1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น และการทำตลาดออนไลน์ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น และการทำตลาดออนไลน์ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม 2564

ข้าพเจ้านางสาวจุรีพร โสมณวัฒน์ ประเภทประชาชน หลักสูตรHS-08 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำโครงการตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ในเดือนธันวาคมนี้ข้าพเจ้าได้ดำเนินงานร่วมกับทีมงานผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำโครงการได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น และการทำตลาดออนไลน์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564ข้าพเจ้าร่วมกับทีมผู้ปฎิบัติงานได้ประชุมออนไลน์ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ตัวแทนนำเสนอในโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงวิทยาการสรุปได้ดังนี้

1)เพิ่มเติมในหัวข้อปัญหาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น

-รสชาติยังไม่มีความหลากหลายโดยให้ทดลองเพิ่มผงปาปิก้าในน้ำราดบนหน้าข้าวแต๋น

-การปั้นข้าวแต๋น กดแน่นเกินไปทำให้ตากไม่แห้งเวลาทอดทำให้ข้าวแต๋นไม่กรอบฟู

-บางชุมชน ไม่มีเวลาร่วมกลุ่มอย่างเต็มที

-บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันยังไม่มาตรฐานทำให้มีความชื้นเข้าไป ส่งผลให้ทำให้ข้าวแต๋นมีความกรอบน้อยลง

-ปัญหาการใช้น้ำมันในการทอดซ้ำทำให้ข้าวแต๋นมีกลิ่นและรสชาติเปลี่ยน

2)นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น คือการแปรรูปจากข้าวอินทรีย์เป็นขนมทานเล่นเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์ เกิดการรวมกลุ่มและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านบุลิ้นฟ้าทำกิจกรรมสังเคราะห์รายงานการดำเนินงานในโครงการU2T มีการแบ่งกลุ่มในการจัดทำรายงานบทสรุปข้อมูล 5 บท เพื่อจัดทำเล่มสรุปรายงานโครงการ U2T  โดยข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานมี นางสาว รัชฎาภรณ์  ทุมประสิทธิ์นางสาวบุญวิภา เมฆา นายเจษฎา บุญไพโรจน์ นายรุจิรงค์ เรืองคง นายวีระชน จันทะนาม ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานบทที่ 2  การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในครั้งนี้ ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย ร่วมกันระดมความคิดวิเคราะห์ศักยภาพของตำบลทะเมนชัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) พบว่าตำบลทะเมนชัย มีจุดแข็ง จุดอ่อน รวมทั้งโอกาสและอุปสรรค ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ดังนี้

จุดแข็ง (Strength)

1) มีกลุ่มทุน (กองทุนหมู่บ้าน) ที่เข้มแข็งเป็นแหล่งทุนให้กับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ในชุมชนได้

2) มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

3) ประชาชนมีความรักและสามัคคีร่วมใจกัน

4) มีวัดประจำหมู่บ้านและเป็นศูนย์กลางของชุมชน

5) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยและมัน เลี้ยงสัตว์

6) ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

7) ภูมิปัญญาชุมชน แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น งานฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ หัตถกรรม จักสาน ทอผ้า

จุดอ่อน (Weakness)

1) เยาวชนคนรุ่นใหม่ยังไม่เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับชุมชนเท่าที่ควร

2) ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม

3) ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง

4) ขาดสถานศึกษาระดับฝึกอาชีพ ขาดแหล่งงานรองรับแรงงานว่างงานนอกฤดูกาล

5) การส่งเสริมการฝึกอาชีพไม่ต่อเนื่อง

6) ขาดความรู้ในด้านทำการตลาดออนไลน์ (marketing online)

โอกาส (Opportunity)

1) นโยบายรัฐให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

2) โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ของรัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง

3) สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน

4) สร้างชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

5) มีแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ และป่าของชุมชน

6) มีโครงการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจรายตำบล (U2T) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้ชุมชนสร้างอาชีพมีรายได้เสริม

7) มีแหล่งขายสินค้าทางการเกษตรอยู่ในพื้นที่

อุปสรรค (Threat)

1) ภาคีการพัฒนาที่เข้าไปในพื้นที่หมู่บ้าน ขาดการเชื่อมประสานหรือบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน

2) การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง

3) ราคาพืชผลและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ

4) มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ดินเค็ม น้ำท่วม ภัยแล้ง ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ

5) ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย ภัยแล้ง อากาศร้อน ทำให้ผลผลิตได้น้อย

6) เกิดโรคระบาด (COVID-19)

7) ประชาชนมีพื้นฐานความรู้และพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน

8) ชาวบ้านในชุมชนยังขาดความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ปัญหาและความต้องการพัฒนาของชุมชน

สภาพปัญหาในตำบลทะเมนชัย

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ระบบประปาหมู่บ้าน/ ประปาหมู่บ้านไม่ทั่วถึง การติดต่อสื่อสารไม่สะดวกไฟฟ้าสาธารณะ/ ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ น้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง ถนนในชุมชนบางแห่งยังมีการชำรุด ขาดการพัฒนา
  2. ด้านเศรษฐกิจ คือ ปุ๋ยราคาแพง มีหนี้สินมาก ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูง ผลผลิตการเกษตรราคาตกต่ำ ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูง
  3. ด้านสังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมคือ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ความร่วมมือของประชาชนลดลง ไม่มีการสืบสานประเพณีท้องถิ่น/พื้นบ้าน การแพร่ระบาดของการพนัน การมั่วสุมของวัยรุนทั้งในและนอกพื้นที่
  4. ด้านสาธารณสุข คือ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาส คนพิการ ได้รับการจัดสวัสดิการไม่ทั่วถึง การระบาดของโรคไข้เลือดออก/ ไข้หวัด และโควิด 19 ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างถูกต้อง
  5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การกำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะสภาพภูมิทัศน์ในหมู่บ้านไม่สวยงาม
  6. ด้านการเรียนรู้ คือ ขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ไม่มีความรู้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธี
  7. ด้านการใช้พลังงาน คือ ขาดความรู้การประหยัดพลังงานที่ถูกวิธี

