นางสาวธิดาภรณ์ สาลีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวธิดาภรณ์ สาลีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานใหม่ประเภทบัณฑิต ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

การผลิตข้าวอินทรีย์ในภาคอีสานนับได้ว่าเป็นพื้นที่การผลิตข้าวอินทรีย์ขนาดใหญ่ของประเทศ เนื่องจากภาคอีสานมีศักยภาพในการผลิต อีกทั้งเกษตรกรยังให้ความร่วมมือกับทางหน่วยงานภาครัฐในการผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อยกระดับการผลิตและคุณภาพของข้าวอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่มีแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์ และหนึ่งในพื้นที่ส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ก็คือตำบลทะเมนชัย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 ที่มีทั้งการผลิตและการแปรรูปข้าวอินทรีย์ อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ข้าวหมาก และข้าวแต๋น

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการนัดประชุมออนไลน์ ผ่าน Google Meet เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม เวลา 09.30. ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่เพื่อทำการพัฒนาข้าวหมาก ณ บ้านบุลิ้นฟ้า ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังนี้ บ้านหนองตาด บ้านบุแปป บ้านบุลิ้นฟ้า บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านบริหารชนบท และบ้านหนองม่วงใต้ ภายในกิจกรรมทางอาจารย์ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนปัญหาในการทำข้าวหมาก และให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายการทำข้าวหมากให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งหลังจากทางอาจารย์ได้พูดคุยกับทางชาวบ้านแล้ว กลุ่มสมาชิกทีมทะเมนชัยและชาวบ้านได้ทำการแบ่งกลุ่มเพื่อเขียนปัญหาในการทำข้าวหมาก เช่น

1. ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ

1.1 แป้งในการทำข้าวหมากที่ไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ข้าวหมากที่ได้มีรสสัมผัสที่เปรี้ยว

