1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. กิจกรรมการลงพื้นที่ติดตามผลและให้คำแนะนำการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์”ข้าวหมากและข้าวแต๋น”ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เดือนธันวาคม2564

กิจกรรมการลงพื้นที่ติดตามผลและให้คำแนะนำการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์”ข้าวหมากและข้าวแต๋น”ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เดือนธันวาคม2564

รายงานผลการปฏิบัติงานในโครงการ (เดือนธันวาคม)

การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

(HS08)

นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่

พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 

 

เมื่อวันที่21พฤศจิกายน2564ข้าพเจ้าและนางสาวณัฐกานต์ เครีอจันทร์ ได้รับมอบหมายให้ เป็นตัวแทนทีมผู้ปฏิบัติงานHS08ตำบลทะเมนชัย ให้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซด์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร25ชั้น2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการและกล่าวรายงานโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภายในกิจกรรมได้มีการร่วมเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ และดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการบรรยายเกี่ยวกับตัวอย่างแบบฟอร์มการทำหลักสูตรระยะสั้น และนำเสนอข้อมูลของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1ตำบล1มหาวิทยาลัย) ของ 11 ตำบล ตำบลทะเมนชัย ได้ดูแลรับผิดชอบให้จัดทำหลักสูตร “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ข้าวหมากและข้าวแต๋น ซึ่งข้าพเจ้าและนางสาวณัฐกานต์ เครือจันทร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการนำเสนอข้อมูลต่อท่านหัวหน้าโครงการ โดยข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทำการสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน มีประเด็นนำเสนอ 5 หัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบล
  2. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
  3. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ
  4. แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
  5. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิตและนวัตกรรมอะไรและอย่างไร

เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2564ได้เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์(Google meet)เพื่อรับมอบหมายงานให้จัดทำแบบสรุปผลการดำเนินงานรายตำบลทะเมนชัย(TSI) มีหัวข้อดังนี้

  1. ข้อมูลพื้นฐาน
  2. โจทย์พัฒนาพื้นที่
  3. กิจกรรมการพัฒนาพื้นที่
  4. กลไกการทำงานในตำบล
  5. TMAP ความต้องการ5มิติ
  6. ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจและเชิงสังคม

ซึ่งมีรายละเอียดของข้อมูล ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่1ธันวาคม2564ข้าพเจ้าได้ประสานงานกับสมาชิกกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก บ้านหนองตาด ม.3 จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ทำข้าวหมาก เพื่อถ่ายทำคลิปวิดีโอสาธิตขั้นตอนวิธีการทำข้าวหมากร่วมกับ อ.ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และสมาชิกทีม U2T ตำบลทะเมนชัย จำนวน 5 คน มีการสัมภาษณ์ตัวแทนสมาชิกกลุ่ม นางวิชนี แกล้วกล้า เพื่อจัดทำคลิปวิดีโอประกอบกการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เพื่อนำไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอินทรีย์หลากสี ให้บุคคลภายนอกได้รู้จักข้าวหมากเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันสืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งมีหัวข้อของการทำสรุปผลการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา(ตำบลทะเมนชัย)

บทที่ 2 วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน

บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน

บทที่ 4 ประเมินผลโครงการ

บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลัก ในการสังเคราะห์ข้อมูล บทที่3 ผลการดำเนินงาน ร่วมกับนางสาวนัฐริยา จงปลูกกลาง และทีม โดยมีรายละเอียดของข้อมูลสรุปได้ ดังนี้

  • การฝึกอบรม “ข้าวหมาก”

ได้มีการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จัดอบรมให้กับตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์(ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก)โดยได้จัดอบรมที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า หมู่ที่13 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 31 พ.ค.64 ที่ผ่านมา โดยมี ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมการอบรม

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์”ข้าวหมาก”พบว่า กลุ่มตัวแทนสมาชิก มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝึกฝน ทักษะ และกระบวนการทำข้าวหมากอย่างดีมาก มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทดลองทำ การคิดค้นหาสูตรใหม่ๆ การปรับปรุงรสชาติและสีสันของผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ใส่ผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย มีรวมกลุ่มกันทำเองที่บ้านของตัวแทนจิตอาสา ช่วยกันคิดค้นวิธีที่จะแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์รสชาติไม่เป็นไปตามที่ต้องการ การแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะซึ่งกันและกัน ทีมผู้ปฏิบัติงานได้คอยติดตามและให้คำแนะนำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ให้การจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนวัตถุดิบในการจัดทำ และช่วยหาช่องทางการจำหน่ายเพื่อเพิ่มยอดขาย การสร้างเพจออนไลน์ และอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลการสร้างเว็บไซต์สำหรับขยายเครือข่ายองค์ความรู้

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์

การพัฒนาสีสันและรสชาติของข้าวหมาก ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มตัวแทนสมาชิกบ้านหนองตาด หมู่ที่3 และกลุ่มตัวแทนสมาชิกบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่5 มีการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอยู่เสมอ ทางกลุ่มได้มีการคิดค้นและพัฒนาสีสันของข้าวหมาก โดยได้นำสีจากวัตถุดิบธรรมชาติ พืชในท้องถิ่น มาใช้เพื่อทำสีสันของข้าวหมากให้มีความแปลกใหม่และมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เพิ่มความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก เช่น สีดำจากข้าวเหนียวดำ(ก่ำ) สีแดงหรือสีส้มจากดอกกระเจี๊ยบแดง สีฟ้าจากดอกอัญชัน สีเหลืองหรือสีส้มจากขมิ้นหรือฟักทอง สีชมพูจากแก้วมังกรเนื้อแดง สีม่วงจากน้ำข้าวเหนียวดำ(ก่ำ)หรือมันม่วง  เป็นต้น

ภาพประกอบ :

3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์

การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์นั้น เริ่มตั้งแต่ การใช้ใบตองกล้วยมาเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและลดปริมาณการใช้ถุงหรือถ้วยพลาสติก แต่การนำใบตองกล้วยมาเป็นบรรจุภัณฑ์นั้น พบปัญหาคือ น้ำหวานของข้าวหมากรั่วไหลเลอะบรรจุภัณฑ์ จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นถุงแก้วพลาสติกใสและถ้วยพลาสติกใสที่มีฝาปิดที่แน่นหนามิดชิด ซึ่งทำให้สะดวกแก่การรับประทาน การเก็บรักษาและการขนส่ง แต่ในบางพื้นที่ ยังมีการใช้ใบตองกล้วยเป็นบรรจุภัณฑ์อยู่เนื่องจาก การใช้ใบตองกล้วยเป็นบรรจุภัณฑ์นั้นทำให้ข้าวหมากมีกลิ่มหอมของใบตองกล้วย และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและลดต้นทุนการผลิตและยังได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับการเก็บรักษาอุณหภูมิเมื่อมีการจัดส่งนอกพื้นที่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวหมากเมื่อพร้อมรับประทานแล้ว ควรเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เย็น ด้วยเรื่องของการขนส่งนั้น ในบางพื้นที่การจัดส่งจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ซื้อมีความกังวลในเรื่องของการเก็บรักษาระหว่างการขนส่ง ทีมงานจิตอาสาได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้มีการสืบค้นข้อมูลและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นการถนอมอาหารและยืดอายุของผลิตภัณฑ์ข้าวหมากเพื่อให้มีรสชาติและกลิ่นที่คงเดิม เช่น การนำ”ถุงฟอยด์เก็บความเย็น”มาแพคบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาอุณหภูมิระหว่างที่มีการขนส่ง เป็นต้น

3. การส่งเสริมการตลาด

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ของตำบลทะเมนชัย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เพจ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย facebookส่วนตัวของทีมผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มตลาดนัดออนไลน์ตำบลทะเมนชัย กลุ่มตลาดสดออนไลน์ลำปลายมาศ และได้แชร์โพสต์เปิดเป็นสาธารณะ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีคนรู้จัก”ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของตำบลทะเมนชัย”เพิ่มมากยิ่งขึ้น และได้โพสต์ประชาสัมพันธ์ จัดโปรโมชั่น เขียนคอนเทนท์เพื่อดึงดูดความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์

4. การจัดทำบัญชีครัวเรือน

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้แนะนำสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวหมากให้จัดทำบัญชีครัวเรือนหรือบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้คำแนะนำในการเขียนและจดบันทึกให้มีความเรียบร้อยและชัดเจน โดยใช้บันทึกรายได้หรือยอดขาย-รายจ่ายหรือต้นทุนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อที่จะทำให้สมาชิกกลุ่มทราบถึงผลกำไรหรือขาดทุนจากการขายผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ทั้งนี้ข้อมูลรายได้-รายจ่ายที่ได้จากการบันทึกจะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ยกตัวอย่าง กลุ่มที่จัดทำบัญชีครัวเรือน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวแทนสมาชิกพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาด หมู่ที่3 และบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่5

  • การฝึกอบรม “ข้าวแต๋น”

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้ารับการอบรม เรื่อง “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เป็นข้าวแต๋น” ณ เทศบาลตำบลทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ธารินี วงศ์ศิริศักดิ์ มาเป็นวิทยากรร่วมบรรยาย เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งท่านอาจารย์ธารินี วงศ์ศิริศักดิ์ ได้ให้คำแนะนำถึงเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ควรทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ซึ่งจะสามารถทำให้เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทีมผู้ปฏิบัติงานต้องนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เพื่อให้กลุ่มตัวแทนชาวบ้านได้เรียนรู้ทำความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธารินี วงศ์ศิริศักดิ์ และทีมงาน ได้มาให้ความรู้กลุ่มตัวแทนชาวบ้านและทีมจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่นเกี่ยวกับขั้นตอนจากผลิตข้าวแต๋น  โดยเริ่มจากกระบวนการกำหนดสูตรข้าวแต๋น วัตถุดิบ วิธีการทำ วิธีการทอด และวิธีทำน้ำราดข้าวแต๋น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นครั้งนี้ได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้กลุ่มตัวแทนชาวบ้านนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวเเต๋น ซึ่งในการทำข้าวเเต๋นนี้กลุ่มตัวแทนชาวบ้าน เริ่มมีการพัฒนาโดยมีการนำวัตถุดิบธรรมชาติมาปรับใช้ให้ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมีสีสันที่หลากกหลาย เช่น สีเขียวใบเตย สีฟ้าดอกอัญชัน เเละสีแดงจากเเตงโม เป็นต้น เเละมีการปรับปรุงรสชาติให้คงที่และมีความแปลกใหม่อยู่เสมอ

ภาพประกอบ :

2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปรึกษาร่วมกันกับกลุ่มตัวแทนชาวบ้าน เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เนื่องจากเดิมทีบ้านน้อยพัฒนาใช้ถุงพลาสติกมาใช้บรรจุข้าวแต๋น และปิดปากบรรจุภัณฑ์ด้วยการลนเทียน จึงทำให้เกิดความชื้นได้เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ปิดไม่มิดชิด ทำให้ข้าวแต๋นไม่กรอบและเสียอรรถรสในการรับประทาน ดังนั้น จึงจัดหาถุงซิปล็อคกระดาษคราฟท์ ถุงฟอยล์ซิปล็อค และกระปุกพลาสติกมาใช้บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เพื่อการถนอมอาหารให้ไม่เสียอรรถรสในการรับประทาน และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งหากบรรจุข้าวแต๋น ในบรรจุภัณฑ์ในปริมาณมากจะใช้ซองกันชื้นใส่เข้าไปในบรรจุภัณณ์เพื่อรักษาความชื้น หากทานข้าวแต๋นไม่หมดในรวดเดียว ก็สามารถเก็บซองกันชื้นไว้ข้างในบรรจุภัณฑ์ได้ปิดปากถุงบรรจุภัณฑ์ให้แน่นสนิท ไม่ให้ความชื้นใหม่เติมเข้าไป ซองกันชื้นข้างในก็จะทำหน้าที่ดูดความชื้นที่เข้าไปใหม่ตอนเปิดถุงบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาข้าวแต๋นที่เหลือ ให้ยังคงกรอบได้นานเท่าที่ซองกันชื้นยังทำหน้าที่ของมัน

3. การส่งเสริมการตลาด

-สร้างแรงจูงใจโดยการแจ้งข่าวสารเพื่อให้เกิดความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทาง Facebook  Fanpage U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัยhttps://www.facebook.com/U2T.BRU.Thamenchai

-การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขาย นอกจากการขายผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook  Fanpage แล้ว สิ่งสำคัญคือการบอกต่อของผู้บริโภคที่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นแล้วเป็นกระบอกเสียง ซึ่งถือเป็นการโปรโมทผลิตภัณฑ์ไปในตัว

-จัดโปรโมชั่นสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด

-จัดทำสื่อการเรียนรู้ผ่านสื่อสารสนเทศ เช่น การจัดทำโบชัวร์หรือ โปสเตอร์ และวิดีโอการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น

4.การจัดทำบัญชีครัวเรือน

ทีมผู้ปฏิบัติงานได้แนะนำสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นให้จัดทำบัญชีครัวเรือนหรือบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้คำแนะนำในการเขียนและจดบันทึกให้มีความเรียบร้อยและชัดเจน โดยใช้บันทึกรายได้หรือยอดขาย-รายจ่ายหรือต้นทุนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อที่จะทำให้สมาชิกกลุ่มทราบถึงผลกำไรหรือขาดทุนจากการขายผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ทั้งนี้ข้อมูลรายได้-รายจ่ายที่ได้จากการบันทึกจะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

วันที่4ธันวาคม2564ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อจัดเตรียมสถานที่ จัดกิจกรรมการติดตาม เยี่ยมชม และในคำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ณ บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ในวันที่5ธันวาคม2564 ได้ดำเนินกิจกรรมเยี่ยมชมและให้คำแนะนำ ผลจากการอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยวิทยากร ได้แก่ อาจารย์จิรายุ และอาจารย์ธนวรรณ มุสิกา อาจารย์จากสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และผศ.ดร.คัมภีรภาพ อินทะนู หัวหน้าหลักสูตรHS08ตำบลทะเมนชัย ซึ่งมีหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกกรม จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด ม.3 บ้านหนองหญ้าปล้อง ม.5 บ้านบุตาริด ม.12 และบ้านน้อยพัฒนา ม.16 ข้าพเจ้าได้ดูแลรับผิดชอบตัวแทนสมาชิกกลุ่มข้าวหมาก บ้านหนองตาด ม.3 ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 6 คน ได้แก่

1.นางสุคนธ์ ซอยรัมย์

2.นางสำรวย เชิญรัมย์

3.นางวิชนี แกล้วกล้า

4.นางม้วย เภสัชชา

5.นางลำไย แสนพงษ์

6.นางพัชรี เภสัชชา

ซึ่งมีคำแนะนำจากวิทยากร ดังต่อไปนี้

  • ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก

1.แนะนำให้ทางกลุ่มสมาชิกทำการจดวิสาหกิจชุมชน เพื่อขอ อย. (แต่ต้องมีโรงเรือนที่ได้มาตรฐานก่อน)

2.มีการแนะนำให้ทำบัญชีครัวเรือน โดยบันทึกข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์

3.แนะนำให้ทำApplicatiionกลุ่มเกษตรกรเพื่อขยายการตลาดและฐานลูกค้า ทำการตลาดหลายๆระดับเพิ่มมากขึ้นโดยออกแบบและจัดทำรูปแบบแพคเกจจิ้งที่หลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ เช่นการต่อยอด แพคเกจจิ้ง เป็น บรรจุภัณฑ์ “แบบไม้ไผ่”

4.หากอยากจะต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก เป็น“ไอศกรีมข้าวหมาก”และ”น้ำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ”นั้น สามารถทำได้ แต่ต้องนำน้ำข้าวหมากไปทำการพาสเจอไรซ์(ฆ่าเชื้อ)ในอุณหภูมิต่ำ เพิ่มส่วนผสมของนมเข้าไป เช่น น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง เป็นต้น และต้องใช้สารเพิ่มความคงตัว ซึ่งหาซื้อได้จากอินเทอเน็ต และต้องมีเครื่องทำไอศกรีมและได้มีการสอบถามถึงปัญหาที่พบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก

1.แป้งข้าวหมากยังไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ มีรสเปรี้ยว มีเชื้อราและหนอน วิทยากรแนะนำว่า “จะค้นหาสูตรวิธีทำแป้งข้าวหมากให้และจะช่วยคิดค้นหาแนวทางแก้ไขต่อไป”

2.ในช่วงฤดูหนาวนั้น ข้าวหมากจะใช้เวลาในการหมักนานกว่าปกติเนื่องจากอุณภูมิต่ำ ทำให้ผลิตข้าวหมากออกเพื่อจำหน่ายได้ช้ากว่าปกติ วิทยากรแนะนำว่า “เมื่อทำข้าวหมากเสร็จให้นำข้าวหมากบรรจุใส่กล่องหรือถังโฟมและนำผ้าชุบน้ำอุ่นปกไว้เพื่อเป็นการเพิ่มอุณภูมิ หรือเป็นการจำลองสภาพอากาศที่อุ่นและห้ามโดนแสงแดดมากจนเกินไปเพราะจะทำให้รสชาติของข้าวหมากมีรสเปรี้ยว

  • ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น

1.แนะนำให้เพิ่มสีสันของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ใช้สีธรรมชาติร่วมกับสีผสมอาหาร เพิ่มสีสันที่หลากหลาย ทำหน้าหมูหย็องพริกเผา เพิ่มความหลากหลายของรสชาติ เช่น ช็อกโกแลตโรยหน้า โกโก้ผสมน้ำตาลและ อาจจะมีการจะต่อยอดโครงการไวน์โกโก้ เป็นต้น

2.แนะนำช่องทางการจำหน่าย  เพิ่มช่องทางการตลาด การสร้างเพจออนไลน์ที่มีรูปของผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ

3.ออกแบบโลโก้ให้ชัดเจน (มีคิวอาโค้ด สตอรี่ที่มาของข้าวแต๋น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์)

4.แนะนำให้ขอใบรับรองสินค้า(ใบรับรองข้าวอินทรีย์ปลอดสาร) จะได้เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

5.น้ำมันสำหรับทอดข้าวแต๋นนั้น ควรเป็น น้ำมันปาล์มเท่านั้น ไม่แนะนำน้ำมันชนิดอื่น

ภาพประกอบ :

ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในผู้ดูแลเพจ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย และได้นำความรู้และทักษะที่ได้จากกิจกรรมการอบรมตลาดออนไลน์ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำการประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์ของตำบลทะเมนชัย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เพจ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย facebookส่วนตัว กลุ่มตลาดนัดออนไลน์ตำบลทะเมนชัย กลุ่มตลาดสดออนไลน์ลำปลายมาศ และได้เขียนคอนเทนท์ให้น่าสนใจ อาทิเช่น การนำเสนอ แนะนำสถานที่ที่สำคัญเชิงประวัติศาสตร์ เล่าถึงประวัติความเป็นมา อันลักษณ์ของสถานที่นั้นๆ นำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากภูมิปัญญาชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น และได้แชร์โพสต์เปิดเป็นสาธารณะ และจัดทำแผ่นพับ โบรชัวร์ เพื่อแจก  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และขยายฐานลูกค้าให้บุคคลพายนอกได้รู้จัก สินค้าและผลิตภัณฑ์ “ของดีทะเมนชัย”และ”ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นของตำบลทะเมนชัย”เพิ่มมากยิ่งขึ้น และได้โพสต์ประชาสัมพันธ์ จัดโปรโมชั่น จัดส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์โดยทีมงานจิตอาสาส่งให้ฟรี ในเขตตำบลทะเมนชัย และทางทีมผู้ปฏิบัติงานได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยได้ซื้อ”ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น”เพื่อเป็นของฝากให้ญาติผู้ใหญ่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เพื่อเป็นการแนะนำและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นของตำบลทะเมนชัยให้มีคนรู้จักเพิ่มมากยิ่งขึ้น และได้ร่วมกัน ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ข้าวหมากว่า “ข้าวหมากอินทรีย์ของดีทะเมนชัย” และ ชื่อผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นว่า “ข้าวแต๋นอินทรีย์หลากรส”

