การเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม Social Return On Investment (SROI) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินผลลัพธ์และคุณค่าทางสังคม เพื่อประเมินมูลค่า ติดตามและปรับกลยุทธ์ มีเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจำนวน 11 เป้าหมายได้แก่ (1) ตำบลเป้าหมาย (2) ลูกจ้างโครงการ (3) ครอบครัวลูกจ้างโครงการ (4) ชุมชนภายใน (5) ชุมชนภายนอก (6) อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ  (7) เจ้าหน้าที่โครงการ USI  (8) ผู้แทนตำบล  (9) หน่วยงานภาครัฐ  (10) หน่วยงาน อปท  (11) เอกชนในพื้นที่  ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ตำบลทะเมนชัย โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป้าหมายร่วมกับสมาชิกในทีม เป้าหมายที่ได้รับผิดชอบได้แก่

เป้าหมาย (3) ครอบครัวลูกจ้างโครงการได้เก็บข้อมูลกับครวบครัวนางสาวบุญวิภาเมฆา

เป้าหมาย (8) ผู้แทนตำบลได้เก็บข้อมูลกับนายปัญญามาจิตร

เป้าหมาย (10) หน่วยงานอปท. ได้เก็บข้อมูลกับนายกิตติพงษ์ชะรางรัมย์กำนันตำบลทะเมนชัย

 

การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา

บ้านหนองม่วงน้อยหมู่ 10 ตำบลทะเมนชัยอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์  ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2511 โดยแยกชุมชนที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านหนองม่วงหมู่สี่ชื่อหมู่บ้านตั้งตามชื่อหนองน้ำ “หนองม่วง” ที่อยู่ติดหมู่บ้านและเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีประชากรในหมู่บ้าน 358 คน 102 ครัวเรือน ข้อมูลที่จัดเก็บ ได้แก่ 1) บ้านหนองม่วงน้อยมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 73 คน แบ่งประเภทของอาชีพ ได้แก่ การทำนาและไร่อ้อย  2) ร้านค้าในชุมชน มี 2 ร้าน ขายสินค้าเบ็ดเตล็ด  3) วัด 1 แห่ง  4) โรงเรียน 1 แห่ง  5) แหล่งน้ำ 1 แหล่ง  6) ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 ผืน  7) อาชีพ มี 5 อาชีพ ได้แก่ รับจ้างทั่วไป เกษตรกร รับราชการ ค้าขาย พนักงานบริษัทเอกชน  8) เส้นทางคมนาคม มี 1 เส้นทาง ชื่อถนนสายทะเมนชัยบ้านสวน  ข้อมูลสมาชิกในชุมชนที่จัดเก็บ ได้แก่ 1) ทารกแรกเกิด (แรกเกิด – 1 ขวบ) มี 18 คน  2) เด็กและเยาวชน (อายุกว่า 1 ขวบ -19 ปี ) มี 109 คน  3) ผู้พิการ มี 12 คน แบ่งอาการคนพิการเป็น 3 ด้าน ด้านการเคลื่อนไหว ด้านทางการได้ยิน ด้านจิตและพฤติกรรม  4) สมาชิก อสม. มี 6 คน ข้อมูลประเพณีที่ประชนปฏิบัติสือทอดต่อกันมาได้แก่ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์

ประเพณีเลี้ยงศาลปู่ตา   ประเพณีแห่เทียนพรรษา  พืชสมุนไพรในชุมชน อาทิ ฟ้าทะลายโจร  มะกรูด  ว่านหางจระเข้  มะระขี้นก  มะขามป้อม 

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปประจำเดือนตุลาคม (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น)

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นวันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 ณศาลากลางหมู่บ้านบ้านน้อยพัฒนาตำบลทะเมนชัยอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการพัฒนาสูตรการทำข้าวแต๋นรสชาเขียวมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 54 คนโดยแบ่งเป็น 5 หมู่บ้านได้แก่บ้านน้อยพัฒนาบ้านใหม่อัมพวันบ้านหนองน้ำขุ่นบ้านบุตตาริดบ้านหนองตาดและผู้ปฏิบัติงานโดยมีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋นดังนี้แล้ว

1.) ข้าวแต๋นชาเขียว

ส่วนผสม

(1.)ข้าวเหนียว1/2 กก.

(2.)เกลือป่น    1 ชช.

