บทความประจำเดือน ตุลาคม

นายอภิวัต สำรวมรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS-08  ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร: HS-๐๘ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๖๔

 

ได้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร

ลงพื้นที่ วันที่ 07ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่บ้านน้อยพัฒนา หมู่16 สำหรับการเก็บข้อมูล SROI ตามที่ อว. ได้ให้แบบสำรวจมาลงพื้นที่ในตำบลทะเมนชัยได้สำรวจข้อมูลตำบลเป้าหมายกับผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านที่เป็นหัวหน้าสมาชิกผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นจากชาวบ้านเกี่ยวกับการให้ข้อมูลในแบบฟอร์มคำตอบที่ชาวบ้านให้ผลสำรวจมาในทางที่ดีมากและเกิดประโยชน์แก่ผู้สำรวจทีม U2Tตำบลทะเมนชัย การลงพื้นที่สำรวจบ้านน้อยพัฒนา หมู่16 กับหัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ผู้นำชุมชนและชาวบ้านให้ความร่วมมือกับสมาชิก U2T ตำบลทะเมนชัย ไปได้ด้วยอย่างดี

ในตำบลทะเมนชัย ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานของตำบลทะเมนชัย มีการแบ่งเขตการปกครอง คือเทศบาลตำบลดูแลรับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน และอบต.ดูแลรับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน โดยมีประชากรทั้งหมด 9,030 คน อาชีพของชาวบ้านตำบลทะเมนชัย ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนาเพื่อใช้ในการ อุปโภค บริโภค และจำหน่าย นอกจากการทำนาก็ยังมีการทำไร่ เช่น ไร่อ้อย ไร่มัน และปลูกผักสวนครัว ในฤดูเก็บเกี่ยวก็ขายให้โรงงานบางครั้งก็ขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ในบริเวณรอบๆหมู่บ้านจะมีสระน้ำในการใช้อุปโภคบริโภคและมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่2แห่ง การสัญจรในตำบลค่อนข้างสะดวกเพราะเป็นถนนดำทั้งหมดและมีไฟฟ้าส่องสว่างตลอดเวลาในช่วงกลางคืน และในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มได้สำรวจข้อมูลชุมชน ข้าพเจ้าได้ทำการขออนุญาตกับทางผู้ใหญ่บ้าน ของหมู่บ้านที่กระผมได้สำรวจก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อย ข้าพเจ้าได้เข้าไปลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับชาวบ้านหมู่บ้านที่รับผิดชอบและได้ถามถึงความเป็นมาของคนในหมู่บ้านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้สอบถามข้อมูลและรายละเอียดกับชาวบ้านตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางให้มา และข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนรายงานในเชิงวิชาการ เป็นต้น

สูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋น

1.) ข้าวแต๋นชาเขียว

ส่วนผสม

(1.) ข้าวเหนียว ​​​​1/2 กิโลกรัม

(2.) เกลือป่น    ​​​​1 ช้อนชา

(3.) น้ำชาเขียว (ชาตรามือ)     ​​​1 ถ้วยตวง (สำหรับทำสีของข้าว)

(4.) น้ำชาเขียว (ชาตรามือ)    ​​ ​3 ช้อนโต๊ะ (สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)

(5.) งาดำหรืองาขาว   ​​​​2 ช้อนโต๊ะ

(6.) น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย (มิตรผล)  ​500 กรัม

(7.) น้ำตาลทรายแดง   ​​​​2-3 ช้อนโต๊ะ

(8.) น้ำกะทิกล่อง   ​​​​1 ช้อนโต๊ะ

 วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน (หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึ่งจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็คดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)

 

วิธีทอดข้าวแต๋น

– ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

 วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

– นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็คความหนึบของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ

– พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น

 สูตรและขั้นตอนการทำข้าวหมาก

ส่วนประกอบและอัตราส่วน   : ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

วิธีทำ : 1.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

2.นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว

3.บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

– ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า

– การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง

– ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้

– น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน- เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

