1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. กิจกรรมอบรมตลาดออนไลน์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ การจัดเก็บข้อมูล BCG การพัฒนา Plan Point และกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมอบรมตลาดออนไลน์การพัฒนาข้าวอินทรีย์ การจัดเก็บข้อมูล BCG การพัฒนา Plan Point และกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวสุนัฐชา สลัยรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้ปฏิบัติงานใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 รับผิดชอบการดำเนินงานในเขตพื้นที่ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมการจัดเก็บข้อมูล BCG ได้รับข้อมูลดังนี้

1) การเก็บรวบรวมข้อมูลตามการแบ่งประเภทของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ

2) การจัดทำรายงานการจัดทำสถานภาพตำบล (Tambon Profile)

3) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

4) การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องใน BCG Dashboard

5) การทำกราฟวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูล BCG/Farmer one

6) แนวคิดและการประยุกต์ใช้ Gap Analysis and Benchmarking

7) ขั้นตอนการทำ Gap Analysis ได้แก่

  1. การประเมินสถานะปัจจุบัน
  2. การระบุสถานะที่ต้องการ
  3. วัดและวิเคราะห์ช่องว่าง
  4. การวางแผนกลยุทธ์หรือโครงการเพื่อลดช่องว่าง

8) Value Chain การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและการจัดทำโครงการที่สำคัญ

จากการเข้าร่วมประชุมได้รับข้อเสนอแนะข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูล BCG ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำการนำข้อเสนอแนะมาประยุกต์ใช้ต่อการเก็บข้อมูลต่อไป

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ (อบรมไอที) ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีคุณปัณณฑัต สระอุบล มาเป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดออนไลน์ (Content Marketing) แนะนำการใช้โปรแกรม Canva ตกแต่งรูปภาพสร้างโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อทำให้ตัวผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจมากขึ้น สอนวิธีสร้างเพจใน Facebook ขายผลิตภัณฑ์ออนไลน์ สอนเทคนิคการทำให้คนเห็นผลิตภัณฑ์มากขึ้นและการสร้างโพสต์เพื่อเชิญชวนทำให้คนหันมาสนใจผลิตภัณฑ์และอยากซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา

รูปภาพแสดงการใช้โปรแกรม Canva สร้างโลโก้โปรไฟล์หน้าร้านในตลาดออนไลน์

รูปแสดงการสร้างเพจในการทำตลาดออนไลน์

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณาเพื่อสนับสนุนชุมชนระยะที่ 2

1) มีการบริการจัดการกองทุนเป็นระบบ ชัดเจน

  1. มีการจัดทำบัญชีกลุ่ม
  2. มีสมาชิกกลุ่มร่วมอย่างจริงจัง ชัดเจน
  3. มีการจัดสรรรายได้/กำไรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอด (งบกลาง)
  4. มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม

2) มีการบริหารจัดการสมาชิก/การบริหารทีม

  1. สมาชิกมีส่วนร่วมตลอดโครงการ
  2. สมาชิ.กมีอุดมการณ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอย่างจริงจัง
  3. สมาชิกให้ความร่วมมือ เสียสละ และเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม

3) มีการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

  1. มีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ (ต่อเนื่อง เป็นประจำ)
  2. มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีการทดลองตลาด
  3. มีการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  4. มีผลิตภัณฑ์ชัดเจนที่สอดคล้องกับเป้าหมายโครงการ

4) มีการบริหารจัดการพฤติกรรมการทำงาน

  1. มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และเห็นแนวทางชัดเจน (สามารถที่จะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้หากได้รับการสนับสนุน)
  2. ให้ความร่วมมือกับโครงการเป็นประจำ และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง (แม้ปิดโครงการแล้ว ก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้)
  3. มีเครือข่ายการทำงาน มีความเคลื่อนไหวการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ถ้าครบทั้ง 4 เกณฑ์นี้จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างจริงจังเพื่อจำหน่าย

 

กิจกรรมการติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปอินทรีย์ (ข้าวหมากและข้าวแต๋น) ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เนื้อหาการประชุมได้ชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาข้าวแต๋น ข้าวหมาก มีการแบ่งกลุ่มการทำงานเพื่อแบ่งตำแหน่งหน้าที่กัน การเตรียมลงพื้นที่ ปัญหาต่างๆ การทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปอินทรีย์ (ข้าวหมาก) ได้ลงพื้นที่ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 สถานที่บ้านหนองตาด บ้านบุลิ้นฟ้า และบ้านบุแปบ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้ลงพื้นที่บ้านหนองตาดเป็นกลุ่มแรก ลงพื้นที่บ้านบุลิ้นฟ้าเป็นกลุ่มที่สอง และลงพื้นที่บ้านบุแปบเป็นบ้านสุดท้าย มีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมทำข้าวหมาก โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหน้าที่ จัดสถานที่ ยกของ บันทึกภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของชุมชนข้าพเจ้าได้ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ซึ่งมีการทดลองการทำข้าวหมากอย่างต่อเนื่องรสชาติที่ออกมาจึงมีความหอมหวานอร่อยคงที่ และมีโลโก้ผลิตภัณฑ์และแพ็คเกจเพิ่มความน่าสนใจต่อการซื้อของลูกค้ามากขึ้น

