1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS07 - ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ
  4. หลักสูตร :HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาลัย มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

หลักสูตร :HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาลัย มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

ข้าพเจ้านางสาวปารวี บำรุงธรรม ประเภทนักศึกษา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร :HS07 โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1มหาลัย มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

ข้าพเจ้านางสาวปารวี บำรุงธรรม ประเภทนักศึกษา ได้รับผิดชอบในตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนพฤศจิกายน 2564  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านหนองเฒ่ากา หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น หมู่่ที่ 10 บ้านหนองโน หมู่ที่ 12 บ้านหนองแสง ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้ช่วยเหลือสังเคราะห์ข้อมูล

ข้าพเจ้าได้ประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google meet ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ทางอาจารย์ที่รับผิดชอบและหัวหน้าประจำโครงการในส่วนงานที่ได้รับมอบหมายได้ให้ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่มที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ไปกรอกข้อมูลเกษตรกรและข้อมูลพืชสมุนไพรลงในเว็ปไซต์ u2t ที่ส่วนกลางจัดเตรียมมาให้

งานประจำเดือนพฤศจิกายน ข้าพเจ้าได้กรอกข้อมูลเกษตรกรลงในเว็ปไซต์ u2t ที่ส่วนกลางจัดเตรียมมาให้ และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ทางอาจารย์ที่รับผิดชอบและหัวหน้าประจำโครงการในส่วนงานที่ได้รับมอบหมายได้ให้ปฏิบัติ

ต่อมาทางอาจารย์ที่รับผิดชอบและหัวหน้าประจำโครงการในส่วนงานที่ได้รับมอบหมายให้ข้าพเจ้าได้หาข้อมูลพืชสมุนไพรและสรรพคุณต่างๆ เช่น ต้นตะขบป่า ต้นสาวทึนทึก ต้นท้อขวัญ ต้นยาสั่ง ต้นเล็บแมว และต้นน้ำนมราชสีห์ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น    ต้นตะขบป่า

ชื่อสามัญ Ramontchi, Governor’s plum

ชื่อท้องถิ่น หมักเบ็น , เบนโคก , ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia indica ( Burm.f. ) Merr.

สรรพคุณของตะขบป่า   1. ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)   2. ผลใช้กินเป็นยาแก้อ่อนเพลีย (ผล)   3. แก่นหรือรากใช้กินเป็นยาแก้ตานขโมย (แก่น, ราก)  4. ใช้เป็นยาแก้อหิวาตกโรค (น้ำยางจากต้น)  5. น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ (ใบ)  6. หนามมีรสฝาดขื่น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ลดความร้อน แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม)  7. น้ำยางจากต้นและใบสด ใช้กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้อาการไอ (น้ำยางจากต้นและใบสด)  8. น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาขับเสมหะ (ใบ)  9. แก่นมีรสฝาดขื่น ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเหงื่อ (แก่น)  10. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้เสียงแห้ง นำเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอแก้เจ็บคอ (เปลือกต้น)   11. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ผล)   12. น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาแก้หืดหอบ หลอดลมอักเสบ (ใบ)  13. รากมีรสหวานฝาดร้อน ใช้กินเป็นยาแก้โรคปอดบวม (ราก)  14. น้ำยางจากต้นและใบสดใช้เป็นยาแก้โรคปอดอักเสบ (น้ำยางจากต้นและใบสด)   15. ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับลม (ใบ)  16. ใช้เป็นยาแก้บิดและท้องเสีย (น้ำยางจากต้นและใบสด)  17. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด (แก่น)  18. หรือใช้ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง (ใบ)  19. เปลือกต้นนำมาตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)  20. ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้แก่นตะขบป่า นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (แก่น)   21. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ผล)  22. น้ำยางจากต้นและใบสดมีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร (น้ำยางจากต้นและใบสด)  23. ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน (แก่น, ราก)  24. ใบนำมาย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังการคลอดบุตรของสตรี (ใบ)  25. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้แก่นหรือรากตะขบป่า 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำพอท่วมยา ใช้ดื่มวันละ 3-5 ครั้ง เป็นยาแก้โรคไตพิการ (แก่น, ราก)   26. รากใช้กินเป็นยาแก้ไตอักเสบ (ราก)   27. ผลมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคดีซ่าน ม้ามโต (ผล)   28. น้ำต้มใบแห้งใช้กินเป็นยาฝาดสมาน (ใบ)   29. ลำต้นใช้ผสมกับหัวเอื้องหมายนา ผักแว่นทั้งต้น และหอยขมเป็น ๆ 3-4 ตัว นำมาแช่น้ำให้เด็กอาบเป็นยาแก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง (ลำต้น)  30. แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน (แก่น, ราก, ทั้งต้น)  31.เปลือกต้นนำตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้คัน (เปลือกต้น)  32. แก่นตะขบป่าใช้เข้ายากับแก่นมะสัง หนามแท่ง และเบนน้ำ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย แก้คัน (แก่น) ส่วนชาวกะเหรี่ยงแดงจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ราก)   33. เมล็ดใช้ตำพอกแก้ปวดข้อ (เมล็ด)  34. รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม (ราก)

และได้รับผิดชอบจัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับข้อมูลทั้ง 4 หมู่บ้านในแต่ละกลุ่มที่ตัวเองรับผิดชอบ ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองเฒ่ากา หมู่ที่ 4 บ้านขี้ตุ่น หมู่่ที่ 10 บ้านหนองโน หมู่ที่ 12 บ้านหนองแสง ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ

          

https://bit.ly/3qOB6r3

อื่นๆ

เมนู