รายงานผลการปฏิบัติงานในโครงการ (เดือนกันยายน)
การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
(HS08)
นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ ผู้ดำเนินงานประเภทบัณฑิตจบใหม่
พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 บ้านหนองตาด ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการลงพื้นที่บ้านทะเมนชัยม.1,ชุมชนตลาดทะเมนชัย ม.2, บ้านหนองตาด ม.3 และบ้านบริหารชนบท ม.6 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์ และมาจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานโดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงาน ให้เก็บรวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปในพื้นที่บ้านหนองตาด ม.3 ข้าพเจ้าได้ประสานงานและสอบถามข้อมูลกับนายมนตรี ซอยรัมย์ ผู้ใหญ่บ้านหนองตาด โดยสรุปข้อมูลได้ดังนี้ บ้านหนองตาด ม.3 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 706 คน แบ่งเป็นชาย 341 คน หญิง 365 คน จำนวน 169 หลังคาเรือน ปัจจุบันมีนายมนตรี ซอยรัมย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่บริเวณชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่นาของเกษตรกรและทำเลเลี้ยงสัตว์ มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม/ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร่วมประกอบศาสนกิจที่ วัดด่านทองประชาสามัคคี ม.3 บ้านหนองตาด /ใช้ภาษาอิสานซึ่งเป็นภาษาถิ่นเดิมในการสื่อสาร/มีร้านค้าในชุมชน จำนวน 3 แห่ง/ วัด 1 แห่ง/ โรงเรียน 1 แห่ง /แหล่งน้ำ 1 แห่ง/ มีเส้นทางคมนาคม 9 เส้นทาง/ ถนนสายหลักที่ใช้ในการคมนาคมขนส่ง คือ ถนนรถไฟ /มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ งานจักสาน(อุปกรณ์ดักจับปลา),ถั่วตัด,ข้าวหมาก/การประกอบอาชีพของคนในชุมชน ได้แก่ อาชีพเกษตรกร รับจ้าง ค้าขายและรับราชการ/ยึดถือ”ธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี” เป็นการจัดระเบียนสังคมและเป็นมาตรการทางสังคมหมู่บ้านให้ประชาชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้/มีประเพณีและวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นตามความคิดความเชื่อ ได้แก่ การทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่(1-2มกราคม), งานประเพณีเทศมหาชาติ(บุญผะเหวด) , งานสืบสานประเพณีสงกรานต์และงานนมัสการพระธาตุเจดีย์ , งานประเพณีบุญเดือน6 จะมีขึ้นในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี , งานประเพณีแห่เทียนพรรษา , งานประเพณีลอยกระทง , วันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติจะมีการร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรเข้าวัดและการแสดงออกถึงความจงรักภักดี/ภูมิปัญญา ได้แก่ งานจักสาน , การถนอมอาหาร(แปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก) , การทำพานบายสี , การทอผ้า/ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ได้แก่ สถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง พระอุโบสถที่วัดด่านทองประชาสามัคคี และในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบของการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19ของชุมชนอย่างเคร่งครัด มีการสวมหน้ากากอนามัย2ชั้น เว้นระยะห่าง ฉีดพ้นและล้างมือด้วยเจลสเปรย์แอลกอฮอล์ทุกครั้งเมื่อมีการพูดคุย สัมผัส หยิบจับสิ่งของในชุมชนและในที่สาธารณะ
ภาพประกอบ :
ภาพที่1. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา ณ บ้านหนองตาด ม.3 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ภาพที่2.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา ณ บ้านทะเมนชัย ม.1 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
ภาพที่3. การสอบถามข้อมูลสำคัญของชุมชนและทำการจดบันทึกข้อมูล
ภาพที่4.ร้านค้าในชุมชน(ร้านช่างนายเจริญยนต์) บ้านหนองตาด ม.3
ภาพที่5. ภูมิปัญญา(การทำพานบายสี)ของนางสุคนธ์ ซอยรัมย์ ปราชญ์ชาวบ้านหนองตาด ม.3
ภาพที่6.การทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ (วันที่1มกราคม2564)
เมื่อวันที่29สิงหาคม2564 ข้าพเจ้าได้นำเงินสนับสนุนของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปมอบให้แก่กลุ่มสมาชิกพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาด ม.3 และสมาชิกได้มีการจดบันทึกลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวทางบัญชีและผลตอบรับของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงได้สอบถามพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มเพื่อติดตามผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก พบว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCovid-19และช่วงฤดูฝน จึงทำให้มียอดสั่งซื้อข้าวหมากในพื้นที่ต่างจังหวัดลดลง และทางสมาชิกได้แจ้งกับข้าพเจ้าว่า’“มีความสนใจอยากลองพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆด้วย เช่น ข้าวแต๋น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาไว้ทานได้นานและทานได้ทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังอยากนำความรู้เรื่องการใช้สีสันที่จะพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ข้าวหมากนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นอีกด้วย” ข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงความต้องการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของสมาชิก จึงได้ให้คำแนะนำและสืบค้นข้อมูลหาขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋นให้มีสีสันและรสชาติที่แปลกใหม่ โดยข้าพเจ้าได้ทดลองฝึกฝน ทดลองตลาด เพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อจะได้นำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกฝนทดลองทำนี้ไปถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับกลุ่มสมาชิกต่อไป
