หลักสูตร: HS08 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กันยายน 2564
ข้าพเจ้า นายอภิวัต สำรวมรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ในช่วงห้าเดือนแรกของการทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม ได้มีการสรุปข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 01 02 และ06 ในตำบลทะเมนชัย และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลโดยเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานของตำบลทะเมนชัย มีการแบ่งเขตการปกครอง คือเทศบาลตำบลดูแลรับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน และอบต.ดูแลรับผิดชอบ 10 หมู่บ้าน โดยมีประชากรทั้งหมด 9,030 คน ซึ่งได้มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้านที่ต้องการมีรายได้เสริมโดยการนำผลผลิตจากการเกษตรคือข้าวอินทรีย์มาแปรรูปเป็นข้าวหมากและข้าวแต๋น อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้มีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ขึ้นมาโดยการจัดทำเป็นคู่มือและเผยแพร่สู่ระบบสารสนเทศ เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกิดการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ในตำบลทะเมนชัย และเป็นการสร้างศักยภาพที่ยั่งยืนของชาวบ้านได้ในอนาคต เพราะในการวิเคราะห์ข้อมูลตลอดการลงพื้นที่ห้าเดือนที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่มีความต้องการความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งเรื่องรายได้ สุขภาพ การบริการของภาครัฐ และการศึกษาของลูกหลาน ดังนั้นการที่มีโครงการเข้ามาให้การสนับสนุนในเรื่องการสร้างอาชีพและรายได้ถือเป็นประโยชน์ที่ชาวบ้านได้รับ เพราะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วยให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนและก่อให้เกิดทักษะ และความสามัคคีทำให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และการออกแบบบรรจุภัณฑ์และโลโก้ ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ลงพื้นที่ไม่ได้จึงได้วางแผนการทำงานในรูปแบบช่องทางออนไลน์ เช่น ผ่านแอพพลิเคชั่น Line และ Google Meet เรื่องการจะนำบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกระปุกเซฟตี้มาใช้กับผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก และถุงซิปล็อคกระดาษดราฟต์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ยังมีการระดมความคิดเรื่องการออกแบบโลโก้ร่วมกันเพื่อให้เห็นเป็นจุดเด่นว่าเป็นสินค้าที่มาจากชุมชนที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดและสามารถนำออกขายสู่ตลาดได้ จนเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และดิฉันรับผิดชอบดูแลของหมู่บ้านที่เข้ารับการอบรมการทำข้าวหมากได้หาข้อมูลเรื่องบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมและได้นำเสนอไป หากมีผู้ที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวหมากเป็นของฝาก เราก็จะนำข้าวหมากที่บรรจุอยู่ในกระปุกเซฟตี้แล้วใส่ในถุงพลาสติกซิปล็อคและนำมาใส่ในชะลอมและตกแต่งด้านบนด้วยเชือกปอป่าน เพื่อความสวยงามและดึงดูดความน่าสนใจ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ยังได้กระจายรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนที่มีความถนัดในเรื่องของการจักสานและยังเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติซึ่งสามารถหาได้ในชุมชน
ส่งเสริมด้านการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายข้าวหมากและข้าวแต๋นให้แก่ชาวบ้านตำบลทะเมนชัย จะทำให้ชาวบ้านมีผลิตภัณฑ์ในชุมชนเป็นสินค้า OTOP เพื่อเพิ่มรายได้ การส่งเสริมรูปแบบการตลาด Offline เช่น การจัดแสดงและจำหน่ายข้าวหมากและข้าวแต๋นในรูปแบบสินค้า OTOP ในตลาดนัดชุมชนในตำบลทะเมนชัย การจัดแสดงและจำหน่ายในลักษณะงาน Event และรูปแบบการตลาด Onlineส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทะเมนชัยมีคมนาคมการเดินทาง2ช่องทาง ช่องทางที่1คือทางถนน ช่องทางที่2คือทางราง สะดวกต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเยี่ยมเยือนชาวบ้านตำบลทะเมนชัยนักท่องเที่ยวจะได้ไปสัมผัสกับพระธาตุทะเมนชัยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือกันมาช้านานไปไหว้ขอพรให้เกิดสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตและอีกทั้งผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่น ข้าวหมากและข้าวแตนซึ่งทำมาจากข้าวอินทรีย์ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนำมาทำผลิตภัณฑ์นั่นเอง
ติดตามและให้คำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น บ้านใหม่หนองน้ำขุ่น โดยมีการรวมกลุ่มของตัวแทนชาวบ้านที่เข้าอบรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สูตรคงที่เพื่อรักษารสชาติให้อร่อยและตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค และการออกแบบสีสันให้โดดเด่น โดยมีการนำสีจากวัตถุดิบของธรรมชาติมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากฟักทอง สีม่วงจากอัญชัน สีแดงจากแตงโม เป็นต้น รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใส่ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยให้กลุ่มตัวแทนเลือกแบบที่จะนำมาใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์สู่ข้าวแต๋นของกลุ่มชาวบ้าน บ้านหนองน้ำขุ่นผู้ทำผลิตภัณฑ์ ต้องทำให้สูตรคงที่เพื่อรักษารสชาติให้อร่อยและตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค และการออกแบบสีสันให้โดดเด่น ต้องมีการพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์รูปแบบของผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ ให้มากขึ้นและต้องการขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภควัยเด็ก และวัยรุ่น ให้หันมากินขนมพื้นบ้านไทย เพราะได้คุณค่าทางอาหารสำหรับการผลิตข้าวแต๋น ของชุมชนใน ‘หมู่บ้านหนองน้ำขุ่น’ นั้น กว่า 45%ของชุมชนมีรายได้จากการทำข้าวแต๋น จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่บ้านข้าวแต๋น นอกจากทำการเกษตรแล้วอาชีพรองคือ การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม สร้างรายได้เฉลี่ย 300 – 450 บาทต่อคนต่อวัน
การแนะนำการตลาด โดยให้ชาวบ้าน บ้านบ้านหนองน้ำขุ่นคิดการตลาดร่วมกันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มรับรู้ถึงแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านและการตลาดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มาเพิ่มความรู้ให้กับ กลุ่มชาวบ้านโดยการจัดอบรมเรื่องช่องทางการตลาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวแต๋นและการใช้สื่อออนไลน์ในการขายผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้าการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละช่องทาง และสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ การให้ความสำคัญใน เรื่องการแปรรูปเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าที่มีเอกลักษณ์ เพื่อให้สามารถดึงดูด ความสนใจให้กับผู้ซื้
ทีมU2Tตำบลทะเมนชัย ได้สร้างเพจ Facebook และ Line รวมถึงการประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนตำบลทะเมนชัย ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นเพื่อให้สูตรคงที่เพื่อรักษารสชาติให้อร่อยและตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค และการออกแบบสีสันให้โดดเด่น โดยมีการนำสีจากวัตถุดิบของธรรมชาติมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เช่น สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากฟักทอง สีม่วงจากอัญชัน สีแดงจากแตงโม เป็นต้น ข้าวแต๋นเหมาะกับการใส่ภาชนะแบบกระปุกใส เพราะสะดวกต่อการรับประทานและการพกพา ไม่ทำให้ตัวของข้าวแต๋นแตกหักง่ายที่มีความเหมาะสม เพราะสามารถจัดส่งต่างจังหวัดได้ ผลิตภัณฑ์ไม่เสียหาย อีกทั้งยังออกแบบโลโก้ให้กับชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อถือและดูเป็นการตลาดมากยิ่งขึ้น