือสินค้าเพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และกระบวนการจดจำโดยตราสินค้าต้องสื่อสารได้จดจําง่ายและแสดงแนวความคิดเจตนารมณ์ขององค์กรสินค้าหรือบริการได้การใช้งาน  ใช้บนบรรจุภัณฑ์บนผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ  กิจกรรมส่งเสริมการขายโบชัวร์แผ่นพับงานโฆษณา  Corporate ต่างๆเช่นเสื้อพนักงานนามบัตรตรา Stamp ฯลฯ

LOGO ที่ดีให้ประโยชน์กว่าที่คิด จดจำง่าย+เชื่อมโยงกับ Brand =  ความสำเร็จ

สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า(บริการ) ได้  กำหนดทิศทางของธุรกิจ  บุคคลในองค์กรรู้ตัวตนที่แน่ชัดและปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันซึ่งจะให้ผลลัพธ์ = ความสำเร็จ   ใช้ในงานออกแบบได้

LOGO ที่ดีต้อง   จํานวนไม่มาก  จดจําได้ง่าย  เด่นชัดดึงดูด   ย่อหดได้ใช้ได้ในหลายช่องทาง  มีเรื่องราวแตกต่างเป็นต้น

         กรอบการคัดสรรฯ   1. สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราสินค้า (Brand Equity) 2. ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistent 3. ความมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction) 4. มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product) เมื่อได้ทำการอบรมทั้งที่กล่าวมาทำให้ได้ความรู้มากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในการทำงานและนำมาใช้เพื่อที่จะพัฒนางานที่ทำอยู่ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนและชาวบ้านเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้นั้นเอง

วันที่ 29 ตุลาคม 2564  ทางคณะอาจารย์และทีมงานตำบลโคกสะอาดได้นำชาวบ้านในพื้นที่เดินสำรวจป่าสมุนไพร โดยคุณตาเล แสนสนิท และนายทองม้วน โพธิ์นา เป็นผู้ที่รู้จักสมุนไพรต่างๆในพื้นที่เยอะจึงนำชาวบ้านและผู้ปฏิบัติงานเดินป่าสำรวจสมุนไพรและเขียนชื่อป้ายติดกับสมุนไพรต่างๆเพื่อที่จะได้รู้ว่าชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นมีอะไรบ้างและใช้เป็นยาอะไรได้บ้างนั้นเอง

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการได้นัดประชุมออนไลน์ทุกคนเพราะมีเรื่องสำคัญจะแจ้งคือเรื่องการคีย์ข้อมูลรายบุคคลของตำบลโคกสะอาด ซึ่งการคีย์ข้อมูลก็จะมีดังนี้  แหล่งท่องเที่ยว  ร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น อาหารในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งน้ำ เมื่อประชุมเสร็จอาจารย์ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกกลุ่มมาทำการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น

เมื่อวันที่10 พฤศจิกายน 2564 ทางทีมงานได้นัดกันไปลงข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง แหล่งท่องเที่ยว  ร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น อาหารในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น ภูมิปัญญา แหล่งน้ำ

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ทาง อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมาย การบ้าน CBD ที่ต้องส่งประกอบด้วย 1. วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม) 2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map โดยเลือก 3 หัวข้อ จาก 10 หัวข้อ ใน CBD จัดทำในสไลด์เดียวกันซึ่งต้องส่งภายในวันที่12 โดยให้ทีมบัณฑิตและทีมงาน แต่ละกลุ่ม มาที่มหาลัย เพื่อจัดทำข้อมูลนำเสนอ PAIN POINT ของโคกสะอาด ที่ อาคาร 24  เวลา . 9.00 น.จากการที่ไปทำงานสามารถทำให้เห็นถึงความร่วมมือของทีมงานเป็นอย่างดี

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู