เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญรายตำบลตามแบบSROI และการติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวแต๋น

ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

นางสาวมลฑิรา แทนคำ

          ทางทีมงาน U2T ตำบลทะเมนชัยได้มีการออกสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญรายตำบลตามแบบSROI อาทิเช่น ข้อมูลเอกชนในพื้นที่ ข้อมูลลูกจ้างโครงการ ข้อมูลชุมชนภายนอก ข้อมูลครอบครัวลูกจ้างโครงการ ข้อมูลร้านค้าในตำบล โดยนักศึกษาได้รับผิดชอบในเรื่องของการลงข้อมูลในระบบ

นอกจากนี้ ยังได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS08 บทที่ 1 ซึ่งจะเป็นเรื่องของสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา จะมีในเรื่องของประวัติทั่วไป แผนที่ชุมชน ข้อมูลสำคัญรายตำบล (หมู่บ้าน) ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา เกษตรที่ขึ้นทะเบียน ร้านค้าชุมชน วัด โรงเรียน แหล่งน้ำ ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ในชุมชน เส้นทางคมนาคม ข้อมูลสมาชิกชุมชน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ทารกแรกเกิด เด็กและเยาวชน สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ สมาชิก อสม. ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญา และพืชสมุนไพรในชุมชน

ในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ได้จัดกิจกรรมการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวแต๋น ณ บ้านน้อยพัฒนา มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 54 คน จำแนกเป็นชาวบ้าน 21 คน และทีมผู้ปฏิบัติงาน 33 คน โดยนักศึกษารับผิดชอบทั้งหมด 2 หมู่บ้าน คือ บ้านน้อยพัฒนา และบ้านหนองม่วง มีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋น ดังนี้

  • ข้าวแต๋นชาเขียว

ส่วนผสม

ข้าวเหนียว                                                  1/2 กก.

เกลือป่น                                                      1 ชช.

น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)                                1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)

น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)                                3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)

งาดำหรืองาขาว                                          2 ช้อนโต้ะ

น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล)        500 กรัม

น้ำตาลทรายแดง                                         2-3 ช้อนโต๊ะ

น้ำกะทิกล่อง                                               1 ช้อนโต๊ะ

 วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวัน ๆ อย่าลืมพลิกกลับด้านข้าว)

วิธีทอดข้าวแต๋น

  • ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อย ๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

  • นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน

**ทั้งเคี่ยวและคน** ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ

  • พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น

 

ข้าวแต๋นมันม่วง

  • มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้  แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อน ๆ เด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อน ๆ น้ำตาลจะไหม้ได้(สูตรและเทคนิควิธีการทำสามารถปรับได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล)

                                        สูตรโดย นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ

ผู้ปฏิบัติงานโครงการมหาวิทลัยสู่ตำบล(U2T)

           ปัญหาหลัก ๆ ที่พบ คือ สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย อากาศแปรปรวน ทำให้ต้องใช้เวลาตากหลายวัน ไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า

วันที่ 18 ตุลาคม 2564 ได้จัดกิจกรรมติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ณ บ้านบุลิ้นฟ้า มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 54 คน จำแนกเป็นชาวบ้าน 21 คน และทีมผู้ปฏิบัติงาน 33 คน โดยมีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวหมาก ดังนี้

ส่วนประกอบและอัตราส่วน   : ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

วิธีทำ :

1.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

2.นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว

3.บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้ 

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

  • ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า
  • การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง
  • ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้
  • น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี
  • ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน – เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

 

     

     

     

อื่นๆ

เมนู