ความต้องการ/ แนวทางแก้ไข

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน/ ขยายเขตประปาหมู่บ้านให้ทั่วถึง ขยายเขตโทรศัพท์สาธารณะและครัวเรือน ติดตั้งไฟฟ้า/ ขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึง พัฒนาขุดลอก คู คลอง
  2. ด้านเศรษฐกิจ คือ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี การรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพการเกษตร  ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. 3. ด้านสังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คือ จัดกิจกรรมรวมพลังแผ่นดินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดและ เฝ้าระวังดูแลบุตรหลาน สร้างครอบครัวให้อบอุ่น จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน/สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนรู้รัก สามัคคี ส่งเสริมและ ฟื้นฟูประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาเยาวชนในหมู่บ้าน/ตำบล
  4. ด้านสาธารณสุข คือ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส คนพิการ ให้ได้รับการจัดสวัสดิการอย่างทั่วถึงและให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง สนับสนุนการเล่นกีฬา/ ออกกำลังกาย จัดบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ให้มีการ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

5.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ  จัดหาถังรองรับขยะในครัวเรือน จัดตั้งกลุ่มเตาเผาขยะในครัวเรือน ให้ความรู้การกำจัดขยะ/แยกขยะอย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์สูงสุด `ร่วมกันปรับภูมิทัศน์สองข้างทางและรอบๆ บริเวณหมู่บ้าน

  1. ด้านการเรียนรู้ คือ ให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการเกษตรและปศุสัตว์และความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ส่งเสริมการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  2. ด้านการใช้พลังงาน คือ ให้ความรู้ด้านการประหยัดพลังงานอย่างถูกวิธี ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนหลอดไฟแบบประหยัดส่งเสริมการใช้ระจักรยานยนต์แทนรถยนต์ และใช้รถจักรยานแทนรถจักรยานยนต์ ส่งเสริมการใช้เตาถ่าน/เตาไม้ฟืนในการประกอบอาหาร

ข้อเสนอแนะ

1.ควรศึกษาปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน อันประกอบด้วย การเรียนรู้ร่วมกัน ทุนทางสังคม ทุนสิ่งแวดล้อม แลทุนงบประมาณจำแนกตามรายภูมิภาค โดยทำการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืน และเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก

2.เปิดโอกาสให้ชุมชนได้แสดงความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาชุมชน

3.ควรมีการศึกษาปัญหา อุปสรรค และสาเหตุที่ทำให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้

4.ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบล

5.ให้มีการอบรมทักษะการพัฒนาตลาดออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

6.ควรมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ในชุมชน

แล้วนำข้อมูลทั้งหมดร่วมกันเพื่อสรุปจัดทำรายงานโครงการU2Tและนำข้อมูลนั้นมาจัดทำการดำเนินงานรายตำบล TSI  ภาพรวมตลอดทั้งโครงการ ในรูปแบบ pdf ตามแบบฟอร์ม

วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ประจำโครงการ ได้ลงพื้นที่บ้านหนองตาดเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการตรวจเยี่ยมให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับ การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยอาจารย์จิรายุ และ อาจารย์ธนวรรณ มุสิกา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษเป็นวิทยากร ให้คำปรึกษาในขั้นตอนกระบวนการผลิตของข้าวหมากและข้าวแต๋น การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับต้นทุน ข้อควรระวังในขั้นตอนการทำข้าวหมากและข้าวแต๋น การใช้สื่อประชาสัมพันธ์การตลาดออนไลน์ เป็นต้น  ทีมผู้ปฏิบัติงานได้เสนอความคิดว่าจะทำไอศครีมข้าวหมาก และน้ำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ ซึ่งวิทยากรแนะนำว่าสามารถทำได้โดยการทำให้ปริมาณของแอลกอฮอล์น้อยลง  ตัวแทนกลุ่มข้าวหมาก ได้ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับรสชาติของข้าวหมากที่ยังไม่คงที่ โดยทางวิทยากรได้แนะนำว่าเป็นเพราะอากาศและแป้งที่ใช้ทำข้าวหมาก พร้อมจะช่วยหาวิธีการแก้ไขต่อไป ส่วนข้าวแต๋นแนะนำให้เพิ่มรสชาติให้หลากหลายเช่น รสปาริกก้า หมูหยอง โก้โก้ และการทำข้าวแต่นอารมณ์ดีโดยส่วนผสมของกัญชา พร้อมทั้งแนะนำการขายผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอต้องมีผลิตภัณฑ์พร้อมขายตลอดและจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและบันทึกการขายว่าช่วงเวลาในที่ลูกค้าต้องการมากเพื่อจะได้เตรียมผลิตภัณฑ์ให้พอเพียงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งการตรวจเยี่ยมและให้คำปรึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์กับชุมชนและให้ความรู้กับทีมผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก หลังจากการตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำเสร็จมีการถ่ายรูปร่วมกันและมอบผลิตภัณฑ์เป็นทีระลึก

หลังจากการตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำเสร็จข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยอาจารย์ได้ร่วมทำกิจกรรม” จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” ถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสวันสำคัญของชาติ “วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม”โดยได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ ดอกไม้ เพื่อปรับภูมิทัศน์บริเวณวัด  และช่วยกันทำความสะอาดห้องน้ำสงฆ์ ที่วัดด่านทองประชาสามัคคี บ้านหนองตาด ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานรู้สึกเป็นสุขใจเป็นอย่างยิ่ง

รูปภาพประกอบ

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู