ข้าพเจ้านางสาวนุชรินทร์ สุวรรณราช ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS07สร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและ ได้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองเฒ่ากา หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น หมู่ที่ 10 บ้านหนองโน และหมู่ที่ 12 บ้านหนองแสง ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจทั้ง 4 หมู่บ้าน ระหว่างวันที่ 5-17 เมษายน 2564
แผนการดำเดินงานของกลุ่มข้าพเจ้าในเดือนเมษายน 2564 นี้ ท่านหัวหน้าโครงการและอาจารย์ผู้ดูแลได้มอบหมายงานให้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของชุมชนแต่ละหมู่บ้านในตำบลโคกสะอาด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับ OTOP และข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพรในชุมชน พร้อมทั้งติดต่อประสานงานกับทางผู้ใหญ่บ้านเพื่อหาสมาขิกเข้าร่วมอบรมเรื่องพืชสมุนไพร และร่วมกันพัฒนาสินค้าในพื้นที่แต่ละหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย
จากการประชุมกับคณะทีมงานทุกท่านในวันที่ 5 เมษายน 2564 สรุปได้ว่า
หมู่ที่ 1 บ้านหนองเฒ่ากา
จุดแข็ง
- เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก
- มีน้ำประปาภายในหมู่บ้าน
- ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
- การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
จุดอ่อน
- การทิ้งขยะไม่ถูกที่
- สินค้ามีไม่หลากหลาย ขาดเอกลักษณ์ บุคลากรไม่เพียงพอ
- ขาดแหล่งเงินทุนในการผลิต
- เด็กรุ่นใหม่ไม่รักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิม
- วัยรุ่นขับรถเสียงดังในหมู่บ้าน
โอกาส
- มีหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนการพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้
- มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลักดันให้ประชาชนมีอาชีพ
- สืบทอดประเพณีไม่ให้สูญหายตกทอดสู่รุ่นหลาน
อุปสรรค
- นโยบายรัฐไม่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน
- ต้นทุนการผลิตสูง สินค้าราคาตกต่ำ
หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น
จุดแข็ง
- เป็นพื้นที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
- มีศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ โดย พ่ออิ่ม แก้วอัมพวา
- มีแหล่งรับซื้อทางการเกษตร
- มีตลาดจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร
- มีแหล่งเงินทุน
จุดอ่อน
- ขาดองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงดินด้านอินทรีย์
- ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
- สินค้ามีจำนวนจำกัด ไม่หลากหลาย
- ขาดงบประมาณการดำเนินงานจากรัฐ
โอกาส
- มีหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนการพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างรายได้
- การพัฒนาที่ดินขุดบ่อน้ำในการทำการเกษตร
- มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลักดันให้ประชาชนมีอาชีพ
- มีกองทุนเพื่อการกู้ยืม (ธกส.)
อุปสรรค
- ใช้เทคโนโลยีมากกว่าการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น
- นโยบายภาครัฐไม่เอื้อประโยชน์ชุมชน
- ฝนไม่ตกตามฤดูการ
หมู่ที่ 10 บ้านหนองโน
จุดแข็ง
- เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก
- มีแหล่งน้ำประปาภายในหมู่บ้าน
- เป็นสังคมเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกัน
- มีการทำการเกษตรตามฤดูกาล
จุดอ่อน
- ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย
- ผลผลิตตกต่ำ ราคาตกต่ำ ขาดความรู้เรื่องการตลาด
- ขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร
- ขาดบุคลากรในด้านแรงงาน
โอกาส
- มีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนอย่างทั่วถึง
- กรมชลประทานขุดลอกคลอง ลำห้วย เพิ่มขึ้น
- ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้
อุปสรรค
- มีการใช้สารเคมีทางการเกษตร
- ภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
- ประชาชนขาดความกระตือรือร้นในการออกกำลังกาย
หมู่ที่ 12 บ้านหนองแสง
จุดแข็ง
- มีป่าเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ
- มีฝายกั้นน้ำไว้ใช้ในการเกษตร
- ปลูกป่าตามหัวไร่หลายนา
- เป็นชุมชนที่นับถือระบบเครือญาติ
จุดอ่อน
- เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตสินค้าได้
- ดินเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเป็นระยะเวลานาน
- ใช้แหล่งน้ำจากธรรมชาติในการอุปโภคเพียงอย่างเดียว
โอกาส
- ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน บำรุงดิน ไถกลบตอซังข้าว
- โครงการประชารัฐ/พัฒนาแหล่งน้ำ
- อบต. หนุนเสริมเรื่องน้ำประปา
อุปสรรค
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทำให้เกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม
- ต้นทุนการผลิตสูง
- มีการตัดไม้ทำลายป่า
จากการประชุมครั้งนี้กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือก หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่จะเข้าร่วมโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เนื่องจากบ้านขี้ตุ่นมีสถานที่ที่น่าสนใจคือ แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของ พ่ออิ่ม แก้วอัมพวา ซึ่งมีพืชสมุนไพรหลายชนิดและน่าจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ในอนาคต