1.2 น้ำที่ใช้ทำข้าวหมากจะต้องเป็นน้ำฝน เพราะถ้าไม่ใช้น้ำฝนจะทำให้รสชาติเปลี่ยน

1.3 ใบตอง เมื่อเข้าหน้าหนาวมีลมแรงจะทำให้ใบตองขาดง่ายทำให้ยากต่อการห่อข้าวหมาก

  1. ปัญหาทางการตลาด

2.1 การขายต่างจังหวัดยังไม่ได้ยอดขายที่มากพอ

2.2 โลโก้ข้าวหมากยังไม่มีความชัดเจน

2.3 การประชาสัมพันธ์ไม่มีความต่อเนื่อง

  1. ปัญหาทางด้านบรรจุภัณฑ์

3.1 บรรจุภัณฑ์ยังมีฝาปิดที่ไม่แน่นพอซึ่งเสี่ยงต่อการขนส่ง

3.2 ขาดแคลนใบตองในช่วงหน้าหนาว

3.3 การใช้กระปุกทำให้ไม่ได้กลิ่นและรสชาติหอม

     เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ทางข้าพเจ้าทีมสมาชิกตำบลทะเมนชัย และตำบลแสลงพัน ได้ไปอบรมการพัฒนาตลาดออนไลน์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาคาร 25 ตึกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้น 2 ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา ตั้งแต่เวลา 09.00 น.-15.00 น. ซึ่งจะมีท่าน รศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรุณาเป็นประธานเปิดโครงการการพัฒนาตลาดออนไลน์ เมื่อถึงเวลาข้าพเจ้าทำการลงทะเบียนที่หน้าห้องประชุม และมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดมาให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดออนไลน์ ความเข้าใจเกี่ยวกับออนไลน์ ใช้งานออนไลน์อย่างไรให้มีรายได้ และในช่วงบ่ายทางวิทยากรให้จับกลุ่มเพื่อให้ลองทำเพจการตลาดออนไลน์ ซึ่งทางข้าพเจ้าและสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำเพจที่มีชื่อว่า เพจขายข้าวหมากและข้าวแต๋น ทางวิทยาการได้สอนวิธีตกแต่งรูปทำหน้าปกเพจ และรูปโปรไฟล์เพจ จากทางเว็บไซต์และได้สอนวิธีการทำ content ดังนี้ 1. ค้นหา รวบรวม ตรวจสอบประวัติหรือข้อมูลของสินค้าและบริการให้ละเอียดก่อนโพสต์ 2. วางแผนก่อนเริ่มว่าต้องการสื่อสารออกมาแบบไหน 3. รู้จักกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจตัวเอง 4. จัดกระบวนการความคิดให้เป็นลำดับ 5. นำเสนอเรื่อรางราวด้วยอย่างตรงไปตรงมา 6. หาเหตุผลว่าทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าและบริการของคุณ 7. เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยข้อมูลเชิงวิชาการและสถิติหากคุณหยิบข้อมูลเชิงวิชาการและสถิติมาใช้ 8. ใช้รูปภาพหรือวีดีโอประกอบเพิ่มความน่าสนใจ และสอนวิธีการยิงแอดโฆษณา ซึ่งการยิงแอดจะมีแบบ Boost Post เป็นการกดโปรโมตโพสต์จากบนหน้าเพจได้เลย ซึ่งจะไปขึ้นแสดงผลในหน้า New Feed ของกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกไว้ และแบบFacebook Ads เป็นการยิงแอดที่กำหนดค่าได้หลากหลายตามความต้องการ จึงเหมาะสำหรับเพจที่เริ่มต้นทำธุรกิจและยังไม่มีฐานลูกค้า การยิงแอดโฆษณาควรเลือกรูปโฆษณาสำหรับการยิงแอดให้ดี เพราะผลลัพธ์การยิงแอดใน Facebook ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรูปโฆษณาที่พร้อมจะดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้า ดังนั้นหัวใจสำคัญของการทำรูปโฆษณาจึงต้องมีเทคนิคในการเลือกใช้รูป เช่น ใช้รูปที่มีความโดดเด่นแตกต่างจากคนอื่น, ใช้รูปที่สื่อถึงอารมณ์ได้ดี, ใช้รูปที่มีความแปลกใหม่ศึกษากลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าสำหรับการยิงแอดให้ตรงจุด เพราะก่อนที่จะเริ่มทำการยิงแอด ควรจะต้องทำการบ้านก่อน โดยต้องศึกษาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีและต้องเข้าใจว่าลูกค้าของเราเป็นใคร ต้องการอะไร มีความสนใจอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำรูปโฆษณาให้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าอยากเห็นนั่นเอง ไม่ควรแก้ไขการยิงแอดหรือการทำโฆษณาบ่อยเกินไป เหตุผลที่ไม่ควรปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขการทำโฆษณาบ่อยจนเกินไป และควรจะปล่อยให้โฆษณารันเองอย่างน้อย 2 – 3 วันไปก่อน เพราะบางทีกลุ่มลูกค้าตัวจริงของเราอาจจะยังไม่เห็นโฆษณาที่เราทำการยิงแอดไปก็ได้ หากทำการแก้ไขบ่อย ๆ ก็จะยิ่งเป็นการเสียโอกาส และอาจทำให้การยิงแอดไม่ประสบความสำเร็จตามที่เราหวังไว้ และไม่ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายการยิงแอดกว้างเกินไป เพราะจริง ๆ แล้วการยิงแอดแบบเจาะจงความสนใจในวงกว้าง ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ประสิทธิภาพดีแบบที่หลาย ๆ คนคิด เพราะตามระบบของ Facebook ควรจะต้องรวบรวมความสนใจให้เฉพาะเจาะจงอย่างน้อย 3 อย่างขึ้นไป เพื่อที่จะได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนที่สนใจโฆษณาของเราแบบจริงจัง

     

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการนัดประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อคุยเกี่ยวกับการจ่ายค่าวัสดุให้แต่ละชุมชน และการพัฒนาเพจตลาดออนไลน์ ซึ่งจากการประชุมทางสมาชิกทีมทะเมนชัยจะต้องทำการลงพื้นที่ให้การสนับสนุนชุมชน โดยทางสมาชิกทีมทะเมนชัยจะลงพื้นที่ทำการสำรวจว่าชุมชนใดมีการทำผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ เช่น มีการบริหารกองทุนอย่างเป็นระบบ มีบัญชีรายรับ-รายจ่ายของกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมทำผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นจนจบ มีการจัดสรรรายได้-กำไร พฤติกรรมในการทำงานให้ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ให้ความร่วมมือกับทางโครงการ และมีความเคลื่อนไหวในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีการลงพื้นที่ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ณ บ้านหนองตาด  บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านบริหารชนบท บ้านบุแปป บ้านบุลิ้นฟ้า และบ้านหนองม่วงใต้ เป็นการลงพื้นที่เพื่อการพัฒนาข้าวหมาก ซึ่งทางชาวบ้านจะทำผลิตภัณฑ์ข้าวหมากไว้และให้ทางสมาชิกทีมทะเมนชัยคอยแนะนำในเรื่องต่างๆทั้งบรรจุภัณฑ์ และตัวข้าวหมาก ซึ่งทางข้าพเจ้าได้ช่วยติดสติกเกอร์ที่ตัวบรรจุภัณฑ์ข้าวหมาก วันที่ 6 พฤศจิกายน ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ณ บ้านน้อยพัฒนา บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านใหม่อัพวัน บ้านบุตาริด และบ้านหนองม่วง ซึ่งทางข้าพเจ้าได้ทำการทดลองทอดข้าวแต๋นที่บ้านใหม่อัพวัน เนื่องจากข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการสีข้าวแต๋นที่ชาวบ้านทอดมีสีที่อ่อนเกินไป ซึ่งกลายเป็นสีขาวนวลทำให้ไม่น่ารับประทาน เนื่องมาจากทางชาวบ้านเห็นว่าถ้าใช้เวลาในการทอดนานข้าวแต๋นจะไหม้ ทางข้าพเจ้าจึงทำการทดลองทอด ปรากฏว่าสีที่ได้มีสีเหลืองทอง ไม่มีกลิ่นไหม้ และกรอบมากกว่า จึงแนะนำให้ทางชาวบ้าน ทำการทดลองทอดใหม่

       

           วันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 20.00 น. ทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการนัดประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล BCD ให้ครบ 1,000 เรดคอร์ด ซึ่งทางอาจารย์ได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานใหม่เป็นผู้ลงข้อมูล โดยทางประธานสมาชิกทะเมนชัยจะเป็นผู้มอบหมายงานให้กับสมาชิกใหม่ ซึ่งจะต้องทำการลงข้อมูลรายชื่อเกษตรของตำบลทะเมนชัย คนละประมาณ 35-40 ชุด ดังนี้ บ้านหนองบัว บ้านหนองม่วง บ้านหนองม่วงใต้ บ้านน้อยพัฒนา บ้านบุตาริด บ้านหนองบัว และบ้านบุลิ้นฟ้า โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงข้อมูลบ้านน้อยพัฒนา ทำการลงข้อมูลและคีย์ลงระบบเรียบร้อย การทำ Power point เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งส่งทางมหาวิทยาลัยภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน การทำ pain point สถานที่สำคัญต่างๆในตำบลทะเมนชัย จากนั้นวันที่ 9 เวลา 10.00 น. ทางอาจารย์ได้นัดประชุมกับทางสมาชิกทีมทะเมนชัย ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตึก 6 รปศ. ชั้น 1 ห้องประชาธิปไตย ซึ่งทางอาจารย์จะชี้แจงรายละเอียดการทำ pain point ว่าจะต้องเริ่มต้นทำอย่างไร และให้สมาชิกทีมทะเมนชัยช่วยกันคัดเลือกสถานที่สำคัญ เช่น วัดหนองหญ้าปล้อง วัดป่าทะเมนชัยสระนกเขา ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น ข้าวหมากบ้านหนองหญ้าปล้อง ทอผ้าไหม จักสานบ้านหนองตาด และพืชในท้องถิ่น เช่น สวนสมุนไพร สวนเกษตรอินทรีย์พอเพียง ถนอมศิลป์ฟาร์มเห็ด และอีกหลายสถานที่ในตำบลทะเมนชัย ซึ่ง pain point จะเป็นการวิเคราะห์พื้นที่ เช่น กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่นซึ่งต้องนำผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นมาผสานเข้ากับกิจกรรมโครงการ เช่น ของฝาก หรือจัดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าวอินทรีย์ และนำผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ไปประกอบอาหารให้แก่นักท่องเที่ยว

                เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 19.00 น. ทางอาจารย์ได้นัดประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เกี่ยวกับกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งภายในงานจะมีคณบดีเป็นประธานเปิดงานและร่วมเกี่ยวข้าว รองคณบดี ชาวบ้าน และสมาชิกทีมทะเมนชัย ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นที่วัดด่านทอง สมาชิกทีมทะเมนชัยจะต้องไปถึงวัดด่านทองภายในเวลา 08.00 น. และให้เตรียมเคียวเกี่ยวข้าวไป จะมีการลงทะเบียนสำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป การแต่งกายให้สวมเสื้อ u2t ในกิจกรรมเกี่ยวข้าวจะมีการบันทึกภาพ และการถ่ายทำวิดีโอ ทำ content สื่อภาพกิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว เพื่อโปรโมตตำบลทะเมนชัย ซึ่งอาหารกลางวันจะมีก๋วยเตี๋ยว ไอศกรีม ข้าวหมาก ข้าวแต๋นไว้คอยบริการผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน ทางประธานได้ให้สมาชิกทุกคนช่วยกันคิดชื่อผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก และข้าวแต๋น เพื่อติดลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีสมาชิกคิดขึ้นผลิตภัณฑ์ขึ้นมามากมาย เช่น ข้าวหมากดีศรีทะเมนชัย ข้าวหมากอินทรีย์ที่นี่ทะเมนชัย ข้าวหมากอินทรีย์ของดีทะเมนชัย ข้าวแต๋นคำโต ข้าวแต๋นเลิศรส ข้าวแต๋นดินแดนทะเมนชัย ซึ่งจากการคัดเลือกและการโหวต สรุปว่าได้ชื่อผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก คือ ข้าวหมากอินทรีย์ของดีทะเมนชัย และชื่อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น คือ ข้าวแต๋นเลิศรส

  

 

 

 

อื่นๆ

เมนู