รายงานการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย)
HS08 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
นางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน
กิจกรรมการสังเคราะห์รายงานการดำเนินงานโครงการ U2T ณ บ้านบุลิ้นฟ้า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานอีก 5 ท่าน ได้แก่
1.นางสาวจุรีพร โสมณวัฒน์
2.นางสาวบุญวิภา เมฆา
3.นายเจษฎา บุญไพโรจน์
4.นายรุจิรงค์ เรืองคง
5.นายวีระชน จันทะนาม
ได้รับผิดชอบการจัดทำรายงานบทที่ 2 เรื่องการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ทุกคนจึงได้ช่วยกันคิดวิเคราะห์ถึงปัญหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคในชุมชน ปัญหาและความต้องการของการพัฒนาชุมชน รวมถึงข้อเสนอแนะ โดยได้รายระเอียดคร่าวๆ ดังนี้
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในครั้งนี้ ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย ร่วมกันระดมความคิดวิเคราะห์ศักยภาพของตำบลทะเมนชัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) พบว่าตำบลทะเมนชัย มีจุดแข็ง จุดอ่อน รวมทั้งโอกาสและอุปสรรค ที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ดังนี้
จุดแข็ง (Strength)
1) มีกลุ่มทุน (กองทุนหมู่บ้าน) ที่เข้มแข็งเป็นแหล่งทุนให้กับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ในชุมชนได้
2) มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
3) ประชาชนมีความรักและสามัคคีร่วมใจกัน
4) มีวัดประจำหมู่บ้านและเป็นศูนย์กลางของชุมชน
5) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยและมัน เลี้ยงสัตว์
6) ประชาชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
7) ภูมิปัญญาชุมชน แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี
ท้องถิ่น งานฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ หัตถกรรม จักสาน ทอผ้า
จุดอ่อน (Weakness)
1) เยาวชนคนรุ่นใหม่ยังไม่เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมกับชุมชนเท่าที่ควร
2) ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม 3) ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง
4) ขาดสถานศึกษาระดับฝึกอาชีพ ขาดแหล่งงานรองรับแรงงานว่างงานนอกฤดูกาล
5) การส่งเสริมการฝึกอาชีพไม่ต่อเนื่อง
6) ขาดความรู้ในด้านทำการตลาดออนไลน์ (marketing online)
โอกาส (Opportunity)
1) นโยบายรัฐให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
2) โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ของรัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3) สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน
4) สร้างชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่
5) มีแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ และป่าของชุมชน
6) มีโครงการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจรายตำบล (U2T) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้ชุมชนสร้างอาชีพมีรายได้เสริม
7) มีแหล่งขายสินค้าทางการเกษตรอยู่ในพื้นที่
อุปสรรค (Threat)
1) ภาคีการพัฒนาที่เข้าไปในพื้นที่หมู่บ้าน ขาดการเชื่อมประสานหรือบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน
2) การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง
3) ราคาพืชผลและผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ 4) มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ดินเค็ม น้ำท่วม ภัยแล้ง ที่กระทบต่อเศรษฐกิจ
5) ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย ภัยแล้ง อากาศร้อน ทำให้ผลผลิตได้น้อย
6) เกิดโรคระบาด (COVID-19)
7) ประชาชนมีพื้นฐานความรู้และพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน
8) ชาวบ้านในชุมชนยังขาดความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ปัญหาและความต้องการพัฒนาของชุมชน
สภาพปัญหาในตำบลทะเมนชัย
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบประปาหมู่บ้าน/ ประปาหมู่บ้านไม่ทั่วถึง การติดต่อสื่อสารไม่สะดวก ไฟฟ้าสาธารณะ/ ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ น้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง ถนนในชุมชนบางแห่งยังมีการชำรุด ขาดการพัฒนา
- ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปุ๋ยราคาแพง มีหนี้สินมาก ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูง ผลผลิตการเกษตรราคาตกต่ำ
ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูง
- ด้านสังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้แก่ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ความร่วมมือของประชาชนลดลง ขาดการสืบสานประเพณีท้องถิ่น/พื้นบ้าน การแพร่ระบาดของการพนัน การมั่วสุมของวัยรุนทั้งในและนอกพื้นที่
- ด้านสาธารณสุข ได้แก่ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาส คนพิการ ได้รับการจัดสวัสดิการไม่ทั่วถึง การระบาดของโรคไข้เลือดออก/ ไข้หวัด และโควิด 19 และขาดการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างถูกต้อง
แล้วนำข้อมูลทั้งหมดร่วมกันเพื่อสรุปจัดทำรายงานโครงการU2Tและนำข้อมูลนั้นมาจัดทำการดำเนินงานรายตำบล TSI ภาพรวมตลอดทั้งโครงการ ในรูปแบบ pdf ตามแบบฟอร์ม
กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ณ บ้านหนองตาด วันที่ 03 ธันวาคม 2564 ข้าพเจ้าและอาจารย์พร้อมกับสมาชิกอีก 5 ท่าน ได้แก่ นายยงยุทธ เขียววิลัย นายธนาธิป เสาวพันธุ์ นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ นายศุภกร วิเศษนครและนางสาวมณฑิรา แทนคำ ได้ร่วมกันทำข้าวหมากร่วมกับชุมชนเพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอเพื่อนำไปจัดทำหลักสูตรระยะสั้น โดยเริ่มจากการแช่ข้าว นึ่งข้าว ตามขั้นตอนของการทำข้าวหมาก จากนั้นจึงให้นางสาวมณฑิรา แทนคำ ได้สัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านโดยถามถึงความเป็นมา ปัญหาและอุปสรรค ผลตอบรับ และข้อเสนอแนะ
กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำโดยวิทยากร (ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น) วันที่ 05 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ บ้านหนองตาด โดยมีอาจารย์จิรายุ มุสิกา และอาจารย์ธนวรรณ มุสิกา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ ได้มาเป็นวิทยากร โดยท่านได้ให้คำแนะนำเรื่องข้าวแต๋น ดังนี้ การเพิ่มสีสันโดยการนำสีสังเคราะห์และสีจากธรรมชาติมาผสมกัน ซึ้งจะได้สีจากสีสังเคราะห์และกลิ่นหอมจากสีธรรมชาติ แนะนำการทำหน้าพริกเผาเพื่อเพิ่มความหลากหลาย (บาบีคิว ช็อคโกแลตและโกโก้) ทำให้มีการขยายตลาดมากยิ่งขึ้น แนะนำการทำตลาดออนไลน์ มีเฟส มีไลน์ ช่วยกันแชร์เพื่อเปิดการมองเห็น การจัดทำโลโก้ เพิ่มช่องทางการติดต่อและส่วนประกอบ และการแสดงใบรับรองจากข้าวอินทรีย์ ส่วนเรื่องของข้าวหมากท่านวิทยากรได้แนะนำ ดังนี้ การนำน้ำข้าวหมากมาทำป็นน้ำเพื่อสุขภาพ การสร้างแอพพลิเคชั่นเป็นแพลตฟอร์มเหมือนระบบ shopee ส่วนเรื่องสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวข่าวหมากจะใช้เวลานานกว่าฤดูร้อน แนะนำโดยนำโฟมและเอาผ้าชุบน้ำอุ่นแล้วหมักไว้ในโฟม การสร้างตลาดหลายระดับ
หลังจากเสร็จกิจกรรมที่บ้านหนองตาด ช่วงเวลา 10.30 น.ทีมผู้ปฏิบัติงานทะเมนชัยทุกคนและอาจารย์ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่วัดด่านทองประชาสามัคคี เป็นกิจกรรมจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสวันสำคัญของชาติ “วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม” โดยร่วมกันปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม ทำความสะอาดห้องน้ำพระสงฆ์ พร้อมทั้งบริจาคอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องน้ำให้กับทางวัด และถ่ายภาพกิจกรรมเพื่อนำประกอบการบรรยายบทความประจำเดือนธันวาคม
