โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์
ข้าวหมากและข้าวแต๋น
ประจำเดือนพฤศจิกายน
นายอนุชา ตาดวง
ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00-15:00 น. ณ หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัยและ ตำบลแสลงพันได้ร่วมกับคณะอาจารย์ เข้ารับฟังอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ได้บรรยายถึงการตลาดออนไลน์ เพราะในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อนำเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพจ Facebookวิทยากรบรรยายจบก็ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนแบ่งกลุ่ม เพื่อสร้าง เพจ Facebook ขึ้นมาเพื่อใช้ในการหาตลาดในโลกออนไลน์และร่วมกันออกแบบโลโก้และคอนเทนต์โดยใช้โปรแกรมcanva ขั้นตอนนี้ได้ทำไปพร้อมกับวิทยากร และได้จัดกิจกรรมประกวดเพจ Facebook มี 3 รางวัล และในช่วงบ่ายวิทยากรได้สอบการยิงแอดการโฆษณาเพิ่มในการเข้าถึงได้มากขึ้น หลังจากบรรยายเสร็จ ท่านคณบดีโดยรองศาสตราจารย์ อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้กล่าวขอบคุณวิทยากรจากนั้นได้บันทึกภาพร่วมกับวิทยากรและทีมผู้ปฏิบัติงานก่อนเสร็จพิธี
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม ได้นำไปปฏิบัติได้จริงโดยนำไปต่อยอดให้กลุ่มสมาชิกได้ทดลองทำโดยการสร้างเพจ Facebook เพื่อใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในกลุ่มได้และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้มีคนรู้จักได้มากขึ้น เป็นผลดีต่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เพิ่มสูงขึ้น
ข้าพเจ้าร่วมกับทีมพัฒนาได้เขียนเนื้อหา content ผลิตภัณฑ์ให้ดูน่าสนใจ ข้าพเจ้าได้หาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ จากยูทูป เพื่อหาแนวทางและได้นำมาปรับปรุงดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจ คอนเทนต์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใครบ้าง โดยอ้างชื่อเรื่องให้เป็นที่น่าสนใจ น่าติดตาม ต้องมีรูปภาพประกอบ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารในผลิตภัณฑ์ของเราให้มากที่สุด จึงสำคัญต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องด้วย
การติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้นัดรวมตัวกัน ณ บริเวณด้านหลังสถานีรถไฟทะเมนชัย เพื่อมอบหมายแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน จากนั้นได้เดินทางไปบ้านหนองตาดหมู่3และบ้านบุลิ้นฟ้าหมู่13ร่วมกับอาจารย์ ดร. สุธีกิตติ์ ฝอดสูงเนิน และทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน ได้เข้าไปพูดคุย สอบถาม ให้คำแนะนำ พบว่าทางกลุ่มนั้นมีความสามารถในการจำหน่ายสินค้าได้ มีออเดอร์สั่งจากลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดเข้ามาอยู่เสมอ ข้าพเจ้าได้ให้คำแนะนำในเรื่องการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแบบกระปุกมีฝาปิดที่มิดชิด เพิ่อป้องกันไม่ให้ข้าวหมากไหลออกมา
ได้มอบเงินสนับสุนให้กับกลุ่มทำข้าวหมากบ้านหนองตาดหมู่3และบ้านบุลิ้นฟ้าหมู่13 เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจอีกด้วย
การติดตามและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09:00-12:00 น. ข้าพเจ้าได้เดินทางไปทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านใหม่อัมพวัน, บ้านหนองน้ำขุ่น และบ้านน้อยพัฒนา เพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมทำข้าวแต๋นร่วมกับชุมชนได้เข้าสอบถามและร่วมแก้ไขปัญหา การทำข้าวแต๋น โดยพบปัญหาที่เกิดขึ้นทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ข้าวแต๋นไม่กรอบ เวลาทอดมีกลิ่นน้ำมัน ข้าพเจ้าได้ให้คำแนะนำในการทอดให้ใส่ใบเตยลงในน้ำมันก่อนทอดข้าวแต๋น ปรากฏว่าหลังจากที่ใส่ใบเตยก่อนทอด ไม่มีกลิ่นน้ำมันและกรอบฟู เป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง และได้มอบเงินสนับสุนนให้กับกลุ่มทำข้าวแต๋น
การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา Plan Point กรอกข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำตามกราฟิก
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูล BCG ของบ้านหนองบัวหมู่ 9 สามารถเก็บข้อมูลได้ดังนี้
- วัด วัดบ้านหนองบัว
- โรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัว
- สัตว์ท้องถิ่นคือ วัวและควาย
- ร้านอาหารท้องถิ่นคือ ร้านค้าทั่วไป
- พืชท้องถิ่นคือ ข้าว
- เกษตรกรในท้องถิ่น มีจำนวน 83 คน
- การจำทำ Plan Point เพื่อให้รู้ถึงจุดเด่นหรือปัญหาในตำบลทะเมนชัยโดยมีการเลือก 3 หัวข้อเพื่อวิเคราะห์ ได้แก่
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลทะเมนชัย มีภูมิปัญญาท้องถิ่น หลากหลายหมู่บ้าน เช่น ข้าวหมากของ บ้านหนองหญ้าปล้อง, ทอผ้าไหม บ้านทะเมนชัย, ข้าวหมาก บ้านหนองตาด, การแปรรูปผ้าขาวม้า บ้านน้อยพัฒนา
- พืชในท้องถิ่น ตำบลทะเมนชัยนั้นมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลายสถานที่ ได้แก่ สวนโกโก้ บ้านน้อยพัฒนา, ต้นกก บ้านบุลิ้นฟ้า, สวนสมุนไพรบ้านหนองหญ้าปล้อง, ข้าวอินทรีย์ บ้านบุลิ้นฟ้า, สวนเกษตรอินทรีย์พอเพียง บ้านหนองหญ้าปล้อง
- สถานที่สำคัญในท้องถิ่นตำบลทะเมนชัย มีสถานที่สำคัญได้แก่ วัดหนองหญ้าปล้อง (วัดป่าทะเมนชัย). สระนกเขา บ้านบุลิ้นฟ้า, โนนขี้เหล็ก บ้านบุลิ้นฟ้า, ศาลเจ้าพ่อหินตั้งตลาดทะเมนชัย, วัดด่านทองประชาสามัคคี บ้านหนองตาด
ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของ ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล แต่ยังคงขาดการพัฒนาด้านศักยภาพนักเล่าเรื่องชุมชนให้มีเข้าใจเข้าถึงบริบทของชุมชน ความชัดเจนแท้จริง ควรจัดการท่องเที่ยวให้มีหลายๆรูปแบบ สอดคล้องกับฤดูกาลเทศกาลงานประเพณี เพื่อให้เกิดความหน้าสนใจ อยากเที่ยว อยากซื้อ อยากชิม อยากรู้ อยากเห็นให้มากกว่านี้
- กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ต้องนำผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของแต่ละชุมชน นำมาเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ เช่น ของฝาก กิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว กิจกรรมการอนุรักษ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์แบบใหม่ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
- ควรบูรณการผลิตภัณฑ์ใช้ภูมิปัญญาการจัดการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่จริงจังและเข้มแข็ง ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสมในการเรียนรู้ และนันทนาการ
- ขาดความพร้อมของระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ (รถโดยสาร)
- ความเพิ่มศักยภาพด้านความพร้อมของกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ได้รับมาตราฐาน 3H4 เพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบปลอดภัย
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08:00-12:00 น. ณ วัดด่านทองสามัคคีได้มีการจัดกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวร่วมกับประชาชนในพื้นที่ คณะอาจารย์และทีมผู้ปฏิบัติงาน เวลา 09:00 น. ท่านคณบดี ท่านรองศาสตราจารย์อัครพล เนื้อไม้หอม ได้กล่าวเปิดงานพร้อมกับกล่าวคำชี้แจงให้กับผู้ปฏิบัติงานและขอบคุณประชาชนที่เข้ามาร่วมงานในครั้งนี้ และได้ลงเกี่ยวข้าวพร้อมกัน บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทุกคนต่างมีความสุข และเสียงหัวเราะ พร้อมกับร้องเพลงสนุกสนาน ข้าวที่เกี่ยวนั้นเป็นข้าวอินทรีย์ ต.ทะเมนชัย ที่เพาะปลูกภายในวัดด่านทองสามัคคีนั้นเป็นข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษที่ใช้บริโภคกันและเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋นของต. ทะเมนชัย