นางสาวธิดาภรณ์ สาลีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวธิดาภรณ์ สาลีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานใหม่ประเภทบัณฑิต ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยจะมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ คือมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นหน่วยบูรณาการโครงการภายในตำบล ซึ่งโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้เดินทางมาถึงระยะสุดท้ายของโครงการ จะสิ้นสุดปลายเดือนธันวาคม ซึ่งผลิตภัณฑ์ตำบลที่เป็นข้าวหมากและข้าวแต๋นของตำบลทะเมนชัยได้ก่อให้เกิดรายได้ภายในชุมชนจากการขายผลิตภัณฑ์ และทางชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ทางประธานโครงการได้นัดสมาชิกทีมทะเมนชัยประชุมออนไลน์เกี่ยวกับ โครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการเพื่อพัฒนาทักษะเดิม โดยทางประธานได้ให้ทางสมาชิกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของข้าวแต๋นและข้าวหมาก ซึ่งจะมีตัวแทนขึ้นนำเสนอในวันที่ 21 พฤศจิกายน ทางสมาชิกได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของข้าวแต๋นอย่างมากมาย อาทิเช่น ปัญหาของข้าวแต๋นในฤดูฝน ทำให้ตากข้าวไม่ได้ เมื่อข้าวที่ตากไม่แห้งพอ การทอดจะไม่มีความพองกรอบ, สีของช้าวแต๋น ควรมีการเพิ่มสีให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น, กลิ่นหืนจากน้ำมัน แก้ปัญหาโดยนำใบเตยลงไปทอดในน้ำมันก่อนทอดข้าวแต๋น, การอัดแน่นของข้าว ถ้ามีการอัดข้าวแน่นเกินไป เมื่อนำลงไปทอดตรงกลางจะไม่มีความพอง, ในฤดูหนาวใบตองจะมีความแตกง่ายทำให้ยากต่อการห่อข้าวหมาก, น้ำที่ใช้จะต้องเป็นน้ำฝน ถ้าเป็นน้ำอื่นจะทำให้รสชาติเปลี่ยน, ปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋นยังไม่มีความลงตัว,ชาวบ้านขาดความรู้ทางตลาดออนไลน์และขาดความต่อเนื่องของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นต้น

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 น. ทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้นัดประชุมออนไลน์เกี่ยวกับการสรุปผลปฏิบัติ U2T ซึ่งจะเป็นรายงานผลการปฏิบัติงานทั้ง 5 บท โดยบทที่ 1 เป็นบทนำ บทที่ 2 จะเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ปัญหา บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน การฝึกอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด การจัดทำบัญชี การรวมกลุ่มของสมาชิก บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว การพัฒนาตลาดออนไลน์ และบทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ ในการประชุมทางอาจารย์จะมอบหมายงานตามความเหมาะสม ซึ่งทางข้าพเจ้าได้รับผิดชอบงานการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น และเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ทางข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานบัณฑิตจบใหม่รวม 3 คน ได้ทำการนัดแนะเพื่อทำหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลทะเมนชัย ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. มีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการเข้ามาแนะนำให้ความช่วยเหลือในการทำหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งทางอาจารย์ได้เข้ามาช่วยแนะนำว่าการทำหลักสูตรระยะสั้น จะต้องให้คนที่เข้ามาอ่านสามารถทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น หรือข้าวหมากนั้นได้ โดยหัวข้อหรือบทที่จะเพิ่มในหลักสูตรระยะสั้นจะต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการทำข้าวแต๋น ข้าวหมาก วิธีการทำ ข้อดีข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงการค้าขายในตลาดออนไลน์ และตลาดทั่วไป โดยในการทำหลักสูตรระยะสั้นข้าพเจ้าได้รับผิดชอบร่วมกับผู้ปฏิบัติอีก 3 คน ทำบทที่ 1 หรือบทนำ ที่จะพูดถึงในเรื่องของความเป็นมาตั้งแต่ข้าวอินทรีย์ ซึ่งเป็นข้าวที่นำมาผลิตข้าวแต๋นและข้าวหมาก หลักการและเหตุผลในการผลิต จุดมุ่งหมายในการทำ บทที่ 2 จะเป็นวิธีการดำเนินงาน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ วิธีการทำ ความแตกต่างของแป้งข้าวหมากและแป้งสาโท ส่วนบทที่ 3 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำการแบ่งงานให้กับสมาชิก โดยข้าพเจ้ารับผิดชอบตั้งแต่หัวข้อความหมายของบรรจุภัณฑ์ ความสำคัณของบรรจุภัณฑ์ วัตถุประสงค์ ประเภทของบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ข้าวหมาก หน้าที่และประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋นจะเป็นสมาชิกอีกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานนางสาวพัชรี แก้วเจ๊ก ได้นัดแนะเพื่อรวมเล่มหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งทางข้าพเจ้าและนางสาวพัชรีได้ทำการเพิ่มเติม และแก้ไขเนื้อหาบางส่วน และทำการรวมเล่มก่อนส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการตรวจสอบ

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดประชุมออนไลน์ ผ่าน google meet โดยมีเรื่องแจ้งในการประชุมดังนี้ การจัดทำ TSI การจัดกิจกรรมวันชาติ กิจกรรมพัฒนาในพื้นที่ และรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน U2T ในการทำ TSI ทางอาจารย์ได้มอบหมายให้ประธานคุยกับสมาชิก และมอบหมายงานให้กับสมาชิก ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ธันวาคม ส่งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรตรวจก่อนส่งวันที่ 6 ธันวาคม เรื่องที่ 2 การจัดกิจกรรมในวันที่ 5 ธันวาคม หรือกิจกรรมวันชาติ จะมีกิจกรรมการตรวจเยี่ยมข้าวหมากข้าวแต๋น ซึ่งจะมีวิทยากรเป็นอาจารย์จากหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มาให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน ซึ่งวิทยากรจะเข้าตรวจเยี่ยมผลิตภัณฑ์ของชุมชน และอาจจะใช้เวลาในการให้คำแนะนำ 20 – 30 นาที แต่ในช่วงนี้ซึ่งเป็นสถานการณ์โควิดทางประธานจึงให้สมาชิกผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทั้งข้าวแต๋น และข้าวหมากเข้าไปดูแลให้ความสะดวกแก่วิทยากร และชาวบ้าน สมาชิกอีกส่วนประธานให้ไปทำกิจกรรมวันชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ทางอาจารย์ได้ให้ช่วยกันคิดกิจกรรมขึ้นมา เช่น การทำความสะอาด, เก็บขยะในชุมชน, การพัฒนาแหล่งน้ำ, การแจกสเปรย์กันยุงและสบู่ล้างมือ เรื่องที่ 3 รายงานสรุปผลปฏิบัติงานทางอาจารย์จะช่วยตรวจความถูกต้อง และถ้ามีข้อแก้ไข อาจารย์จะส่งกลับให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขตามคำแนะนำ  ในการจัดทำ TSI เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ เพื่อมุ่งสู่ตำบลแห่งความยั่งยืน โดยจัดทำเป็นโปสเตอร์ ซึ่งจะมีข้อมูลพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตการปกครอง เทศบาลตำบล และอบต. สภาพทางภูมิศาสตร์จะเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม กิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ ช่วยส่งเสริมอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ การจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการแหล่งท่องเที่ยว ผลลัพธ์ที่ได้ ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น เกิดการพัฒนาทักษะ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างรายได้ภายในชุมชนจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้านสังคม ชุมชนและลูกค้าผู้บริโภคเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์จากข้าว มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบูรณาการกับการผลิต และทำให้ชาวบ้านเกิดความสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปัน พึ่งพาตนเองได้