กิจกรรมการทำตลาดออนไลน์ช่วยชาวบ้านตำบลทะเมนชัย ทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยนำเสนอผ่านเพจ facebook ประจำตำบลทะเมนชัยมีชื่อเพจว่า U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย ซึ่งได้รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคนในชุมชน และสนับสนุนการขายผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น จากการสร้างคอนเทนต์ การตกแต่งภาพ การถ่ายภาพให้น่าดึงดูด จากฝีมือผู้ปฏิบัติงานทีมทะเมนชัยทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันกดแชร์ กดไลค์ เพื่อช่วยให้คนรู้จักตำบลทะเมนชัยมากขึ้น แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นทะเมนชัยที่นอกจากจะมีวัดพระธาตุเจดีย์ที่คนนับถือกันเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นที่น่าสนใจ เพื่อเป็นการดงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวตำบลทะเมนชัยมากขึ้น
กิจกรรมการประชุมออนไลน์และออนไซต์ (ทั้งหมด 5 ครั้ง)
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ประชุมสังเคราะห์งานเพื่อนำเสนอในวันที่ 21 พฤศจิกายน ในโครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงวิทยาการ
1)เพิ่มเติมในหัวข้อปัญหาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เช่น รสชาติยังไม่มีความหลากหลาย บางชุมชนยังไม่มีการจดบันทึกรายรับ – รายจ่ายที่ชัดเจน บางชุมชนไม่มีเวลารวมกลุ่มอย่างเต็มที่และปัญหาการใช้น้ำมันในการทอดข้าวแต๋น
2)นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น คือการแปรรูปจากข้าวอินทรีย์เป็นขนมทานเล่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์ และเกิดการสร้างกลุ่มและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ประชุมชี้แจงเรื่องการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม
1) กำหนดการปิด job ภายในวันที่9/12/64 เนื่องจากก่อนนั้นเคยบอกวันที่13/12/64 ให้แล้วเสร็จ จะเป็นวันหยุดยาวแล้ว
2) การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น ให้แล้วเสร็จภายใน 9/12/64
3) การจัดทำเล่มรายงานโครงการ ภายใน 9/12/64 (และจะมีการแบ่งหน้าที่กันดำเนินงานต่อไป..)
4) การจัดแสดงสินค้า-ผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายงาน BRICC festival ในวันที่13 ,14 ,15/12/64
5) การเยี่ยมให้คำแนะชุมชนต้นแบบผลิตภัณฑ์ 5 ธ.ค. 64
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ประชุมแบ่งงานและชี้แจงการจัดทำรายงานบทที่ 2-5
1)สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน – แบ่งบทกันทำ ให้ทีมงานเดิม ทำบทที่2 ในแต่ละบทใส่ภาพประกอบด้วย บทที่3 ส่งเสริมการตลาด ให้เอาหน้าเพจลง พร้อมรีวิวการขายได้ของแต่ละชุมชน บทที่4 การยอมรับของข้าวหมากเป็นยังไงบ้าง การประชาสัมพันธ์เพียงพอยัง การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ แบ่งทีมงานเดิมเป็น 3 กลุ่ม บทที่2,3,4 บทที่ 5 อาจารย์จะสรุปเอง
2)การทำหลักสูตรระยะสั้น
3)ถ้าเฟส 2 เกิดขึ้น (จะทำไอศกรีมข้าวหมาก น้ำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ จากงานวิจัย มีหลากหลายสี)แพคเกจจิ้งของข้าวหมาก ทำเป็นเซตทำข้าวหมากสำเร็จรูป
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 มีวาระการประชุม ดังนี้
1)ข้อมูล TSI ให้เสร็จภายในวันที่5/12/64
**การทำกิจกรรมวันที่5/12/64**
-กิจกรรมการตรวจเยี่ยม คือ วิทยากรจะเข้าให้คำแนะนำและตรวจเยี่ยมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้งข้าวหมากและข้าวแต๋น
– กิจกรรมวันชาติ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์
วันที่ 05 ธันวาคม 2564 อาจารย์ได้แนะนำแนวทางการเขียนบทความประจำเดือนธันวาคม