รูปภาพแสดงกิจกรรมการทำข้าวหมากบ้านหนองตาด

รูปภาพแสดงกิจกรรมการทำข้าวหมากบ้านบุลิ้นฟ้า

รูปภาพแสดงการทำข้าวหมากบ้านบุแปบ

กิจกรรมการติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปอินทรีย์ (ข้าวหมากและข้าวแต๋น) ลงพื้นที่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 สถานที่บ้านน้อยพัฒนา และลงพื้นที่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 บ้านบุดตาริด ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำข้าวแต๋น โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหน้าที่ให้คำแนะนำ รับฟังข้อเสนอแนะปัญหาต่างๆจากชาวบ้าน และบันทึกภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นของชุมชนข้าพเจ้าได้ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น มีการทดลองการทำข้าวแต๋นอย่างต่อเนื่อง รสชาติที่ออกมามีความกรอบ หวาน อร่อย ชาวบ้านกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาสูตรให้มีความหลากหลายมากขึ้น ในส่วนของแพ็คเกจผลิตภัณฑ์ทีมผู้ปฏิบัติงานยังอยู่ในขั้นตอนช่วยกันออกแบบและตั้งชื่อให้กับผลิตภัณฑ์จะพร้อมเปิดตัวชื่อและแพ็คเกจผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการภายในเดือนธันวาคม

รูปภาพแสดงกิจกรรมการทำข้าวแต๋นบ้านน้อยพัฒนา

รูปภาพแสดงกิจกรรมการทำข้าวแต๋นบ้านบุดตาริด

กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล และพัฒนา Plan Point กรอกข้อมูล การวิเคราะห์ และการจัดทำภาพกราฟิก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) การจัดเก็บข้อมูล BCG รายตำบล

BCG คือ (1) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการนำความรู้ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่มากมาเป็นตัวขับเคลื่อน (2) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ ตลอดวัฏจักรชีวิต และการนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงทางอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยลดขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม (3) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายสูงสุด

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลบ้านหนองม่วงน้อย ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 36 ชุด โดยทำการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ของทางมหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น ได้กรอกข้อมูลต่างๆ และถ่ายภาพพื้นที่เกษตร ข้าพเจ้าได้จัดเก็บข้อมูลผ่านลุล่วงไปได้โดยดี

รูปภาพแสดงโปรแกรมการลงข้อมูล BCG และภาพการลงพื้นที่ไร่นา

2) การพัฒนา Plan Point มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล แต่ยังขาดการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องชุมชนที่เข้าใจบริบทชุมชนแท้จริง ขาดการบูรณาการกับทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และควรจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจอยากเที่ยว อยากรู้ อยากร่วม อยากซื้อ ชิม shop ใช้
  2. กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆในพื้นที่ ต้องนำผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนท้องถิ่นมาผนวกเข้ากับกิจกรรมโครงการ เช่น ของฝาก หรือจัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมการอนุรักษ์ กิจกรรมการผลิตอื่น ๆ จากเศษข้าวอินทรีย์ และนำผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ประกอบเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของนักท่องเที่ยว
  3. ขาดความพร้อมของระบบขนส่งสาธารณะ (รถยนต์) ในพื้นที่
  4. ควรบูรณาการผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา กิจกรรมโครงการ และ การจัดการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็ง จริงจัง เช่น ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง และสถานีรถไฟทะเมนชัย ควรมีกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย และปรับภูมิทัศน์ที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้และนันทนาการมากขึ้น
  5. การพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องชุมชนทุกระดับ ทั้งเด็ก เยาวชน สมาชิกในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา และชุมชน เพิ่มแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ แอพลิเคชั่นเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างครอบคลุม
  6. ควรเพิ่มศักยภาพด้านความพร้อมของกิจการต่างๆ ในพื้นที่ที่ได้มาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety & Healthy Administration) เพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบปลอดภัย

 

กิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว ณ วัดด่านทองประชาสามัคคี ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากท่านคณบดี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม และ ท่านรองคณบดี ผศ.ดร.คำภีรภาพ อินทะนู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มาร่วมเป็นประธานเปิดงาน  ทั้งนี้ยังมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวจากชาวบ้าน บ้านหนองตาด บ้านบุลิ้นฟ้า บ้านบุแปบ และวิศวกรไทบ้าน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ U2T เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ซึ่งประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวนั้น เป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย ทำให้เกิดวัฒนธรรมของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เป็นประเพณีที่เจ้าของนาจะบอกกับเพื่อนบ้านให้รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด   ทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีไทยอีกอย่างหนึ่งของชาวนาไทยซึ่งนับวันจะหาดูได้ยากยิ่งขึ้น และในปัจจุบัน การลงแขกในภาคอีสาน คือ การบอกกล่าวขอแรงบรรดาญาติสนิทมิตรสหายให้มาช่วยทำงานนั่นเอง อาศัยแรงจากญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาของตน เสร็จก็เปลี่ยนไปลงแขกนาของคนอื่นๆต่อไปเพื่อเป็นการตอบแทน ซึ่งถือเป็นการแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่ดังนี้ เป็นฝ่ายลงทะเบียน จัดเตรียมอาหาร น้ำ ขนม ให้ผู้ที่ลงแขกเกี่ยวข้าว บันทึกภาพ และได้ลงแขกเกี่ยวข้าว

รูปภาพแสดงกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว

อื่นๆ

เมนู