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 ทางอาจารย์ได้นัดลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมวันชาติ ซึ่งภายในวันที่ 5 จะมีกิจกรรมพัฒนาข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยจะมีชาวบ้านมาร่วมเข้าอบรม และมีอาจารย์จิรายุ มุสิกา อาจารย์ธนวรรณ มุสิกา จากสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยข้าวแต๋นจะมีปัญหาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเมื่อทำการบรรจุแล้วทิ้งไว้จะทำให้ข้าวแต๋นไม่กรอบ และมีลักษณะนิ่ม และปัญหาเกี่ยวกับการตากข้าวแต๋น ซึ่งจะเป็นปัญหาในช่วงเวลาหน้าฝน ทางอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ข้าวแต๋นเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ในถุงพลาสติก PP ซึ่งเป็นพลาสติกที่บางและขาดง่าย  การปิดปากถุงไม่สนิท ก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะจะทำให้อากาศเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ง่าย จึงต้องแก้ปัญหาที่บรรจุภัณฑ์ โดยอาจเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นถุงซิปล็อค ซึ่งง่ายต่อการเปิด-ปิดรับประทาน ซึ่งสามารถทำสติ๊กเกอร์เป็นโลโก้ติดที่ถุงบรรจุภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าได้ หรืออีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยในเรื่องความกรอบของผลิตภัณฑ์ คือ ตัวดูดความชื้น หรือ Silica gel ซึ่งเป็นตัวดูดความชื้น มีความปลอดภัยสามารถใส่ได้กับบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึกที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และก็มีขนาดเล็กเพียงแค่ 2-5 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนในเรื่องของตัวข้าวแต๋นทางอาจารย์แนะนะว่าอาจต้องปรับขนาดให้เท่ากัน และตัวน้ำตาลราดหน้าสามารถปรับเปลี่ยนรสได้ เช่น ชาวบ้านที่ปลูกโกโก้ สามารถนำเมล็ดโกโก้มาสกัดเป็นผง และมาผสมกับน้ำตาลราดข้าวแต๋นได้ ส่วนข้าวหมาก มียอดขายที่ดี มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตัวผลิตภัณฑ์ข้าวหมากมีหลากหลายเช่น ข้าวหมากใบเตย ข้าวหมากกระเจี๊ยบ ข้าวหมากอัญชัน ข้าวหมากธรรมชาติ และข้าวหมากข้าวเหนียวดำ ซึ่งปัญหาของข้าวหมากจะเป็นช่วงหน้าหนาว เพราะข้าวหมากจะเป็นช้า ซึ่งถ้าหากมีออเดอร์เข้ามาจะทำให้เตรียมข้าวหมากไม่ทัน ทางอาจารย์จึงแนะนำว่าช่วงหน้าหนาวให้ทำข้าวหมากใส่ในกล่อมโฟม และนำผ้าชุบน้ำอุ่นมาคลุม เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ตัวข้าวหมากที่ทำมาจากข้าวอินทรีย์ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะได้ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่า ซึ่งทางอาจารย์แนะนำว่าสามารถนำไปทำการตลาดได้ง่าย การโฆษณามีความน่าสนใจ เพราะเป็นอินทรีย์ปราศจากสารเคมี และเราสามารถนำตัวข้าวส่งไปตรวจที่ห้อง Lab เพื่อขอใบรับรองได้ ส่วนเรื่องการพัฒนาข้าวหมากไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆสามารถทำได้เช่นเดียวกัน เช่น การทำไอศกรีมข้าวหมาก ซึ่งในการทำไอศกรีมจะต้องทำการคิดสูตรที่ลงตัว ต้องมีเครื่องทำไอศกรีม ซึ่งอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564 กิจกรรมวันชาติ เป็นการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมนี้ทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ให้ทีมผู้ปฏิบัติงานพัฒนาพื้นที่ที่วัดด่านทอง ซึ่งจะมีการล้างห้องน้ำ และการปลูกต้นไม้ โดยต้นไม้ที่ปลูกเป็นต้นหลิว และต้นพยับหมอกซึ่งมีความทน และง่ายต่อการดูแล ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบปลูกต้นไม้ ซึ่งสถานที่ปลูกจะอยู่ข้างศาลาที่พัก และที่น้ำตก การปลูกจะปลูกเป็นทางเดิน ซึ่งจะมีความสวยงาม สะอาดตา ร่มรื่น มีพระอาจารย์ทางวัดมาช่วยดูแลคอยให้ความสะดวกไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ปลูก หรือน้ำที่ใช้การรดต้นไม้ เมื่อทำการปลูกเสร็จจะมีการใส่ปุ๋ยซึ่งเป็นปุ๋ยคอก และมีการรดน้ำต้นไม้หลังปลูกเสร็จ ซึ่งทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น ถือเป็นการทำสิ่งที่มีผลประโยชน์ต่อส่วนรวมและเป็นการเสียสละให้แก่ชุมชน เป็นกิจกรรมที่ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่และยังช่วยปรับปรุงทัศนียภาพบริเวณน้ำตกหน้าศาลาวัดด่านทอง จากพื้นที่ที่เคยมีสภาพที่เป็นดินและปูนที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ไม่สวยงาม การทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ครั้งนี้ช่วยทำให้ทัศนียภาพมีความสวยงามขึ้น ร่มรื่น ซึ่งทั้งยังสามารถเป็นที่พักผ่อนให้ชาวบ้านและคนอื่นมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่การปลูกต้นไม้ในครั้งนี้ ส่วนกิจกรรมล้างห้องน้ำ ซึ่งวัดด่านทองมีอาณาบริเวณกว้างขวางและเป็นวัดที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาตลอดทั้งเข้ามาเยี่ยมชมเพื่อไหว้ สักการะและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และด้วยเหตุที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เข้ามาประกอบกิจธุระที่วัดด่านทอง ส่งผลให้พระภิกษุสามเณรในวัด ต้องแบกภาระและทำความสะอาดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จึงเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีกิจกรรมทำความสะอาดห้องน้ำวัดด่านทองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานทีมทะเมนชัยสร้างจิตสำนึกมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดให้กับพื้นที่สำคัญของชุมชน โดยกิจกรรมล้างห้องน้ำจะเป็นการขัดถู ทำความสะอาด ซึ่งห้องน้ำจะมีประมาณ 20 ห้อง มีการขัดพื้น ล้างส้วม ฉีดน้ำเพื่อความสะอาดและน่าใช้งาน

อื่นๆ

เมนู