รายงานผลการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ประจำเดือนมิถุนายน 2564

ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

นางสาวพิมพ์พิสุทธิ์ เถียรในเมือง

บ้านหนองไทร/หนองบัว/หนองม่วง/และบ้านน้อยพัฒนา ตำบล ทะเมนชัย อำเภอ ลำปลายมาศ จังหวัด บุรีรัมย์

ชุมชนชนบททั้ง 4 แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเอกลักษณ์เด่นด้านภาษาที่ใช้คือภาษา ลาว มีจำนวนหลังคาเรือนชุมชนละ 200 กว่าหลัง ผู้อยู่อาศัยส่วนมาก เป็นผู้สูงวัย เด็ก เยาวชน สภาพแวดล้อมส่วนมากเป็นพื้นที่นา ไร้อ้อย มีแหล่งอนุรักษ์น้ำที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ทั้งใน 4  ชุมชนอาชีพหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม  ฐานะปานกลางถึงยากจน ลักษณะทางสังคมมีวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนในชุมชน ในพื้นที่การคมมานาคมในแต่ละชุมชนนั้นมีถนนคอนกรีต ถนนลาดยางเข้าถึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดีทำให้ผู้คนสัญจรได้อย่างปลอดภัย การจับจ่ายใช้สอยของคนในชุมชนนั้นซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคของโดยร้านค้าในชุมชนไม่มีสถานีเติมน้ำมันในพื้นที่สำรวจ สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ชาวบ้านมีการป้องกันตัวเองมากขึ้น มีการสวมหน้ากากอนามัยในการพูดคุยกันในวงสนทนา ใช้เจล/สเปรย์แอลกอฮอล์ และวัดอุณหภูมิทุกครั้งเมื่อเข้าไปในหมู่บ้าน

มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ในเรื่องของการป้องกันตัวเองเบื้องต้นโดยให้คำแนะนำ ต้องทานของร้อน สด สะอาด ไปพื้นที่สุ่มเสี่ยงควรหมั่นล้างมือให้สม่ำเสมอ พกเจลแอลกอฮอล์ไปด้วยทุกที สำคัญที่สุดในเรื่องของการใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการรณรงค์ในเรื่องของการให้ประชาชนเปิดใจในการร่วมไปฉีดวัคซีน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของตัวเองรวมถึงปรพโยชน์สูงสุดในเรื่องของการที่ได้รับวัคซีนสามารถช่วยแพทย์ในการลดจำนวนผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลได้อีกด้วย

อบรมสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์การทำข้าวหมาก ที่ศาลากลางหมู่บ้านบุลิ้นฟ้า ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และการทำข้าวแต๋น จัดสถานที่การฝึกอบรมที่ศาลกลางหมู่บ้าน บ้านน้อยพัฒนา ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่ร่วมการอบรมเชิญชวนสมาชิกในชุมชนหมู่บ้านหนองม่วง บ้านหนองไทร และบ้านน้อยพัฒนา เพื่อร่วมเป็นจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน ได้แก่

บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 4

1.นาง ทองพูน บุญอินทร์

2.นาง หนูก่อ ธรรมสาร

3.นาง คนอง พิศเพ็ง

4.นาง รำไพ ชัยชนะ

5.นาง สาคร หอมหวาน

บ้านน้อยพัฒนา หมู่ที่ 16

  1. นางสุพรรษา ชัยโคตร
  2. นางแพงศรี มีศรี
  3. นาง รุ่งทิวา ฦาชา
  4. นาง สำเร็จ อินท์แสน
  5. นาง รำไพ จะยันรัมย์

 

บ้านหนองไทร หมู่ที่ 8

นางทองเพียน พรมชาติ

นางอรษา ศรีชัย

นางแสน พวงทอง

นางสำฤทธิ์ สะเทิงรัมย์

นางม้วยวงษ์แสนสุข

โดยผลการอบรมพบว่าชาวบ้านทุกหมู่บ้านมีความสนใจอย่างยิ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เนื่องด้วยเป็นการจักทำให้เกิดรายได้ในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมีผลทำให้ในอนาคตอาจเกิดการจัดทำพื้นที่การท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในชุมชนเล็กๆแห่งนี้ได้

                      อาชีพที่จัดอบรมคือการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เป็น ข้าวหมาก โดยการทำนั้นใส่ใจกับความสะอาดของส่วนประกอบ อุปกรณ์ ข้าวเหนียว และน้ำที่นำมาใช้ทำข้าวหมาก ไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์อื่น ควรใช้น้ำฝนจักเป็นอันดีที่สุด ใช้ลูกแป้งข้าวหมากที่ไม่เก่าเกินไป ก็จะได้ข้าวหมากหวานๆ ไว้รับประทานหรือทำข้าวหมากขายเป็นอาชีพเสริมรายได้ หรือต้องการข้าวหมากเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่นใช้เป็นส่วนผสมทำขนมถ้วยฟู ทำขนมปัง ทำอาหารเช่นหมูส้ม หรือใช้ทำน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ 

วิธีทำข้าวหมากหวาน
1. เลือกข้าวเหนียวที่ไม่ใหม่หรือเก่าเกินไป นำข้าวเหนียวล้างน้ำฝน 1-2 ครั้ง แล้วแช่น้ำประมาณ 3 ชั่วโมง
2. รินน้ำแช่ข้าวเหนียวออก ล้างข้าวเหนียวอีกครั้ง และสะเด็ดน้ำออก
3. นำข้าวเหนียวไปนึ่งประมาณ 10 นาทีแล้วกลับข้าวเหนียวและนึ่งต่อเพื่อให้ข้าวสุกทั่วถึง ข้าวไม่เป็นไต (ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 20-30 นาที) แล้วนำข้าวออกผึ่งในภาชนะจนข้าวคลายความร้อน
4. นำข้าวเหนียวมาล้างในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
5. นำลูกแป้งข้าวหมากที่เตรียมไว้ (ลูกแป้งข้าวหมาก 2-3 ลูก ต่อข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม) มาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว
6. บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2 วัน
– เมื่อหมักข้าวหมาก 2-3 วันแล้ว สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่แข็งก็ได้ จะช่วยให้เก็บข้าวหมากไว้รับประทานได้นาน มีรสหวานเหมือนเดิม      

      การจัดอบรมการทำข้าวแต๋น เคล็ดลับในการทำข้าวแต๋น คือ การทำนั้นต้องใช้พิมพ์ไม่หนาและไม่บางเกินไปการขึ้นรูปการทำข้าวแต๋นนั้นอย่ากดแรงเกิดไปจักเป็นการทำให้ข้าวแต๋นนั้นแน่น ไม่พองสวย ควนปั้นให้มีความแน่นที่พอดี เมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วตากตัวข้าวแต๋นของเราให้แห้งก็สามารถนำไปทอดลงกระทะได้น้ำมันที่ใช้ควรเป็นน้ำมันปาล์มเนื่องจากมีการไหม้ของน้ำมันที่ช้าถ้าหากใช้น้ำมันจากไขมันพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลืองจะทำให้น้ำมันไหม้เร็ว    

ข้อเสนอแนะ

อยากเสนอการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในรูปแบบข้าวแต๋นD.I.Y คล้ายๆกับข้าวเกรียบแห้งที่ยังไม่ผ่านการทอด

          รูปภาพการจัดอบรมอาชีพ       

        ลิงค์วีดีโอประจำเดือนมิถุนายน

อื่นๆ

เมนู