ในวันที่31ตุลาคม2564ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ ร่วมอบรมโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ในการออกแบบโลโก้ของแบรนด์ข้าวแต๋นและข้าวหมากในกลุ่มงานที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับผิดชอบ โดยได้มีการสร้างเพจในเฟสบุ๊คและจัดทำโลโก้และหน้าปกให้เป็นจุดเด่นเพื่อให้เป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจต่อชุมชนออนไลน์ ตลาดออนไลน์เป็นการประชาสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่มีผลลัพธ์ที่ดี สะดวก และรวดเร็ว เนื่องด้วยยุคนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมาก ตลาดออนไลน์จึงเป็นแหล่งที่สำคัญของผู้คน เราสามารถประชาสัมพันธ์ได้โดยที่ใช้เวลาน้อย ประหยัด และสะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้จากการอบรมในครั้งนี้

และได้มีการเขียนเนื้อหาcontent ผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจเป็นที่ดึงดูด ผู้อ่านอ่านแล้วได้ใจความ อ่านแล้วเกิดความอยากจะซื้อ ใส่ข้อความให้โดดเด่น โดยคิดจากตัวผลิตภัณฑ์ว่ามีลักษณะเด่นอย่างไร

การติดตามผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น) ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ณ บ้านบุลิ้นฟ้า ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ณ บ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้มีทีมผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านได้ร่วมกันอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นให้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาในการทำผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน ทั้งตัวแป้งของข้าวหมาก บรรจุภัณฑ์ และตลาดรองรับ ชาวบ้านยังพบปัญหาเหล่านี้อยู่เนื่องจากยังขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตอยู่มาก จึงได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาในเบื่องต้น และข้าวแต๋นก็ยังมีปัญหาเบื้องต้นอยู่เช่นกัน

ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลรายชื่อเกษตรกรของบ้านหนองม่วงลงในแบบบันทึกข้อมูลCDBจำนวน36ราย ให้แล้วเสร็จภายในวันที่12 พฤศจิกายน 2564 โดยมีการบันทึกข้อมูลการเกษตรของแต่ละท่านว่ามีที่นากี่ไร่ ใช้แรงงานจำนวนเท่าไหร่ ได้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหน รายได้เป็นอย่างไร มีการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงหรือไม่ โดยแต่ละท่านก็จะมีรายได้แตกต่างกันไป

ในวันที่14 พฤศจิกายน 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการเข้าร่วมกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ณ พื้นที่ตรงนี้ คณะกรรมการโครงการ U2T ได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริม BCG (Bio-Circular-Green Economy) คือ “หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม” ผลจากการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจมากเพราะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ก่อเกิดรายได้ให้กับชาวบ้านคือข้าวหมากและข้าวแต๋น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากข้าวอินทรีย์ที่ปลูกในพื้นที่ของชุมชนเอง

อื่นๆ

เมนู