การติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น และพัฒนาตลาดออนไลน์
ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
หลักสูตร: ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ได้ดำเนินการปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้าพเจ้านางสาวจุรีพร โสมณวัฒน์ ประเภทประชาชน หลักสูตรHS-08 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำโครงการตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ตำบลทะเมนชัยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรมีชื่อเสียงในเรื่องของข้าวอินทรีย์ซึ่งเป็นนาแปลงใหญ่แต่ละปีสามารถผลิตข้าวได้เป็นจำนวนมากดังนั้นข้าวจึงถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและยกระดับชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นจึงได้นำมาส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานและรักษาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานพร้อมพัฒนาสู่ตลาดออนไลน์เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าร่วมกับทีมผู้ปฎิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากที่บ้านบุลิ้นฟ้าตำบลทะเมนชัยเพื่อรับทราบปัญหาและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาให้กับสมาชิกชุมชนจำนวน 6 ชุมชนดังนี้ ชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง ชุมชนบ้านบริหารชนบท ชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า ชุมชนบ้านบุแปบ ชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย ชุมชนบ้านหนองตาด จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมได้มีการลงเบียนกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และตรวจวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งระเบียบไว้ เข้าสู่ช่วงทำกิจกรรม อาจารย์ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และอาจารย์ดร.มนูญ สอนโพนงาม ได้กล่าวเปิดกิจกรรมและพูดคุยถึงเรื่องปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการทำข้าวหมาก เรื่องวัตถุดิบ การตลาด และบรรจุภัณฑ์ จากนั้นจึงได้แบ่งกลุ่มชาวบ้านออกเป็นทั้งหมด 5 กลุ่ม รวมถึงทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมพูดคุยและสอบถามถึงปัญหาดังกล่าว เป็นเวลา 30 นาที เพื่อสรุปปัญหาร่วมกันและช่วยกันดำเนินการแก้ไขพบปัญหาดังนี้
1.แป้งข้าวหมากไม่มีคุณภาพขึ้นราเป็นจุดดำ
2.น้ำที่ต้องใช้แช่ละล้างข้าวเหนียวที่จะทำข้าวหมากต้องใช้น้ำฝนถึงจะได้รสชาติกลมกล่อมและกลิ่นหอมน่ารับประทาน พอหมดฤดูฝนน้ำฝนจะขาดแคลนแนะนำให้รองใส่ภาชนะเช่นโอ่ง และให้ทดลองใช้น้ำดื่มที่มีขายตามท้องตลาดแทน
3.ขาดแคลนใบตองสำหรับห่อข้าวหมากในฤดูหนาวลมแรงทำให้ใบตองขาด แนะนำให้ใช้กระปุกพลาสติกและถุงจีบเพราะสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสะดวกในการจัดส่ง
4.การขนส่งออนไลน์ยังมีปัญหาการซึมของน้ำข้าวหมากต้องส่งเองแนะนำให้ใช้กระปุกพลาสติกรึถุงจีบแทนใบตองเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสะดวกในการจัดส่ง
5.การใช้ข้าวเหนียวดำทำ ข้าวหมากจะแข็งแนะนำให้ผสมข้าวเหนียวขาวในปริมาณที่เท่ากันจะทำให้ข้าวหมากนุ่มและมีสีสวย
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทางคณะอาจารย์ ชาวบ้าน และทีมผู้ปฏิบัติงานได้บันทึกภาพร่วมกัน และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัยและตำบลแสลงพัน ร่วมกับคณะอาจารย์ได้เข้าร่วมรับฟังการฝึกอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ ที่มหาวิทยาลัยราชฏัชบุรีรัมย์ อาคาร25ชั้น2 คณะมนุษย์ศาสตร์โดยมีท่านคณบดีรองศาสตรจารย์ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอมเป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมโดยมีอาจารย์ ปัณญทัต สระอุบล เป็นวิทยากร ได้บรรยายถึงการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบันเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อสามารถนำเข้าสู่ตลาดออนไลน์โดยการสร้างเพจเฟสบุ๊คเพื่อให้กลุ่มประชากรเข้าถึงผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน หลังจากที่ท่านวิทยากรได้บรรยายเสร็จก็ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่ง 9 กลุ่มเพื่อสร้างเพจเฟสบุ๊คขึ้นมาโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์จากโปรแกรม canva ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้ได้เรียนรู้วิธีการทำไปพร้อมๆ กับวิทยากรพร้อมการเขียนคอนเทนต์ ให้ลูกค้าสนใจ คอนเทนต์เป็นสิ่งสำคัญมาก สิ่งแรกเลยคือเราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใครบ้าง ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ภาพประกอบเนื้อหาต้องดึงดูด คอนเทนต์จึงเป็นหนึ่งในแผนการทำตลาดออนไลน์ หากคอนเทนต์ของเรามีประโยชน์ทำคนสนใจ สามารถสร้างโอกาศในการขายและกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น สรุปสั้นๆ คอนเทนต์ คือ สิ่งที่เราต้องการสื่อสารกับลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการส่งมอบประสบการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ด้วยการเขียนบทความ วิดีโอ รูปภาพ ไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพื่อเป็นการให้กำลังผู้ปฎิบัติงานได้มีการจัดกิจกรรมประกวดเพจเฟสบุ๊คโดยมี 3 รางวัล เข้าสู่ช่วงบ่ายท่านวิทยากรก็ได้สอนเรื่องการยิงแอดโฆษณาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีประโยชน์มากและสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ หลังจากท่านวิทยากรบรรยายเสร็จท่านคณบดีรองศาสตรจารย์ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้กล่าวปิดพิธีการบรรยายและได้กล่าวขอบคุณท่านวิทยากร มอบของขวัญเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจที่ได้สละเวลามาบรรยายในครั้งนี้ และบันทึกภาพร่วมกัน
