โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

                                                                                                                               ข้าพเจ้า นายพิษณุ อุทธาพงษ์

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-15.00 ณ หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม กล่าวเปิดพิธี และมีท่านวิทยากรชื่ออาจารย์ปัณณทัต สระอูบล เป็นผู้บรรยาย เรื่องการทำตลาดออนไลน์ การสร้างคอนเทนต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบโลโก้  การสร้างเพจสร้างเฟสบุ๊ค  การสร้างสื่อโฆษณาตลาดออนไลน์ เพื่อนำเสนอสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีความน่าสนใจและน่าเชื่อถือ เริ่มตั้งแต่หน้าปกเพจ โลโก้โปรไฟล์เพจ จนไปถึงการโพสต์นำเสนอสินค้าโดยการเขียนคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจและน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมด้วยช้วยกันคิดวิเคราะห์ในการออกแบบสินค้าโลโก้และการออกแบบหน้าปกเพจ ข้าพเจ้าได้ร่วมมือในการคิดออกแบบโลโก้และออกแบบหน้าเพจ และหลังจากเสร็จการบรรยายได้มีการบันทึกภาพร่วมกัน การอบรมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมายในการทำตลาดออนไลน์ อีกทั้งยังนำไปทำเป็นอาชีพเสริมได้ในการตลาดออนไลน์ และยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอนต่อในชุมชนได้อีกด้วย

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การสร้างคอนเทนต์ ให้มีความน่าสนใจน่าบริโภค ดึงดูดสายตาผู้คนให้น่าสนใจ โดยที่มีเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ในการที่จะทำอะไร หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ การถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เพื่อโปรโมท ถ่ายภาพออกมาให้ดูเป็นธรรมชาติ สะอาดตา การใช้คำที่เขียนในการสร้างคำเชิญชวนในโลโก้ ก็ใช้คำสั้นๆแต่ได้ใจความ อ่านเข้าใจง่าย  กระชับ และชัดเจนหากลุ่มเป้าหมายก่อนว่าสินค้าเราเหมาะกับคนกลุ่มใด การทำคอนเทนต์ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะเพิ่มยอดขาย เพิ่มยอดผู้เข้าชม จนทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้

รูปภาพประกอบ

วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 การติดตามผลการทำข้าวหมาก ข้าพเจ้าได้ติดตามและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากที่บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 และบ้านบริหารชนบท ม.6 ข้าพเจ้าได้มีการให้คำแนะนำชาวบ้านในการออกแบบทำข้าวหมากหลากหลายสี โดยใช้สีจากธรรมชาติ  ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจน่ารับประทาน รวมไปถึงการรักษาความสะอาด สวมถุงมือในการทำทุกครั้ง ใส่หมวกคลุมผมทุกครั้ง ชาวบ้านหรือสมาชิกในกลุ่มแต่ละชุมชน ได้ให้ความร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอย่างสม่ำเสมอ มีการขายหรือจำหน่ายทั้งในชุมชนและนอกชุมชนรวมไปถึงการขายแบบออนไลน์ รสชาติของข้าวหมากมีความหวาน หอม อร่อยเหมือนเดิม  อาจารย์ ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับชุมชนเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์

รูปภาพประกอบ

วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 การติดตามผลการทำข้าวแต๋น  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านใหม่อัมพวัน และบ้านน้อยพัฒนา ข้าพเจ้าได้แนะนำให้กับชาวบ้านที่ทำข้าวแต๋นในการทำข้าวแต๋นนั้น ต้องมีความสะอาดอย่างมาก จึงได้แนะนำให้สวมหมวกคลุมผมทุกครั้งที่ทำ สวมถุงมือทุกครั้งตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพื่อความสะอาดของผู้บริโภค ข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปบางสวน ได้ชิมข้าวแต๋นและได้ให้คำติชมแนะนำไปปรับปรุงเล็กน้อย

รูปภาพประกอบ

การบันทึกข้อมูลเกษตรกรในระบบ CBD ของชุมชนบ้านตลาดทะเมนชัย จำนวน 13 คน โดยการที่ลงระบบเพิ่มเติม  รวบร่วมข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำมาเป็นข้อมูลสังแคราะห์พร้อมทั้งยังลงพื้นที่เก็บข้อมูลเก็บภาพบรรยากาศทุ่งนาของชาวบ้านที่เราไปสำรวจข้อมูลนำข้อมูลมาลงในระบบ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามที่องค์กรได้มีการแจ้รายละเอียดไว้ในการปฏิบัติตามให้สำเร็จตามเป้าหมาย นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลเกษตรกรแล้วยัง เก็บรวบร่วมข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำไร่ มัน ปลูกพืชสมุรไพร สัตว์เลี้ยงในชุมชน ในโรงเรียน ละวัด

รูปภาพประกอบ

ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08:00 น. ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี ทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และชาวบ้านจากบ้านหนองตาด บ้านบุลิ้นฟ้า และบ้านบุแปบ ได้มาร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าว และได้รับเกียรติจากท่านคณบดี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม และท่านรองคณบดี ผศ.ดร.คำภีรภาพ  อินทะนู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาร่วมเป็นประธานเปิดงานและลงแขกเกี่ยวข้าวร่วมกัน

เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ตำบลทะเมนชัยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือ การแปรรูปจากข้าวอินทรีย์ จึงต้องการให้เห็นถึงการเก็บเกี่ยววัตถุดิบเพื่อใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ จึงได้เข้าร่วมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว นั้นเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย ข้าพเจ้าได้ลงเกี่ยวข้าวกับชุมชน จนถึงเวลาพักเที่ยง ได้มีการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันกับสมาชิกทีมทะเมนชัยและชาวบ้าน การเกี่ยวข้าวด้วยมือปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากเนื่องจาก เกษตรกรสมัยใหม่นิยมใช้เครื่องทุ่นแรงมากกว่าการใช้แรงงานคน ดังนั้นจึงควรอนุรักษ์หรือรักษาประเพณีนี้เอาไว้ให้มีการจัดขึ้นในทุกปีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็น และสืบต่อคนรุ่นหลังกันต่อไป

รูปภาพประกอบ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู