การพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ข้าวหมากและข้าวแต๋น” ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ (HS08)

นางสาวรัชฎาภรณ์  ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน

     การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของข้าวหมากของชุมชนบ้านบริหารชนบท ม.6 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ กลุ่มตัวแทนชาวบ้านมีอาชีพเสริมคือการทำข้าวหมาก โดยระบุว่า ได้ใช้ใบตองในการบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก มีการค้าขายในชุมชน ส่งขายในตลาดสดอำเภอลำปลายมาศ และต่างจังหวัดต่อมาทีมที่ปรึกษาได้มีการสอบถามถึงปัญหาของบรรจุภัณฑ์ ตัวแทนชาวบ้านให้ความเห็นว่า การใช้ใบตองในการบรรจุภัณฑ์ยังไม่ตอบโจทย์ เพราะน้ำข้าวหมากมีการรั่วซึมออกมา ทีมที่ปรึกษาจึงร่วมกันระดมความคิดออกแบบลิตภัณฑ์ข้าวหมากโดยใช้กระปุกพลาสติกเซฟตี้แบบมีซิปล็อก ส่วนข้าวหมากชาวบ้านได้ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติมีเพิ่มสีสันให้กับข้าวหมาก เช่น สีเขียวจากน้ำใบเตย สีม่วงจากน้ำอัญชัน เพิ่มความดึงดูดให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น

           ทีมที่ปรึกษาได้แนะนำการจัดทำบัญชีให้กับกลุ่มตัวแทนชาวบ้านบริหารชนบท ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 3 คน ได้แก่

         1.นางอุทัย ทองทา

         2.นางสังวาล คุชิตา

         3.นางกัณหา กุตาวัน
          โดยใช้วิธีการจัดทำบัญชีแบบอย่างง่าย แสดงรายรับ- รายจ่ายอย่างชัดเจน และสามารถนำกำไรมาต่อยอดในการลงทุนครั้งต่อไปได้ ทางทีมที่ปรึกษาจึงได้สืบค้นข้อมูลวิธีการจัดทำบัญชีจากอินเตอร์เน็ตและได้นำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มตัวแทนในชุมชน

         กลุ่มตัวแทนข้าวหมากของ ต.ทะเมนชัย ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ง่าย สามารถต่อยอดพัฒนาชาวบ้านในชุมชนให้ขยายกลุ่มตัวแทนจาก 3 คน เป็น 5- 10 คน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต

         การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ให้ดูโดดเด่น น่าสนใจ และตอบโจทย์ สามารถแก้ปัญหาการรั่วซึมของข้าวหมากเวลาส่งออกไปต่างจังหวัด ทีมที่ปรึกษาจึงเลือกกระปุกพลาติกเซฟซี้ซิลและร่วมกันออกแบบโลโก้ข้าวหมาก เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือให้กับสินค้ามากขึ้น

         การแลกเปลี่ยนและให้ความรู้การป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้ไม่ค่อยดีนัก เพราะเกิดจากการขาดความรับผิดชอบต่อสังคม การไม่สวมแมส การไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงสาธารณสุข การได้รับวัคซีนที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จึงได้แนะนำให้ชาวบ้านเฝ้าระวัง โดยแนะนำให้ชาวบ้านสวมใส่แมส ใช้เจลล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง มีจุดตรวจเข้า-ออกในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงของคนในชุมชน

         อาจารย์และสมาชิกทีมผู้จ้างงาน มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นการสรุปผลการปฏิบัติงาน รอบที่ 1 ช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม โดยร่วมกันวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล และจัดทำแพลตฟอร์ม ในระยะเวลา 5 เดือน ที่ผ่านมา ได้มีการได้มีการพัฒนาชุมชนในด้านใดบ้าง ชุมชนได้มีการสานต่อในเรื่องที่ได้ฝึกอบรมไปหรือไม่

            การประชุมสมาชิกทีมผู้จ้างงานวางแผนการการพัฒนาพื้นที่ในเดือนสิงหาคม โดยมีการคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์การทำข้าวหมาก การติดตามผลการทำข้าวหมากของคนในชุมชน การแนะนำให้ชุมชนจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย จนสามารถนำมาต่อยอดได้ มีการจัดทำโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรมนักเล่าเรื่องชุมชนในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564

           ทีมที่ปรึกษาได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก การสร้างตลาดออนไลน์ เช่น เพจ facebook และ Line รวมถึงการประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชน ทีมที่ปรึกษาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากจากการสืบค้นข้อมูลพบว่า การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเซฟซี้ซิล ที่มีความเหมาะสม เพราะสามารถส่งออกนอกต่างจังหวัดได้ ไม่มีรั่วซึมของน้ำข้าวหมาก ผลิตภัณฑ์ไม่เสียหาย อีกทั้งยังออกแบบโลโก้ให้กับชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อถือและดูเป็นการตลาดมากยิ่งขึ้น

. รูปภาพประกอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู