รายงานผลการปฏิบัติงานในโครงการ (เดือนพฤศจิกายน)

การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

(HS08)

นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

เมื่อวันที่20ต.ค.64ที่ผ่านมา ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากเพิ่มเติม โดยได้มีการถอดบทเรียนจากหลักสูตรการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ณ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีตัวแทนสมาชิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก เข้าร่วม จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด ม.3 บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 บ้านบริหารชนบท ม.6 บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13  และบ้านหนองม่วงใต้ ม.15 โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบดูแล บ้านหนองตาด ม.3 มีสมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมการถอดบทเรียนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช้าวหมาก จำนวน 6 คน ได้แก่

  1. นางสุคนธ์ ซอยรัมย์
  2. นางสำรวย เชิญรัมย์
  3. นางวิชนี แกล้วกล้า
  4. นางม้วย เภสัชชา
  5. นางลำไย แสนพงษ์
  6. นางพัชรี เภสัชชา

ข้าพเจ้าได้ทำการถอดบทเรียนและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหาจากการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากร่วมกับตัวแทนสมาชิก มีหัวข้อและรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1.ปัญหาด้านวัตถุดิบ

-แป้งข้าวหมากยังไม่ได้คุณภาพ เกิดเชื้อราและหนอนเมื่อมีความชื้น

-เม็ดข้าวยังไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ

-วัตถุดิบที่ใช้ทำสีของผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบางชนิด ค่อนข้างหาได้ยากในท้องถิ่น เนื่องจากบางครั้งไม่ได้อยู่ในช่วงของฤดูกาลที่มีวัตถุดิบ เช่น สีของแก้วมังกรเนื้อแดง สีของดอกอัญชัน เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ : ทางกลุ่มสมาชิกแจ้งว่า อยากมีแป้งข้าวหมากเป็นของตนเอง มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น จะได้มีการจัดจำหน่ายทั้งแป้งข้าวหมากและผลิตภัณฑ์ข้าวหมากด้วย

2.ปัญหาด้านการตลาด

-ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากยังไม่เป็นที่ยอมรับของคนนอกพื้นที่ เนื่องจากคนส่วนใหญ่เชื่อว่า “ข้าวหมาก เป็นผลิตภัณฑ์ของมึนเมาที่ผิดกฎหมาย”

-การประชาสัมพันธ์การตลาดออนไลน์ยังไม่มีความต่อเนื่อง

-ข้าวหมากยังไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่

ข้อเสนอแนะ : อยากให้ทางโครงการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย เช่น “ไอศกรีมข้าวหมากหลากสี” เป็นต้น

3.ปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์

-รูปแบบบรรจุภัณฑ์ยังไม่มีความทันสมัย ฝาปิดไม่แน่นหนาพอ ซึ่งทำให้น้ำข้าวหมากรั่วไหลเลอะบรรจุภัณฑ์

-ยังไม่มีโลโก้ผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน

ข้อเสนอแนะ : อยากให้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ที่สามารถดีงดูดความน่าสนใจ และเพื่อนำเสนอจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชน

ภาพประกอบ :

วันที่31ต.ค.64 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการตลาดออนไลน์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร25ชั้น2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม เป็นประธานเปิดกิจกรรมการอบรมในครั้งนี้ และมีคุณปัณณทัต สระอุบล นักการตลาดออนไลน์ เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดทักษะและองค์ความรู้ ในกิจกรรมการอบรม ในช่วงเช้าจะเป็นการเรียนรู้ทักษะในเชิงทฤษฎี อาทิเช่น เทคนิคต่างๆในการทำตลาดออนไลน์ การจัดทำเพจออนไลน์ เทคนิคในการแต่งรูปภาพ การโพสต์เพื่อดึงดูดความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้า เป็นต้น และในช่วงบ่ายเป็นการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติการ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ร่วมกันทดลองทำเพจออนไลน์ การโพสต์ในเพจออนไลน์เพื่อดึงดูดความน่าสนใจ และข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมผู้ดูแล(Admin)เพจกลางของโครงการU2Tตำบลทะเมนชัย

ข้าพเจ้าได้นำความรู้และทักษะที่ได้จากกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์มาปรับใช้ในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบเพจออนไลน์ของโครงการU2Tตำบลทะเมนชัย ได้แก่ การแต่งรูปภาพให้น่าสนใจ การใช้สีสันที่สวยงามในการปรับแต่งรูปภาพ การเขียนContentเรื่องเล่าและแทรกเกร็ดความรู้ให้น่าสนใจ การโพสต์แนะนำสถานที่สำคัญในตำบลทะเมนชัย โพสต์ประชาสัมพันธ์แนะนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น สถานที่สำคัญ พระธาตุเจดีย์ทะเมนชัย ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง วัดด่านทองประชาสามัคคี และผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ผ้าไหม เครื่องจักสาน รวมไปถึงการแชร์และเขียนContentเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น  ซึ่งทำให้เพจออนไลน์U2Tตำบลทะเมนชัย เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีผู้ติดตามและผู้แชร์เพิ่มมากขึ้นด้วย

