บทความประจำเดือพฤศจิกายน2564

นางสาวณัฐนิภรณ์ วิราช กลุ่มบัณฑิตจบใหม่

ดิฉันนางสาวณัฐนิภรณ์ วิราช ผู้ปฏิบัติงานประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการเข้าร่วมอบรมกิจกรรมการพัฒนาตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน (ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการ U2T)  ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มี คุณปัณณทัต สระอุบล เป็นวิทยากรผู้บรรยายถ่ายทอดองค์ความรู้ ท่านวิทยากรได้บรรยายเรื่องความสำคัญของการตลาดออนไลน์ การเขียน Content Marketing การทำการตลาดออนไลน์ ผ่านเพจ เฟสบุ๊ค โดยใช้ Content การสร้างเนื้อหาContent ที่น่าสนใจเพื่อดึงจุดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์
มีการอธิบายถึงการเชื่อมโยงสัมมาชีพสู่การตลาด ความสำคัญของการตลาดประกอบด้วย
1.มีสินค้าและบริการใหม่เกิดขึ้น
2.มีอัตราจ้างงานเพิ่มขึ้น
3.ประชาชนมีตัวเลือก
4.เศรษฐกิจดีขึ้น
5.สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประชาชน
และมีการสอนในการยิงแอด Facebook การเข้าถึงลูกค้าว่าทำอย่างไร ลูกค้าถึงจะเห็นสินค้าเรา
การสอนให้เปิดเพจ Facebook สอนหารทำหน้าปก ทำรูปโลโก้ ทำอย่างไรให้เป็นแรงดึงดูดสินค้า การทำคิวอาร์โค้ดที่สามารถสแกนซื้อสินค้าได้โดยตรง รวมถึงการคิด Content ที่สร้างสรรค์ก็จะทำให้ลูกค้าสนใจ และได้มีการประกวดเพจสวยงาม โดยมีรางวัลมอบให้ 4 รางวัล
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ณ บ้านหนองตาด บ้านบุลิ้นฟ้า และบ้านบุแปบ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยได้มีการให้คำแนะนำเรื่องการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น และได้ช่วยในการแพ็คสินค้าให้สวยงามที่และน่าสนใจ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ณ บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านน้อยพัฒนา และบ้านใหม่อัมพวัน  มีการแนะนำการขายตลาด สู่ออนไลน์ ตลาดในชุมชน นอกชุมชนและในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติม การพัฒนาสีสันและรสชาติที่แปลกใหม่ โดยนำสีของวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับใช้ เพื่อต้องการอยากให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต
ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญรายตำบลเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อจัดทำPower Point นำเสนอข้อมูลใน3หัวข้อ ดังนี้
  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวหมากบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ข้าวหมากบ้านหนองตาด ม.3 เครื่องจักสานบ้านหนองตาด ม.3 การทอผ้าไหม บ้านทะเมนชัย ม.1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าข้าวม้า บ้านน้อยพัฒนา ม.16 และการทอเสื่อกกและถักเปล บ้านทะเมนชัยสอง ม.14
  2. สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ทะเมนชัย ตั้งอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง ตั้งอยู่ที่ชุมชนตลาดทะเมนชัย ม.2 โนนขี้เหล็ก ตั้งอยู่ที่ บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 และวัดด่านทองประชาสามัคคี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองตาด ม.3
  3. พืชในท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ บ้านหนองตาด ม.3 และบ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 สวนสมุนไพรและสวนเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ฟาร์มเห็ด บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 และบ้านบุแปบ ม.7 ต้นโกโก้ บ้านน้อยพัฒนา ม.16
เมื่อวันที่14พ.ย.64 ดิฉัน ทีมผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ณ พื้นที่นาของวัดด่านทองประชาสามัคคี บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีท่านคณบดี รองคณบดีและหัวหน้าโครงการ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม และมีตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ บ้านหนองตาด ม.3 บ้านบุแปบ ม.7 และบ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 ภายในกิจกรรมได้มีการร่วมไม้ร่วมมือกันเกี่ยวข้าว ทำให้ได้เห็นถึงความมีน้ำใจ ความรักความสามัคคี ความเข้มแข็งของคนในชุมชน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ : ดิฉันมีความเห็นว่า อยากให้โครงการมีการพัฒนาอาชีพและทักษะอื่นๆ เพื่อขยายโอกาสและตอบสนองต่อความสามารถของแต่ละบุคคลในชุมชน ให้สามารถได้มีความรู้พื้นฐานของทักษะต่างๆเพื่อนำไปต่อยอดและพึ่งพาตนเองได้ รวมไปถึงการจัดอบรมทักษะด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงินและด้านดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนนำไปต่อยอดและพัฒนาศักยภาพของตนเองในอนาคต

 

อื่นๆ

เมนู