นายธนาธิป เสาวพันธุ์ กลุ่มประชาชน

วันพฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น.ได้ประชุมพบปะกับสมาชิกใหม่ทีมทะเมนชัย ที่สถานีรถไฟทะเมนชัย มีการแนะนำชื่อ และหน้าที่ของแต่ละคนให้กับสมาชิกใหม่ได้ทราบ อีกทั้งได้มอบหมายงาน และหน้าที่ ในการสำรวจข้อมูล แบบสอบถามSROI ซึ่งข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ เป็นผู้บันทึกภาพถ่ายและวีดีโอในการทำงาน แล้วยังได้แนะนำการทำงานให้กับสมาชิกใหม่ ชี้แนะแนวทางการทำงานของทีม เริ่มการสำรวจข้อมูลโดย ไปที่ร้านวัสดุก่อสร้างบ้านหนองหญ้าปล้อง ข้าพเจ้าได้เก็บภาพและวีดีโอ บรรยากาศการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม SROI ซึ่งผู้ให้ข้อมูล ได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี จากนั้นจึงได้ไปยังศาลากลางบ้านหนองหญ้าปล้อง เพื่อเก็บภาพและวีดีโอ บรรยากาศการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม  SROI ซึ่งผู้ให้ข้อมูล ของนางสาวรุ่งอรุณ ศรีสวัสดิ์ เพื่อนำภาพไปประกอบการทำคลิปวีดีโอ ประจำเดือนตุลาคม แล้วเสร็จ จึงเดินทางไปยังที่ทำการผู้บ้านหนองตาด หมู่3 โดยมี สมาชิกทีมทะเมนชัย จำนวน8คนร่วมกันสอบถามข้อมูลกับภรรยา ของผู้ใหญ่บ้านหนองตาด ข้าพเจ้าได้เก็บภาพและวีดีโอ จากนั้นเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามทีได้รับมอบหมายจึงได้นัดรวบรวมข้อมูล ที่สถานีรถไฟทะเมนชัย เพื่อทำการสรุปข้อมูล

 

ช่วงเดือนกันยายนข้าพเจ้าได้ทำการเก็บข้อมูลโดยทั่วไปของตำบลทะเมนชัย ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทะเมนชัย บ้านหนองตาด บ้านตลาดทะเมนชัยและบ้านบริหารชนบท มีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ที่ได้ทำการสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูล ช่วงเวลา 09.oo น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานเดินทางไปยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านทะเมนชัย ม.1 เพื่อเข้าไปสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน ผู้นำชุมชนได้ให้ข้อมูลได้อย่างละเอียดและครบถ้วน จากนั้นทางผู้ใหญ่บ้านจึงพาไปดูแหล่งน้ำในชุมชน ซึ่งมีขนาดใหญ่ล้อมรอบชุมชน ข้าพเจ้าจึงได้ทำการเก็บภาพเพื่อที่จะนำไปใช้ในการสรุปข้อมูล ต่อมาเวลา 10.00 น. ได้เดินทางไปยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองตาด ม.3 เพื่อสอบถามข้อมูลเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นจึงได้ไปเก็บข้อมูลกับร้านค้าในชุมชน ซึ่งส่วนมากจะเป็นการค้าขายของชำและร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ เวลา 11.00 น. เดินทางไปยังป้อมยามที่ตั้งใกล้กับสถานีรถไฟทะเมนชัย ซึ่งได้ทางผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้เข้าเวรและอยู่บริเวณนั้นพอดี ข้าพเจ้าจึงได้เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามได้ครบตามที่ได้รับมอบหมาย และเวลา 12.00 น. ได้เดินทางไปที่บ้านบริหารชนบท โดยมีนางอุทัย ทองทา ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จากนั้นจึงได้เข้าไปเก็บภาพบรรยากาศที่โรงเรียนบ้านบริหารชนบทและสำนักสงฆ์บ้านบริหารชนบท ซึ่งข้อมูลที่ได้เก็บมานั้นจะนำมารวมกันสรุปและวิเคราะห์เพื่อจัดทำรูปเล่มส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

พัฒนาปรับปรุงสูตรและรูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป(ข้าวแต๋น) วันที่ 16-17 ต.ค.64 ณ.บ้านน้อยพัฒนา วันที่16 ตุลาคม 64 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและทีมงานได้จัดสถานที่ ณ ศาลาประชาคม บ้านน้อยพัฒนา หมู่16 โดยมี่การจัดโต๊ะ เก้าอี้ เช็ดทำความสะอาดสถานที่ และได้ทำการบันทึกเสียงการบรรยายประกอบคลิปวีดีโอประจำเดือนตุลาคม ให้เสียงบรรยายโดย นางสาวณัฐริยา จงปลูกกลาง วันที่17ตุลาคม 64 เวลา 09.00 น. โดย อาจารย์ ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน กล่าวต้อนรับชาวบ้านสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย ลงมือปฏิบัติทำข้าวแต๋นตามสูตร

             สูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋น

  • ข้าวแต๋นชาเขียว

ส่วนผสม

  • ข้าวเหนียว 1/2 กก.
  • เกลือป่น                                     1 ชช.
  • น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)                               1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)
  • น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)                                3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
  • งาดำหรืองาขาว                                          2 ช้อนโต้ะ
  • น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล) 500 กรัม
  • น้ำตาลทรายแดง                                        2-3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำกะทิกล่อง                                              1 ช้อนโต้ะ

วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)

 

วิธีทอดข้าวแต๋น

  • ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

 

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

  • นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ
  • พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น

 

  • ข้าวแต๋นมันม่วง
  • มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้..แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อนๆน้ำตาลจะไหม้ได้

 

ข้าพเจ้าได้ทำการติดต่อประสานงาน ให้คำเเนะนำ สมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านบริหารชนบท จำนวน 3คน ดังนี้ 1.นางอุทัย ทองทา   2.นางสังวาร คุชิตา  3.นางกัณหา กุตาวัน  เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาข้าวหมากให้กับชุมชน และได้แนะนำการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การตลาด และบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มชาวบ้านมีรายได้และอาชีพเสริม

 

ข้าพเจ้ามีหน้าที่รับผิดชอบในการบันทึกภาพกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  กิจกรรมสำรวจแบบสอบถาม SROI  การเก็บข้อมูล บทที่1 การสำรวจพื้นที่พัฒนา การจัดกิจกรรมปรับปรุงสูตรการทำข้าวแต๋น และข้าพเจ้ามีหน้าที่ในการตัดต่อภาพ-คลิปวีดีโอ ประจำเดือนตุลาคม จัดสถานที่เตรียมอบรม คอยให้คำแนะนำแก่ สมาชิกในทีม ชาวบ้าน และปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย

ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก/ข้าวแต๋นให้กับชาวบ้านสมาชิกกลุ่มผู้ทำข้าวหมากและข้าวแต๋นตามสูตรที่ทีมทะเมนชัยได้ปรับปรุงเพิ่มเติม

 

อื่นๆ

เมนู