(3.)น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)     1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)

(4.)น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)    3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)

(5.)งาดำหรืองาขาว  2 ช้อนโต้ะ

(6.)น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล)  500 กรัม

(7.)น้ำตาลทรายแดง  2-3 ช้อนโต๊ะ

(8.)น้ำกะทิกล่อง  1 ช้อนโต้ะ

วิธีการทำ

1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมดและแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)

2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)

3.  เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี

4.  ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้

5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ดห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้

6.  เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที

7. นำข้าวที่พักไว้แล้วปั้นใส่พิมพ์พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู

8.  นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)

วิธีทอดข้าวแต๋น

– ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัดแล้วนำข้าวที่ตากแล้วลงทอดตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไปและให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆจนเหลืองสวยแล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน 

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

– นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือใส่ลงไปแล้วเปิดไฟใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรงเคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะเคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อแล้วให้ปิดไฟและเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ

  พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น 

2.)  ข้าวแต๋นมันม่วง

– มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียวโดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกันแต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วงซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราดถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้..แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาดให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้นเพราะถ้าเติมตอนร้อนๆน้ำตาลจะไหม้ได้ 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดลองทำข้าวแต๋น 

1) การตากข้าวแต๋นไม่แห้งเนื่องจากช่วงนี้อยู่ในฤดูฝนทำให้การตากข้าวแต๋นไม่แห้งและไม่มีเครื่องอบ 

2) ข้าวแต๋นไม่กรอบเก็บไว้ได้ไม่นานซึ่งบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋นต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทไม่มีอาการเข้า 

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 19-20 ตุลาคม 2564 ณศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้าตำบลทะเมนชัยอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ 

ส่วนประกอบและอัตราส่วน  : ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

วิธีทำ : 1. นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝนประมาณ 3 ครั้งใช้มือถูเบาๆจนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใสแล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

2. นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียดโรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียวใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว

3. บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วันก็จะสามารถรับประทานได้

เคล็ดลับวิธีทำข้าวหมากหวาน

– ข้าวเหนียวใหม่คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปีเมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า

  การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง

– ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ทำให้ข้าวเหนียวแฉะควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้างหากล้างข้าวเหนียวเละและแฉะจะมีน้ำอยู่ในข้าวมากทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้

– น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้วค่อนข้างมีเมล็ดติดกันน้ำต้อยจะออกมามากแต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไปเพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไปทำให้ข้าวหมากไม่หวาน

– เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

เนื่องจากบ้านหนองม่วงน้อยม.10 ที่ได้รับผิดชอบไม่ได้เข้าร่วมการแปรรูปผลิตภัณฑ์  จึงได้ร่วมรับผิดชอบบ้านหนองม่วงใต้กับสมาชิกในทีม  ได้ติดต่อประสานงานในการเข้าอบรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทดลองทำข้าวหมาก การพัฒนาสีข้าวหมาก เป็นต้น และให้คำเเนะนำเรื่องการพัฒนารสชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ข้าวหมากกับสมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านหนองม่วงใต้ หมู่ 15 จำนวน 5 คน ดังนี้

1.นางดาวเรือง  เดือนแจ้ง    2.นายกิตติภูมิ  เพียรไลย์

3.นายอภิวัฒน์ โยเหลา     4.นายประสาน แอบไธสง 

5.นางบุญมี เหมาะทอง

เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก 

ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของบ้านหนองม่วงใต้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยมีระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอยู่ในระดับยังไม่มีการพัฒนาคือยังอยู่ในช่วงของการทดลองรสชาติผลิตภัณฑ์ให้มีความหวานที่คงตัวและการพัฒนาสีใหม่ๆ  ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า และสีแดง  เนื่องจากตอนนี้อยู่ในสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคระบาดโควิด 19 จึงยังไม่มีการรวมตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบ้านหนองม่วงใต้

งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายได้แก่ 1) ติดต่อประสานงานเก็บข้อมูล SROI กับกำนันตำบลทะเมนชัยและปลัดเทศบาลตำบลทะเมนชัย  2) ติดตามผลและประสานงานกับสมาชิกเป้าหมายของบ้านหนองม่วงใต้ที่เข้ารวมกิจกรรมพัฒนาข้าวหมาก  3) บันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ 

วิดีโอปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

 

อื่นๆ

เมนู