รายงานการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย)
HS08 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
นางสาวพัชรี แก้วเจ๊ก ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่
ข้าพเจ้า นางสาวพัชรี แก้วเจ๊ก ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS08 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม 2564
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล ซึ่งมอบหมายงานให้ทีมผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI) เป็นการเก็บข้อมูลทั้ง 11 หัวข้อ ดังนี้
1.ตำบลเป้าหมาย
2. ลูกจ้างโครงการ
3. ครอบครัวลูกจ้าง
4. ชุมชนภายใน
5. ชุมชนภายนอก
6. อาจารย์โครงการ
7. เจ้าหน้าที่โครงการ
8. ผู้แทนตำบล
9. หน่วยงานภาครัฐ
10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11. เอกชนในพื้นที่
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ได้นัดร่วมตัวและนัดประชุมทีม เวลา 10.00 น. ณ สถานีรถไฟทะเมนชัย เพื่อชี้แจ้งรายละเอียดการลงพื้นที่และเก็บข้อมูลแบบสอบถามการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI) จากนั้นก็แยกย้ายกันไปเก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI โดยข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลและได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หัวข้อที่ 1ตำบลเป้าหมาย โดยประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร ซึ่งได้ขอข้อมูลจากนางทองสา เชือบรัมย์ บ้านน้อยพัฒนา หมู่16 โดยสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ/การเงิน เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ (กาย/ใจ) เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเป็นอยู่ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทาง Goole Meet โดยประชุมและวางแผนเพื่อเตรียมสถานที่ เพื่อพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ในวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เดินทางไปที่ศาลากลางหมู่บ้านบ้านน้อยพัฒนา หมู่16 ตำบลทะเมนชัย และศาลากลางหมู่บ้านบ้านบุลิ้นฟ้า หมู่12 ตำบลทะเมนชัย เพื่อจัดเตรียมสถานที่ เช่น จัดโต๊ะจัดเก้าอี้ และเช็ดเก้าอี้ เพื่อจัดกิจกรรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 และวันที่ 18 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น.– 11.00 น. ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) โดยทำหน้าที่ในการรับลงทะเบียนผู้มาเข้าร่วมการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 และวันที่ 18 ตุลาคม 2564 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านใหม่อัมพวัน บ้านบุตาริด บ้านน้อยพัฒนา บ้านหนองม่วง และบ้านหนองน้ำขุ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นตัวแทนหมู่บ้าน บ้านล่ะ 3 ท่าน และรวมกับทีม U2T ตบลทะเมนชัย ทั้งหมด 54 ท่าน โดยมีขั้นตอนและวิธีการทำข้าวแต๋นดังนี้
ข้าวแต๋นชาเขียว
ส่วนผสม
- ข้าวเหนียว 1/2 กก.
- เกลือป่น 1 ชช.
- น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)
- น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
- งาดำหรืองาขาว 2 ช้อนโต้ะ
- น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล) 500 กรัม
- น้ำตาลทรายแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำกะทิกล่อง 1 ช้อนโต้ะ
วิธีการทำ
- นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)
- นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
- เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
- ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
- ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
- เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
- นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
- นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)
วิธีทอดข้าวแต๋น
- ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น
- นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ
- พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น
ข้าวแต๋นมันม่วง
- มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ
**เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้..แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อนๆน้ำตาลจะไหม้ได้(สูตรและเทคนิควิธีการทำสามารถปรับได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคลนะคะ)
ซึ่งพบปัญหาของการทำข้าวแต๋น เนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน ไม่สามารถนำข้าวที่จะมาทำผลิตภัณฑ์ไปตากแดดได้ เนื่องจากตอนนี้ฝนตกทุกวัน จึงเป็นปัญหาหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ส่งผลกระทบต่อการตากข้าวไม่แห้ง ทำให้ข้าวไม่แห้งและขึ้นราได้ ซึ่งถ้าเราตากข้าวไม่แห้งก็จะทอดข้าวออกมาไม่ฟูและอาจจะไม่สุก และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยมีการรวมกลุ่มของตัวแทนชาวบ้านที่เข้าอบรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สูตรคงที่เพื่อรักษารสชาติให้อร่อยและตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค และการออกแบบสีสันให้โดดเด่น โดยมีการนำสีจากวัตถุดิบของธรรมชาติมาผสมผสาน เพื่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากฟักทอง สีม่วงจากอัญชัน สีแดงจากแตงโม เป็นต้น รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใส่ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยให้กลุ่มตัวแทนเลือกแบบที่จะนำมาใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์จากกลุ่ม U2T ตำบลทะเมนชัยที่ได้เลือกมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวแต๋น/ข้าวหมาก) และข้าพเจ้าได้ร่วมพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปข้าวหมาก จากการพัฒนาและให้ความรู้แก่ชุมชนจะมีขั้นตอนและวิธีการทำข้าวหมากดังนี้
สูตรการทำข้าวหมาก
ส่วนประกอบและอัตราส่วน
ข้าวเหนียวหอมมะลิ 1 กก.
แป้งข้าวหมาก 2-3 ลูก
วิธีทำ
1.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้ สะเด็ดน้ำ
2.นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว
3.บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้
เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน
- ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า
- การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง
- ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้าง ข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้
- น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมาก ค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี
- ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน
- เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่หมู่บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ที่11 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ เพื่อติดต่อประสานงานสมาชิกในชุมชน เพื่อที่จะเข้าร่วมการพัฒนากิจกรรมผลิตข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) โดยนำสมาชิกกลุ่มป้าหมายบ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ที่11 จำนวน 3 คน มาเป็นบุคคลต้นแบบของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นของหมู่บ้าน โดยเข้าร่วมการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และทักษะต่างๆเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ของตนเอง
ได้รับมอบหมายให้ติดต่อประสานงานให้สมาชิกชุมชนชาวบ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ที่11 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ เข้าร่วมการพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) จำนวน 3 คน ได้ทำการบันทึกภาพในการกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) การลงทะเบียนเข้าร่วมพัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น)
ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย ได้ลงพื้นที่ติดตาม สอบถามปัญหาระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบ “ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น” บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ที่11 โดยได้ทราบปัญหาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน ไม่สามารถนำข้าวที่จะมาทำผลิตภัณฑ์ไปตากแดดได้ เนื่องจากตอนนี้ฝนตกทุกวัน จึงเป็นปัญหาหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น