ข้าพเจ้านางศิริพร แก้วมณีเนตร ประเภทประชาชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร :HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาลัย มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
การดำเนินงานในระหว่างเดือน กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบแนวทางการดำเนินงานจากอาจารย์ประจำโครงการและหัวหน้าโครงการ โดยได้ปฏิบัติและได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย มีทั้งหมด 4หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1บ้านหนองเฒ่ากา หมู่ที่4บ้านขี้ตุ่น หมู่ที่10บ้านหนองโน หมู่ที่12บ้านหนองแสง ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในส่วนของเกษตรกร สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจในประจำถิ่น ร้านอารในท้องถิ่น ที่พัก/โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว ผุ้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด เพื่อที่จะได้นำข้อมูลลงระบบตามที่ได้รับมอบหมาย
จากที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ทั้ง4หมู่บ้านก็ได้เห็นชาวบ้านนำพืชสมุนไพรมาใช้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 และการระบาดของโรค ลัมปี สกิน ที่เกิดขึ้นกับโค กระบือ ชาวบ้านได้นำพืชสมุนไพร อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด หนานเฉาเหว่ย หรือที่เรียกกันว่าป่าช้าเหงา เสลดพังพอน ลูกมะกรูด กล้วยสุก มีวิธีการรักษาดังนี้
สูตรการรักษาลัมปี สกิน
1.ใบเสลดพังพอนนำมาตำแล้วเอาน้ำมะกรูดบีบลงไปทาให้ทั่วตัวค่ะวันละครั้ง
2.เอายาฟ้าทะลายโจร + ใบหนานเฉาเหว่ยนำมาต้มแล้วเอาน้ำที่ได้ผสมกับยาพาราและยาแก้แพ้นำไปกรอกวัวทุกวันเช้าเย็นแต่ถ้าอาการดีขึ้นก็ลดการกรอกค่ะกรอกแค่วันละครั้งก็พอ
3.เอาเครือกอฮอหรือที่ภาษาไทยเรียกว่าบอระเพ็ดนำมาตัดเป็นท่อนแล้วยัดใส่กล้วยใหวัวกินทุกวันค่ะแต่ถ้าอาการดีขึ้นก็หยุดใช้ได้ค่ะ
ชาวบ้านบอกว่าวัวทีป่วยเป็นลัมปี สกิล ทำตามสูตรที่ได้รักษาประมาณ2 อาทิตย์วัวก็หายกลับมาแข็งแรงกินหญ้าได้เหมือนเดิม
ในเดือนกรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าด้วยช่วยทีมงานเตรียมตัว ร่วมมกิจกรรมแข่งขันแฮกาธอน (Hackathon) ภายใต้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้าง รากแก้วให้ประเทศ) เพื่อเข้า การจัดการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon)
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้กำหนดขึ้นภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และได้มอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษา 8 เครือข่ายทั่วประเทศดำเนินการจัดแข่งขันระดับภูมิภาค โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) และนำเสนอผลการเรียนรู้ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) Creative Economy 2) Technology/Health Care 3) Circular Eonomy และ 4)Art and Culture
โดยมีชื่อทีมว่าCok Clean Model
จากการที่ได้ลงพื้นที่ในเดือน กรกฎาคม 2564 ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในเรื่องของโรคระบาด ลัมปี สกิน ที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงในชุมชน แต่ชาวบ้านก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยดีโดยได้ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมารักษาสัตว์ จนสัตว์เลี้ยงหายเป็นปกติ