ชื่อบทความ : “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์”
พื้นที่ : ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้เขียน : นายสุกฤษฎิ์ เทพศัทธา (ประชาชน)
เข้ามาทำงานเดือนแรกที่ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่เข้าใจอะไรหลายอย่างอายุมากแล้วแต่น้อง ๆ ช่วยดีให้คำแนะนำพาทำนู่นนี่ ได้รับผิดชอบกลุ่ม 3 ลงพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 5 บ้านว่าน หมู่ 7 บ้านค้อ หมู่ 11 บ้านว่านพัฒนา และหมู่ 14 บ้านค้อพัฒนา ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ตำบลโคกสะอาด แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านหนองเฒ่ากา
หมู่ที่ 2 บ้านตะไก้
หมู่ที่ 3 บ้านสนวน
หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น
หมู่ที่ 5 บ้านว่าน
หมู่ที่ 6 บ้านเขื่อน
หมู่ที่ 7 บ้านค้อ
หมู่ที่ 8 บ้านหนองปลิง
หมู่ที่ 9 บ้านห้วยหวาย
หมู่ที่ 10 บ้านหนองโน
หมู่ที่ 11 บ้านว่านพัฒนา
หมู่ที่ 12 บ้านหนองแสง
หมู่ที่ 13 บ้านสนวนพัฒนา
หมู่ที่ 14 บ้านค้อพัฒนา
หมู่ที่ 15 บ้านห้วยหวายพัฒนา
หมู่ที่ 16 บ้านโนนสะอาด
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมยกระดับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การอบรมการท่องเที่ยวเชิงวิเวศน์ วันที่ 27 ตุลาคม มีการนัดให้จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม วันที่ 28 ตุลาคม ได้มีการอบรมเรื่องการท่องเที่ยววิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมระดมความคิดจัดโปรแกรมทัวร์ในกลุ่มที่รับผิดชอบ ภายใน 1 วัน จะพานักท่องเที่ยวทำกิจกรรมอะไรบ้างโดยสอดแทรกความเป็นชุมชน เอกลักษณ์ สิ่งโดดเด่นในชุมชนให้น่าสนใจ ได้รับผิดชอบกลุ่ม 3 หมู่ 5 บ้านว่าน หมู่ 7 บ้านค้อ หมู่ 11 บ้านว่านพัฒนา และหมู่ 14 บ้านค้อพัฒนา และได้นำเสนอสิ่งที่ช่วยกันคิดในกลุ่มให้ผู้เข้าร่วมได้ฟัง วิทยากรแนะนำแก้ไขให้โปรแกรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่ป่าสมุนไพร
กิจกรรมลงพื้นที่ป่าสมุนไพรติดป้ายชื่อและสรรพคุณโดยกลุ่มประชาชนในพื้นที่และผู้ปฏิบัติงาน มีผู้ให้ข้อมูลคือพระครูรัตนวนานุรักษ์และปราชญ์ชาวบ้านอีกประมาณ 4-5 คน ได้เดินไปด้วยกันสมุนไพรในป่ามีหลากหลายรวมทั้งหมดประมาณ 50 กว่าชนิด กิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม ต่อจากการอบรมการท่องเที่ยวระหว่างการติดป้ายสมุนไพรได้มีการถ่ายรูปและเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ สมุนไพรที่พบมากและผมสนใจคือ “โด่ไม่รู้ล้ม”
ชื่อสมุนไพร โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น หญ้าไก่นกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ , หญ้าไฟนกคุ้ม , หนาดผา (ภาคเหนือ) , ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย) , หญ้าปราบ (ภาคใต้) , หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี) , เคยโป๊ , ตะชีโกวะ (กะเหรี่ยง) , ก้อมทะ (ลั๊วะ) , จ่อเก๋ (ม้ง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephantopus scaber Linn.
ชื่อสามัญ Prickly-Leaved Elephant’s Foot
วงศ์ ASTERACEAE
ถิ่นกำเนิดโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้มเป็นพืชที่ถูกเรียกชื่อตามลักษณะของลำต้นที่เมื่อถูกเหยียบย่ำหรือถูกทับก็จะแบนราบลงไปกับพื้นดิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงชั่วครู่ ลำต้นก็จะกลับมาตั้งโด่เหมือนเดิม จึงเป็นที่มาของชื่อ โด่ไม่รู้ล้ม ซึ่งพืชนี้ข้อมูลถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ชัดเจนแต่จัดเป็นพืชในเขตร้อนที่พบได้ในประเทศเขตร้อนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และพบมากตามป่าดิบ ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง และป่าโปร่งที่มีสภาพของดินเป็นดินร่วนปนทราย
ประโยชน์และสรรพคุณโด่ไม่รู้ล้ม
- เป็นยาขับปัสสาวะ
- แก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น
- ขับน้ำเหลืองเสีย
- แก้บิด แก้ท้องเสีย
- แก้ไอ แก้วัณโรค
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ขับเหงื่อ ขับระดู ขับพยาธิตัวกลม
- แก้ปัสสาวะพิการ
- บำรุงความกำหนัด
- แก้กระษัย
- แก้กามโรค
- แก้บวมน้ำ แก้นิ่ว
- แก้ไข้หวัด แก้เจ็บคอ
- แก้ตาแดง แก้ดีซ่าน
- แก้เลือดกำเดาออกง่าย
- แก้ฝี แก้แผลมีหนอง
- แก้แผลงู แก้แมลงมีพิษกัดต่อย
- แก้อักเสบ แก้แผลในกระเพาะอาหาร
- แก้แผลเปื่อยในปาก
- แก้เหน็บชา
- เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ เป็นยาบำรุง
- บำรุงกำลัง
- บำรุงสมรรถภาพทางเพศ
- แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- แก้อาการอ่อนเพลีย
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ช่วยลดการเกิดนิ่วและยังมีฤทธิ์ช่วยบำรุงกำหนัด
- เพิ่มความต้องการทางเพศทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
- ช่วยฟื้นฟูและบำรุงสมรรถภาพ
- ช่วยลดภาวะอวัยวะเพศแข็งตัวช้า อ่อนตัวเร็ว และหลั่งเร็วในผู้ชาย
กิจกรรมที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล
วันที่ 8 มีการประชุมออนไลน์นพูดคุยเรื่องผลการทำงานและให้ทำสรุปข้อมูล
วันที่ 9 พฤศจิกายน ทีมผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมายลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลการทำ Pocket Book เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคเพื่อนำไปมอบให้คนในชุมชน
วันที่ 11 พฤศจิกายน นัดทีมทำงานวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมอบหมายและ จัดทำ Power Point สรุปผลการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์