ภาพประกอบ :
ภาพที่7.ลงพื้นที่มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ณ บ้านหนองงตาด ม.3
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม2564ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้เริ่มเรียนรู้วิธีการทำข้าวแต๋น ผ่านช่องทางYoutubeและสืบค้นข้อมูลจากInterneได้มีการทดลองทำ ลองผิดลองถูก จนสามารถได้ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นที่มีสีสันหลากหลายและได้รสชาติที่แปลกใหม่ มีความโดดเด่นและสามารถชูวัตถุดิบ(ข้าวเหนียวอินทรีย์)ได้ และได้มีการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางFacebook ส่วนตัวและจัดทำPage เพื่อทดลองตลาด แต่ในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นพบปัญหา คือ ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝนจะทำให้ไม่สามารถผลิต(ตาก)”ข้าวแต๋นดิบ”ได้ เพราะถ้า”ข้าวแต๋นดิบ”ไม่ได้ตากแดดจนแห้งพอ จะทำให้มีความอับชื้น และเมื่อนำมาทอด”ข้าวแต๋น”ไม่ได้คุณภาพ และทำให้การจัดจำหน่ายล่าช้า หยุดชะงักได้ ข้าพเจ้าได้มีการแก้ไขปัญหาคือ ใช้วิธีการเปิดพัดลมเป่าข้าวแต๋นดิบแทน แต่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า(ต้นทุนในการผลิต) เพราะต้องใช้เวลานานกว่าข้าวแต๋นดิบจะแห้ง และทำให้เมื่อนำมาทอดแล้วข้าวไม่พองสวยและรสชาติไม่ดีเท่าการนำไปตากแดด ดังนั้นในช่วงหน้าฝนจึงไม่เหมาะแก่การผลิตข้าวแต๋น ข้าพเจ้าจึงได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกฝนตนเองไปถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนกับสมาชิกบ้านหนองตาดและกลุ่มสมาชิกบ้านน้อยพัฒนาเพื่อปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
ภาพประกอบ :
ภาพที่8. ข้าวแต๋นดิบ ที่ตากแดดไว้สำหรับทอด (ฝึกทำด้วยตนเองที่บ้าน)
ภาพที่9. ข้าวแต๋นทอดที่ได้จากการใช้สีสันที่หลากหลาย(ฝึกทำด้วยตนเองที่บ้าน)
เมื่อวันที่ 1กันยายน2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมทางออนไลน์(Google meet) เพื่อระดมความคิดและร่วมกันวางแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการอบรม”นักเล่าเรื่องชุมชน” เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในชุมชนตำบลทะเมนชัย และข้าพเจ้าได้ประสานงานไปยังสมาชิกกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก บ้านหนองตาด ม.3 เพื่อหาตัวแทนจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม”นักเล่าเรื่องชุมชน”นี้ ซึ่งมีตัวแทนที่สนใจเข้าร่วม ได้แก่
- นางวิชนี แกล้วกล้า ตัวแทนกลุ่มบ้านหนองตาด ม.3
- นางสำรวย เชิญรัมย์ ตัวแทนกลุ่มบ้านหนองตาด ม.3
ซึ่งเป็น“วิทยากรตัวแทนจิตอาสากลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก” ที่มีความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนเป็นอย่างดีและสามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับชุมชน วิถีชีวิตและทักษะอื่นๆ ให้แก่คนในชุมชนได้
แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCovid-19 จึงทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินงานโดยใช้วิธีการโทรและแชทLine ประสานงานไปยังนายมนตรี ซอยรัมย์ ผู้ใหญ่บ้านหนองตาด ม.3 และนางสุคนธ์ ซอยรัมย์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาด ม.3 เพื่อสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องราวของดีในชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม จุดเด่นของชุมชน โดยในเบื้องต้น ข้าพเจ้าได้สืบค้นข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญในชุมชนออกมาเป็น ผังเมืองแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในชุมชนบ้านหนองตาด ม.3 และได้จัดทำเป็นแผนที่ชุมชน ดังนี้
ข้าพเจ้าได้ติดตามผลการอบรมผลิตภัณฑ์ข้าวหมากบ้านหนองตาดม.3 พบว่า กลุ่มสมาชิกมีความตั้งใจและมีการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาสีสันและรสชาติของข้าวหมากให้มีความแตกต่างจากข้าวหมากทั่วไป มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท่องถิ่น รวมไปถึงการปรับปรุงพัฒนารูปแบบของLogoสินค้าให้มีความทันสมัย น่าสนใจ และ Packaging ที่แน่นหนามิดชิด เพื่อให้แก่การรับประทานและการขนส่ง แต่พบปัญหา คือ ยอดขายลดลงไปจากเดิม เพราะเนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์Covid-19และอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่สมาชิกยังมีการรวมกลุ่มกันฝึกฝน พัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ
ข้าพเจ้าจึงได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการขายผ่านช่องทางออนไลน์ของตนเอง มาแนะนำให้สมาชิกกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋นมาปรับใช้ เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านเพจ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย เพื่อนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน,ผ่านFacebook ส่วนตัว,การบอกต่อ,การออกแบบและจัดทำโบรชัวร์,แผ่นพับ ที่มีรูปภาพของผลิตภัณฑ์ที่สวยงามดึงดูดความสนใจสำหรับเอาไว้แจก เพื่อเป็นการแนะนำ ประชาสัมพันธ์ และเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวในชุมชน
ภาพประกอบ :
ภาพที่10. การทำเพจประชาสัมพันธ์สินค้าและผลิตภัณฑ์และการออกแบบแผ่นพับสำหรับแจก
ข้อเสนอแนะ
ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า อยากให้มีการขยายเครือข่ายองค์ความรู้สู่คนในชุมชนให้มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่จัดกิจกรรมได้ จึงทำให้การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ข้าพเจ้าคิดว่าควรจัดอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การปรับปรุงพัฒนารูปแบบPackaging และLogoสินค้า การขยายตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากรมาถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มเติม
วิดีโอประกอบการลงพื้นที่ :