วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ บ้านบุลิ้นฟ้า ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้จัดกิจกรรมสอบถามและพูดคุยกับกลุ่มตัวแทนที่ทำข้าวหมาก โดยมีหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุแปบ บ้านหนองตาด บ้านบุลิ้นฟ้า บ้านบริหารชนบท และบ้านหนองหญ้าปล้อง  รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คน ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมได้มีการลงเบียนกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และตรวจวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งระเบียบไว้ เข้าสู่ช่วงทำกิจกรรม อาจารย์ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และอาจารย์ดร.มนูญ สอนโพนงาม ได้กล่าวเปิดกิจกรรมและพูดคุยถึงเรื่องปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการทำข้าวหมาก เช่น เรื่องวัตถุดิบ การตลาด และบรรจุภัณฑ์ จากนั้นจึงได้แบ่งกลุ่มชาวบ้านออกเป็นทั้งหมด 5 กลุ่ม รวมถึงทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมพูดคุยและสอบถามถึงปัญหาดังกล่าว เป็นเวลา 30 นาที เพื่อสรุปปัญหาร่วมกันและช่วยกันดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันต่อไป หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทางคณะอาจารย์ ชาวบ้าน และทีมผู้ปฏิบัติงานได้บันทึกภาพร่วมกัน และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

 

 

การเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาตลาดออนไลน์ข้าวหมากและข้าวแต๋น วันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-15.00น. ณ หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัยและตำบลแสลงพัน ร่วมกับคณะอาจารย์ ได้เข้ารับฟังการฝึกอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยมีวิทยากรชื่ออาจารย์ปัณณทัต สระอูบล ได้บรรยายถึงการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบันเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อสามารถนำเข้าสู่ตลาดออนไลน์โดยการสร้างเพจเฟสบุ๊คเพื่อให้กลุ่มประชากรเข้าถึงผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน หลังจากที่ท่านวิทยากรได้บรรยายเสร็จก็ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกทานแบ่งกลุ่มกันเพื่อสร้างเพจเฟสบุ๊คขึ้นมาโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์จากโปรแกรม canva ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้ได้เรียนรู้วิธีการทำไปพร้อมๆ กับวิทยากร พร้อมทั้งจัดกิจกรรมประกวดเพจเฟสบุ๊คโดยมี 3 รางวัล เข้าสู่ช่วงบ่ายท่านวิทยากรก็ได้สอนเรื่องการยิงแอดโฆษณาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งการอบรมครั้งนี้ดิฉันได้ความรู้มากเพราะมีการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ในการขายในตลาดออนไลน์กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน หลังจากท่านวิทยากรบรรยายเสร็จท่านคณบดีรองศาสตรจารย์ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้กล่าวปิดพิธีการบรรยายและได้กล่าวขอบคุณท่านวิทยากร มอบของขวัญเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจที่ได้สละเวลามาบรรยายในครั้งนี้ และบันทึกภาพร่วมกันก่อนเสร็จพิธี

 

 

การพัฒนาตลาดออนไลน์ทางเพจเฟสบุค ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การสร้างคอนเทนต์เพิ่มเติมจากยูทูป ซึ่งการโพสต์ให้ลูกค้าดึงดูดและสนใจ คอนเทนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก สิ่งแรกเลยคือเราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใครบ้าง ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ภาพประกอบเนื้อหาต้องดึงดูด คอนเทนต์จึงเป็นหนึ่งในแผนการทำตลาดออนไลน์ หากคอนเทนต์ของเรามีประโยชน์ทำคนเข้ามาอ่าน สามารถสร้างโอกาศในการขายและกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น สรุปสั้นๆ คอนเทนต์ คือ สิ่งที่เราต้องการสื่อสารกับลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการส่งมอบประสบการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ด้วยการเขียนบทความ วิดีโอ รูปภาพ ไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ

การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก วันที่ 03 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้นัดรวมกลุ่มกันที่บ้านหนองตาด เพื่อทำกิจกรรมที่บ้านหนองตาด โดยอาจารย์ดร.สุธีกิตธิ์ ฝอดสูงเนิน และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน ร่วมกันเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบไว้ให้กับชาวบ้าน สอบถามพูดคุยถึงเรื่องการทำข้าวหมาก และอาจารย์ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับชุมชนเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดในครั้งถัดไป ต่อมาเวลา 11.00 น. ข้าพเจ้าได้เดินทางไปบ้านบุลิ้นฟ้าซึ้งเป็นบ้านที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบอยู่ ร่วมกับผู้ปฎิบัติงานท่านอื่น พร้อมกับอาจารย์ ติดตามการทำข้าวหมาก พร้อมแนะนำการทำข้าวหมากหลากสี บรรจุภัณฑ์ และการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และได้ร่วมกันทำข้าวหมากไปกับชาวบ้าน และมอบเงินสนับสนุนให้กับชุมชนเพื่อเป็นกำลังใจและนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ในครั้งถัดไป

การติดตามและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น วันที่ 06 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าได้เดินทางไปทั้งหมด 3 บ้าน ได้แก่บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านใหม่อัมพวัน และบ้านหนองม่วงใต้ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการทำข้าวแต๋นกับชุมชน สอบถามและพูดคุยถึงปัญหากระบวนการทำข้าวแต๋น เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป โดยภาพรวมแล้วข้าวแต๋นรสชาติอร่อย แต่มีบางบ้านที่ทำแล้วตอนทอดทำให้ข้าวไม่พองและกรอบจึงทำให้ทานยาก และทุกบ้านได้รับเงินสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

 

การบันทึกข้อมูล CBD รายตำบล ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบข้อมูลบ้านบุลิ้นฟ้า มีการคีย์ข้อมูลเกษตรกรเพิ่มเติม จากที่ได้ประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ณ อาคาร 6 ชั้น 1 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ได้มีการแบ่งข้อมูลของแต่ละตำบลเพื่อนำไปคีย์ลงในระบบตามลิ้งแบบสอบถามเพื่อเพิ่มจำนวนตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งมา

การทำกิจกรรมลงแขก ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี ช่วงเช้าเวลา 09.00 น. โดยมีท่านคณบดีรองศาสตรจารย์ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้กล่าวเปิดพิธี ก่อนที่จะลงเกี่ยวข้าวร่วมกับชุมชน และคณะอาจารย์พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อเกี่ยวข้าว ซึ่งการลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นสืบสานประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ที่มีการช่วยเหลือซึ่่งกันและกัน และช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในชุมชน ในปัจจุบันแทบจะไม่ได้พบเห็นกิจกรรมแบบนี้ เนื่องจากเกษตรกรสมัยใหม่นิยมใช้รถไถและรถเกี่ยวแทนการใช้แรงงานคน ระหว่างดำเนินกิจกรรมอยู่นั้นก็ได้มีการบันทึกภาพความสนุกสนานของคณะอาจารย์ ชาวบ้านและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกคน พอเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็ได้มารับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งเป็นการสร้างความประทับใจให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก

การประชุมออนไลน์และออนไซต์จำนวน 4 ครั้ง แบ่งเป็นออนไลน์ 3 ครั้ง ออนไซต์ 1 ครั้ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2564 (ประชุมออนไลน์) เวลา 18.00น.

-วางแผนการทำงานในเดือนตุลาคม

-การเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม

-การลงพื้นที่ติดตามผลและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 (ประชุมออนไลน์) เวลา 19.00น.

– จัดเก็บข้อมูลเพิ่มให้ครบ 1,000 Rcd.

-ส่ง ppt รายงาน ส่งมหาวิทยาลัยด้วยส่งภายใน 12 พ.ย.64

– ให้มีการสรุปรวมเล่มผลการปฏิบัติงาน

-การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น

วันที่ 9 ตุลาคม 2564 (ประชุมออนไซต์) เวลา 09.00 น.

-แบ่งงานคีย์ข้อมูล CBD ให้กับสมาชิกใหม่

-การจัดทำข้อมูล BCG

-สอนเข้าระบบคีย์ข้อมูลให้สมาชิกใหม่

วันที่ 13 ตุลาคม 2564 (ประชุมออนไลน์) เวลา 19.00น.

-การลงแขกเกี่ยวข้าวกับชุมชน

-แนวทางการเขียนบทความฃ

-การเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิก

-แบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในกลุ่มเรื่องการดูแลความสะดวกต่างๆ

 

ภาพกิจกรรมประจำเดือน  พฤศจิกายน  2564

 

อื่นๆ

เมนู