วันที่ 3 พ.ย. 2564ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้นัดรวมกลุ่มกันที่สถานีรถไฟทะเมนชัย เพื่อมอบหมายและแบ่งหน้าที่กันก่อนที่จะเดินทางไปที่ศาลากลางบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 โดยอาจารย์ดร.สุธีกิตธิ์ ฝอดสูงเนิน และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน ร่วมกันเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบไว้ให้กับชาวบ้าน สอบถามพูดคุยถึงเรื่องการทำข้าวหมาก และอาจารย์ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับชุมชนเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภํณฑ์ และได้ตรวจติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้องพบว่าผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนและมีแนวทางที่จะขยายตลาดให้กว้างขึ้นโดยใช้ช่องทางออนไลน์ ในปัจจุบันมีผู้ซื้อขายออนไลน์จำนวนมาก ทำให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นและสามารถลดต้นทุนในการผลิตและได้แนะนำให้ทำข้าวหมากหลายหลากสีมี ใบเตย อัญชัน และข้าวเหนียวดำทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยและพัฒนาสู่ตลาดออนไลน์ได้แนะนำให้ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นกระป๋องพลาสติกเพื่อง่ายในการจัดส่งและสวยงามเป็นของฝากได้ ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติงานได้สอนให้สมาชิกในกลุ่มโพลต์ขายในเฟสส่วนตัวและเข้าร่วมเพจต่างๆในอำเภอลำปลายมาศและของตำบลทะเมนชัยได้ผลตอบรับดีมากมีออเดอร์เพิ่มขึ้นและเป็นที่รู้จักทั่วไปมีการสั่งซื้อเป็นของฝากและทำโรงทาน
ต่อมาได้เดินทางไปบ้านบริหารชนบท ม.6 ร่วมกับผู้ปฎิบัติงานท่านอื่น พร้อมกับอาจารย์ ติดตามการทำข้าวหมาก พร้อมแนะนำการทำข้าวหมากหลากสีโดยใช้ข้าวเหนียวดำ ใบเตย และดอกอัญชัน และการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และได้ร่วมกันทำข้าวหมากไปกับชาวบ้าน พร้อมมอบเงินสนุบสนุนให้กับชุมชนเพื่อเป็นกำลังใจและนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์
วันที่ 6 พ.ย. 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต่น บ้านน้อยพัฒนา บ้านหนองน้ำขุ่นและบ้านใหม่อัมพวันใต้ และได้ร่วมกิจกรรมการทำข้าวแต๋นกับชุมชน สอบถามและพูดคุยถึงปัญหากระบวนการทำข้าวแต๋น เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป โดยภาพรวมแล้วข้าวแต๋นรสชาติอร่อย แต่มีบางบ้านที่ทำแล้วตอนทอดทำให้ข้าวไม่พองและกรอบจึงทำให้ทานยาก และทุกบ้านได้รับเงินสนุบสนุนเพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้แนะนำการทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามและเพิ่มรสชาติและสีสันให้หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าแนะนำให้ใช้ใบเตย อัญชัน กระเจี้ยบ และได้แนะนำให้สมาชิกในกลุ่มลงขายในเฟสส่วนตัว ให้เข้าร่วมเพจต่างในอำเภอลำปลายมาศและตำบลทะเมนชัยซึ่งมีผลตอบรับดีมากทำให้ชุมชนมีรายได้
การบันทึกข้อมูล CBD รายตำบล จากที่ได้ประชุมที่มหาวิทยาลัยราชฎัชบุรีรัมย์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 เพื่อแบ่งข้อมูลของแต่ละตำบลเพื่อนำไปคีย์ลงในระบบ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบข้อมูลบ้านหนองหญ้าปล้องจำนวน 35 ข้อมูล มีการคีย์ข้อมูลเกษตรกรเพิ่มเติม
วันที่ 14พ.ย.2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานลงพื้นที่ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวกับชุมชนในพื้นที่นาของวัดด่านทองประชาสามัคคีจำนวน 2 ไร่3งานเพื่อเป็นการสืบสารและรักษาวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและได้ร่วมจัดทำสื่อสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้จุดกำเนิดข้าวอินทรีย์ ข้าวหมากและข้าวแต่นทะเมนชัยให้เป็นที่รู้จักทั่วไป โดยข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวเป็นข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยมีท่านคณบดีรองศาสตรจารย์ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้กล่าวเปิดพิธี ก่อนที่จะลงเกี่ยวข้าวร่วมกับชาวบ้านซึ่งมีชุมชนบ้านหนองตาด บ้านบุแปบ บ้านบุลิ้นฟ้า และคณะอาจารย์พร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ซึ่งการลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ที่มีการช่วยเหลือซึ่่งกันและกัน และช่วยสร้างความสามัคคีกันในชุมชน ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่ได้พบเห็นกิจกรรมแบบนี้ เนื่องจากเกษตรกรสมัยใหม่นิยมใช้รถไถและรถเกี่ยวแทนการใช้แรงงานคน ระหว่างดำเนินกิจกรรมอยู่นั้นก็ได้มีการบันทึกภาพความสนุกสนานของคณะอาจารย์ ชาวบ้านและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกคน พอเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็ได้มารับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งเป็นการสร้างามประทับใจให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก
รูปภาพประกอบ