วันที่5ธันวาคม2564ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม”จิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ” ถวายเป็นพระราชกุศล ในโอกาสวันสำคัญของชาติ “วันพ่อแห่งชาติวันที่ 5 ธันวาคม” ในพื้นที่วัดด่านทองประชาสามัคคี ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในกิจกรรมได้มีการทำความสะอาดห้องน้ำและบริเวณวัด ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ ต้นชาฮกเกี้ยน ต้นหลิวม่วง และต้นพยับหมอก ซึ่งต้น”พยับหมอก”นั้น มีดอกสีฟ้าอ่อนซึ่งเป็นสีทรงโปรดของในหลวงรัชกาลที่9 อีกทั้งเป็นสีของวันพระราชสมภพของ “สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ”วันพ่อแห่งชาติ” และเป็นการน้อมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่9 และยังได้มีโอกาสรับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้จัดหาไม้ดอกไม้ประดับมาปลูกบริเวณวัดด่านทองประชาสามัคคี ข้าพเจ้าจึงได้เลือก “ต้นพยับหมอก” นี้  เพื่อนำมาปลูกถวายเป็นพระราชกุศล

“ดอกพยับหมอก”

แค่เพียงเรื่องเล่าขานถึง ‘ดอกพยับหมอก’ คือ ดอกไม้ทรงโปรดในพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๙ ด้วยเพราะกลีบดอกสีฟ้าอมคราม (บ้างว่าสีฟ้าหมน) ตรงกับสีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง เท่านี้เราและท่านคงรู้สึกได้ถึงความคลาสสิคแบบสุภาพบุรุษสยาม และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องเล่าขานระดับตำนาน ‘Nissan Cefiro A31 President’ รถยนต์พระที่นั่ง หมายเลขทะเบยน 1ด-0595 สีฟ้าพยับหมอกคันแรก และคันเดียวในโลก ที่ ‘นิสสันมอเตอร์ฯ’ ทูลเกล้าฯ ถวายในเวลาต่อมา “ดอกพยับหมอก”มีถิ่นกำเนิดบนแผ่นดินแอฟริกา เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้น แตกกิ่งก้านค่อนข้างโปร่ง ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่คว่ำ กว้าง ๓ – ๔ ยาว ๕ – ๗ เซนตเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ด้านล่างมีขนอ่อนสากระคาย ดอกสีขาวปนฟ้า อมเทา ออกช่อแบบกระจุก กลางกลีบดอกเป็นร่อง มีรยางค์เล็ก ๆ ยื่นออกมา มีกลิ่นฉุน ระคายเคืองผิว แต่พยับหมอกก็มีสรรพคุณมากมายเช่นกัน ชาวฝรั่งเศสใช้เคี้ยวระงับอาการปวดฟัน ในเมืองไทยใช้เป็นยาช่วยย่อย และรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ดอกพยับหมอกยังมีชื่อพื้นเมืองอีกว่า ‘เจตมูลเพลิงฝรั่ง’ ซึ่งคือยาตำรับ ‘เบญจกูล’

“พยับหมอก”คือ ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (UTK) และมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน. – NU) และในอดีตชื่อ ‘พยับหมอก’ ยังถูกนำ ไปตั้งชื่อม้าแข่งฝีเท้าจัดตัวหนึ่งของประเทศ คู่คี่สูสีมากับ ‘ศิรินภา’

แหล่งที่มา: ดอกพยับหมอก(ออนไลน์).(2563).สืบค้นจาก : https://rakdok.com/ [6ธันวาคม2564}

ตลอดช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมนั้น ข้าพเจ้าได้คอยติดตามผลการอบรมและคอยให้คำแนะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากในพื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ อยู่เสมอ คอยช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระงานในกลุ่มและคอยให้กำลังใจสมาชิกกลุ่ม คอยสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ และช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาด การทำตลาดออนไลน์ การเขียนคอนเทนท์แนะนำผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูงลูกค้า จนทำให้”ข้าวหมากอินทรีย์หลากสี” บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัยนั้น มีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมียอดขายที่มากขึ้นจากเดิม จนทำให้สมาชิกกลุ่มข้าวหมากมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และมีอาชีพเสริม และข้าพเจ้ามีความคิดและความคาดหวังในอนาคตว่า”จะได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวหมากให้เป็น “ไอศกรีมข้าวหมากหลากสี หลากหลายรสชาติ” หากมีโครงการU2Tเฟสที่2 เกิดขึ้นในปีต่อไป”

ภาพประกอบ :

วิดีโอประกอบการลงพื้นที่

 

อื่นๆ

เมนู