ภาพประกอบ :

เมื่อวันที่3พ.ย64ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด ม.3 บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 บ้านบริหารชนบท ม.6 บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13  และบ้านหนองม่วงใต้ ม.15 ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ดูแลและติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ พบว่า ตัวแทนสมาชิกได้มีการพัฒนาสีสันและรสชาติของผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ มาตั้งแต่การเริ่มต้นของโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ได้มีการจัดจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน รวมไปถึงการจัดส่งไปต่างจังหวัด การปรับปรุงพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สะดวกแก่การขนส่ง มีการจดบันทึกยอดขายลงในสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ของกลุ่มสมาชิกอย่างชัดเจน จึงทำให้กลุ่มสมาชิกพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาด ม.3 เป็นชุมชนต้นแบบและจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนต่อไป

ภาพประกอบ :

เมื่อวันที่6พ.ย.64ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองม่วง ม.4 บ้านหนองน้ำขุ่น ม.11 บ้านบุตาริด ม.12 บ้านน้อยพัฒนา ม.16 และบ้านใหม่อัมพวัน ม.17 พบว่า กลุ่มตัวแทนสมาชิกของแต่ละหมู่บ้าน ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมากขึ้น เช่น มีการพัฒนาสีสันและรสชาติ การนำสีของวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับใช้ การปรับปรุงพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งชุมชนที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นอย่างเห็นได้ชัด เช่น บ้านน้อยพัฒนา ม.16 เนื่องจากทางกลุ่มสมาชิกได้มีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ โดยได้ฝึกฝนและทดลองทำ นำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับใช้ เช่น โกโก้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ มีการทดลองตลาด และมีการจัดจำหน่ายทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน

ภาพประกอบ :

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญรายตำบลเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อจัดทำPower Point นำเสนอข้อมูลใน3หัวข้อ ดังนี้

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวหมากบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ข้าวหมากบ้านหนองตาด ม.3 เครื่องจักสานบ้านหนองตาด ม.3 การทอผ้าไหม บ้านทะเมนชัย ม.1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าข้าวม้า บ้านน้อยพัฒนา ม.16 และการทอเสื่อกกและถักเปล บ้านทะเมนชัยสอง ม.14
  2. สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ทะเมนชัย ตั้งอยู่ที่ วัดป่าบ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง ตั้งอยู่ที่ชุมชนตลาดทะเมนชัย ม.2 โนนขี้เหล็ก ตั้งอยู่ที่ บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 และวัดด่านทองประชาสามัคคี ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองตาด ม.3
  3. พืชและสมุนไพรในท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ บ้านหนองตาด ม.3 และบ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 สวนสมุนไพรและสวนเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 ฟาร์มเห็ด บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 และบ้านบุแปบ ม.7 ต้นโกโก้ บ้านน้อยพัฒนา ม.16

โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับทีม และคัดเลือกรูปภาพเพื่อนำมาใส่ลงในงานนำเสนอ รวมไปถึงเป็นผู้คอยตรวจทานและเรียบเรียงเนื้อหา

ภาพประกอบ : 

ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่14พ.ย.64 ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ณ บริเวณพื้นที่นาของวัดด่านทองประชาสามัคคี บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีท่านคณบดี รองคณบดีและหัวหน้าโครงการ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม และมีตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ บ้านหนองตาด ม.3 บ้านบุแปบ ม.7 และบ้านบุลิ้นฟ้า ม.13

“ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว” เป็นประเพณีไทยอีกอย่างหนึ่งของชาวนาไทย ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากในสภาพปัจจุบัน ชาวอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี ดังนั้นในการทำกิจการงานใดๆ ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกันคนละมือละไม้ใช้เวลาไม่นานงานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า “ลงแขก” การลงแขกในภาคอีสาน คือ การบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้นอาจจะเป็นงานส่วนรวมหรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้นส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนักแต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยเหลือเพื่อให้งานเสร็จสิ้นไป  เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวนา

“ลงแขก” เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกันของสังคมคนในอดีต ที่นับวันจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด คนไทยในสมัยนี้รู้จักคำว่า “ลงแขก” ในความหมายที่เป็นการกระทำผิดอาญา แต่สำหรับคนอีสานแล้ว “ลงแขก” มีความหมายถึง น้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว ประเพณีเอามื้อเอาแรงนี้จึงเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สร้างความสมัครสมานสามัคคี ทำให้งานเสร็จอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยการว่าจ้าง

แหล่งที่มา: ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว-กระทรวงวัฒนธรรม(ออนไลน์).(2560). สืบค้นจาก : https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=855&filename=index [16พฤศจิกายน2564]

ภาพประกอบ :

วิดีโอประกอบ : 

 

 

อื่นๆ

เมนู