การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

นายวีระชน จันทะนาม

 

การเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม Social Return On Investment (SROI) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินผลลัพธ์และคุณค่าทางสังคม เพื่อประเมินมูลค่า ติดตามและปรับกลยุทธ์ มีเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจำนวน 11 เป้าหมายได้แก่ 1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างโครงการ 3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7.เจ้าหน้าที่โครงการ USI 8.ผู้แทนตำบล 9.หน่วยงานภาครัฐ 10.หน่วยงาน อปท. 11.เอกชนในพื้นที่ ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้รับหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เป้าหมาย ได้แก่

  1. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ บ้านหนองม่วง ม.11 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อทำการสำรวจครอบครัวของ นางสาวบุญวิภา เมฆา
  2. ผู้แทนตำบล ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ เทศบาลทะเมนชัย เพื่อทำการสำรวจและเก็บข้อมูลกับ นายปัญญา มาจิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลทะเมนชัยในปัจจุบัน
  3. หน่วยงานงานอปท. ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ ที่ทำการกำนัน ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อทำการสำรวจและเก็บข้อมูลกับ นายกิตติพงศ์ ชะร่างรัมย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งกำนันของตำบลทะเมนชัยในปัจจุบัน

จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 บ้านบุตาริด หมู่12 ตั้งอยู่ในตำบล ทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมากเป็นพื้นที่ทั้งหมด 650 ไร่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร มีข้อมูลสำคัญรายตำบล ได้แก่

  • ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา มีภูมิปัญญาได้แก่ ด้านศาสนพิธี ด้านสมุนไพร ด้านการสานตะกร้าพลาสติก ด้านพิธีกรรมต่างๆ
  • เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนบ้านบุตาริด หมู่ 12 มีเกษตรที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 83 คน เป็นประเภทอาชีพทำนา
  • ร้านค้าชุมชน มีจำนวน 2 ร้าน ได้แก่ ร้านขายก๋วยเตี๋ยว, อาหารตามสั่ง และร้านขายสินค้าทั่วไป
  • วัด 1 แห่ง ได้แก่ วัดบุตาริดวราราม
  • โรงเรียน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองม่วง
  • แหล่งน้ำ 2 แหล่ง ได้แก่ หนองมะเกลือ, ฝายบุตาริด
  • อาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม รับจ้าง รับราชการ และกิจการส่วนตัว
  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มทอเสื่อกก
  • ผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ ข้าวแต๋น ขนมครก
  • เส้นทางคมนาคม ได้แก่ ถนนเทศบาลทะเมนชัย แสลงพัน
  • ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม ด้านประเพณีได้แก่ การทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ งานสืบสานประเพณีสงกรานต์และงานนมัสการพระธาตุ งานประเพณีบุญเดือน 6 งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาและงานประเพณีลอยกระทง
  • พืชสมุนไพรในชุมชน ได้แก่ ตะไคร้ ขมิ้น กระชาย กระเจี๊ยบ

 

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์แปรรูปประจำเดือนตุลาคม (ข้าวแต๋น) ข้าพเจ้าและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้ทำการประชุม (ออนไลน์) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในแต่ละกลุ่มในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อให้รูปแบบกิจกรรมผ่านไปด้วยดี กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านน้องพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการพัฒนาสูตรการทำข้าวแต๋นรสชาเขียว มีผู้เข้ารับการอบรมโดยแบ่งเป็น 7 หมู่บ้านดังนี้

  • บ้านน้อยพัฒนาจำนวน 3 คน
  • บ้านใหม่อัมพวันจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองน้ำขุ่นจำนวน 3 คน
  • บ้านบุตาริดจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองตาดจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองหญ้าปล้องจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองตาดจำนวน 3 คน

โดยมีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋นดังนี้

 

  1. ข้าวแต๋นชาเขียว

ส่วนผสม

 

  • ข้าวเหนียว ½ กิโลกรัม
  • เกลือป่น  1 ช้อนชา
  • น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 1 ถ้วยตวง (สำหรับทำสีของข้าว)
  • น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)   3 ช้อนโต๊ะ (สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
  • งาดำหรืองาขาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย (มิตรผล) 500 กรัม
  • น้ำตาลทรายแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำกะทิกล่อง 1 ช้อนโต๊ะ

 

วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 ไว้(หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นจนเกินไป เพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ทุกๆครึ่งวัน พลิกกลับด้านข้าวด้วย)

วิธีทอดข้าวแต๋น

ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อย ๆ จนเหลืองสวย แล้วนำขึ้นพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

 

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

  • นำน้ำกะทิ, น้ำชาเขียว, น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้น สามารถเช็คความหนืดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ 1 หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ทั้งเคี่ยวและคน ระวังน้ำตาลไหม้ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ จากนั้นเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ
  • พักให้น้ำตาลคลายร้อนสักพัก แล้วนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น

 

2.ข้าวแต๋นมันม่วง

มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

 

เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วง ให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้ แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อนๆ น้ำตาลจะไหม้ได้

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดลองทำข้าวแต๋น

  • การตากข้าวแต๋นไม่แห้ง เนื่องจากช่วงนี้อยู่ในฤดูฝนทำให้การตากข้าวแต๋นไม่แห้ง และไม่มีเครื่องอบ
  • ข้าวแต๋นไม่กรอบเก็บไว้ได้ไม่นาน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋นต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทไม่มีอากาศเข้า

 

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ซึ่งจะจัดขึ้น ณ ศูนย์ข้าวชุมชน บ้านบุลิ้นฟ้า ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

ส่วนประกอบและอัตราส่วน : ข้าวเหนียวหอมมะลิ 1 กก. แป้งข้าวหมาก 2-3 ลูก

วิธีทำ :

  1. นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว
  3. บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้

 

 

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

  • ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า
  • การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนจะนำไปนึ่ง
  • ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากมีรสเปรี้ยวได้
  • น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้ง เมล็ดไม่ติดกัน น้ำต้อยจะออกมาพอดี
  • ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน
  • เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่สะอาด

 

ติดต่อประสานงานกับหัวหน้าสมาชิกกลุ่มชุมชนบ้านบุตาริด ในการเข้าอบรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและให้คำแนะนำสมาชิกเป้าหมายบ้านบุตาริด จำนวน 5 คนดังนี้

  1. นางสาวจุรีวรรณ กองฉลาด
  2. นางอำไพ สุขแสง
  3. นางวงค์วิไล สุขแสง
  4. นางจำรัส พิศเพ็ง
  5. นายสุริยัน ภูเขียว

เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหมากของชุมชนบ้านบุตาริด

ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของบ้านบุตาริด ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ สมาชิกกลุ่มในชุมชนได้มีการทดลองการทำข้าวหมากอย่างต่อเนื่อง รสที่ออกมาจึงมีความหอมหวาน อร่อยคงที่ ได้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในชุมชน และในรูปแบบออนไลน์ ผู้บริโภคเริ่มมีความรู้จักสินค้ามากขึ้น เนื่องจากการจัดการเพจผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ตำบลทะเมนชัย

งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่

  • ติดต่อประสานงานเก็บข้อมูล SROI กับกำนันตำบลทะเมนชัย และปลัดเทศบาลตำบลทะเมนชัย
  • ติดตามผลและประสานงานกับสมาชิกเป้าหมายของบ้านบุตาริด ที่เข้าร่วมกิจกรรม
  • บันทึกภาพและวิดีโอในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ
  • จัดสถานที่ที่ใช้ในการทำกิจกรรมพัฒนา

รูปภาพประกอบ

วิดิโอประกอบ

อื่นๆ

เมนู