ติดต่อประสานงานให้คำเเนะนำ สมาชิกเป้าหมายบ้านหนองน้ำขุ่น หมู่11 จำนวน 5 คน ดังนี้ แนะนำการรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความรับผิดชอบและเพื่อสร้างความยั่งยืนในกลุ่ม และนำไปสู่การจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนในอนาคต 1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา องค์ความรู้และรูปแบบการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรรวมถึง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง 2.ส่งเสริม สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมถึง การพัฒนาคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐานที่เหมาะสม 3.ส่งเสริม พัฒนาทักษะ ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การผลิต การลงทุน และการตลาดที่เหมาะสมเพื่อให้วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ รวมถึง การสร้างความพร้อม และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนา

ปฏิบัติหน้าที่เรขานุการ การจดบทความในวาระประชุมเพื่อจะได้นำเอาข้อมูลทั้งหมดในการประชุมมาจัดคำเพื่อสะดวกต่อการอ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ได้ฝึกทักษะการสื่อสารไปในตัวและมีปฏิสัมพันธ์ในการประสานงานระหว่างคนในทีมหรือหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สร้างความประทับใจต่อเพื่อนร่วมงาน

การติดตามและให้คำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ทางทีมงานU2Tได้ลงปฏิบัติเป็นกลุ่มใหญ่ในการลงพื้นที่ในตำบลทะเมนชัย เพราะสามารถแนะนำแนวทางการปฏิบัติให้แก่ชาวบ้านได้ทั่วถึงและสามารถทำผลิตภัณฑ์ทั้ง2ชนิดได้อย่างลงตัว ผลลัพธ์ที่ออกมาชาวบ้านได้ลองทำจำหน่ายภายในหมู่บ้านผลตอบรับเป็นไปในทิศทางที่ดี สามารถจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ประชุมออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2564

1.ขอความกรุณาให้สมาชิกเข้าประชุมทุกครั้ง

กิจกรรมที่1 (ข้าวแต๋น)

-กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-11.00 น.

-สถานที่ บ้านน้อยพัฒนา

งานมอบหมาย

1.ประสานงานสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้านละไม่เกิน3คน

2.ติดต่อสถานที่ (บ้านน้อยพัฒนา ใช้ในการอบรม)

*ขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เช่นเตาแก๊ส

3.จัดเตรียมสถานที่ แบ่งทีมหรือลงทั้งหมดก็ได้

4.จัดเตรียมข้าวแต๋นสำหรับพัฒนา สำหรับหมู่บ้านที่พร้อมเข้าร่วมกิจกรรม

*ให้ผู้ปฏิบัติงานแจ้งกลุ่มตัวแทนชุมชน

*กลุ่มตัวแทนชุมชนสามารถออกแบบรสชาติและสีของข้าวแต๋นเองได้

5.ให้แบ่งทีมออกเป็น 3 ทีมเพื่ออำนวยความสะดวกต่อชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

6.จัดเตรียมฝ่ายต้อนรับ เบรก น้ำดื่ม และอาหารกลางวัน

7.จัดเตรียมฝ่ายรับผิดชอบการลงทะเบียน ค่าพาหนะ ค่าอาหารกลางวัน

8.แจ้งรายชื่อหมู่บ้านที่พร้อมเข้าร่วมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น

กิจกรรมที่ 2 (ข้าวหมาก)

วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564

-การอบรมการพัฒนาเข้าหมาก

-กฎหมายเกี่ยวข้องกับข้าวหมาก

-การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะเชิญอาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไปอบรมให้ชุมชนอีกครั้ง

-การเข้าร่วมกิจกรรมไม่เกินหมู่บ้านละ 3 คน

-สถานที่ศูนย์ข้าวหรือเทศบาลตำบลทะเมนชัยก็ได้ (ยังไม่ระบุ)

กิจกรรมที่ 3 (ปลายเดือนตุลาคม ยังไม่กำหนดวัน)

-การพัฒนาตลาดออนไลน์

-การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์

 

 

  

อื่นๆ

เมนู