1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS07 - ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS07 ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลของคนในชุมชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

HS07 ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลของคนในชุมชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ข้าพเจ้านางสาว ปารีณา ทิพย์อักษร ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม(01)ในชุมชน หมู่ 3 บ้านสนวน หมู่9 บ้านห้วยหวาย หมู่ 13บ้านสนวนพัฒนา หมู่15  บ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 12 – 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลาตั้งแต่ 9.00-17.00 น.

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลของประชากรในชุมชน หมู่ 3 บ้านสนวน หมู่9 บ้านห้วยหวาย หมู่ 13บ้านสนวนพัฒนา หมู่15  บ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ

ข้าพเจ้านางสาวปารีณา ทิพย์อักษร ได้รับผิดชอบในส่วนของหมู่ 3 บ้านสนวน หมู่9 บ้านห้วยหวาย หมู่ 13บ้านสนวนพัฒนา หมู่15  บ้านห้วยหวายพัฒนา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลในแต่ละครัวเรือนและชุมชน เริ่มแรกข้าพเจ้าได้ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 หมู่ 9 หมู่ 13 หมู่ 15  เพื่อที่จะลงพื้นที่ทำแบบสอบถามตามชุมชนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งในการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามในครั้งนี้พบว่าประชากรที่อยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและอาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตรกร เช่น การทำนาเป็นหลักและอาชีพเสริม เช่น การปลูกอ้อย ปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพรเป็นต้น และมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อเอามาใช้ในการทอผ้าไหมซึ่งเป็นผ้าไหมที่ผลิตจากวัตถุดิบในหมู่บ้าน มีหลายชนิดให้เลือก ราคาไม่แพงและหมู่ที่ 3 บ้านสนวน หมู่ที่ 13 บ้านสนวนพัฒนาได้มีการทำการเกษตรอินทรีย์ปลูกพืชผักปลอดสารพิษอีกด้วย  ในการทำเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ในการอุปโภค บริโภค และจำหน่ายในพื้นที่ชุมชน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวบางส่วนออกไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่

ปัญหาที่พบในชุมชนส่วนใหญ่ เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรเช่นการทำนา 1 ปี จะทำได้เพียง 1 ครั้ง ในการทำนามีต้นทุนในการผลิตสูงและในบางปีเกิดปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้มีรายได้จากการทำเกษตรไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้รายรับไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ประชากรบางส่วนจึงหันไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ในช่วงที่ไม่ได้ทำเกษตร

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามความต้องการในชุมชน พบว่ามีผู้สูงอายุและผู้ว่างงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้คนในชุมชนจึงอยากให้มีการโครงการยกระดับเศรฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการเข้ามาอบรมแนะแนวทางในด้านอาชีพเสริมและการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เพื่อที่จะนำรายได้มาใช้ในการอุปโภค บริโภค ในครัวเรือนในช่วงที่ไม่ได้ทำเกษตร

 

 

 

แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (02)

พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอาการไอ จาม เพราะส่วนใหญ่จะอยู่แต่บ้านของตนเอง ไม่ค่อยได้ออกไปไหน แต่ถ้าออกไปข้างนอก เช่น ตลาด ร้านค้า ก็จะมีการสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอด และล้างมือเป็นประจำ และประชาชนส่วนใหญ่ก็จะทราบอาการ และการปกป้องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นอย่างดี ส่วนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตก็จะไม่ค่อยกระทบเท่าไรเพราะพื้นที่นี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

จากการลงพื้นที่ก็ได้รับรู้ถึงปัญหาของชุมชนว่าชุมชนแห่งนี้มีปัญหาด้านใดบ้าง และได้ทำการเสนอแนะ และจะรวบรวมข้อมูลเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด ชุมชนจะได้พัฒนามากขึ้น และประชาชนก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

    

 

อื่นๆ

เมนู