1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. รายงานการดำเนินงานโครงการ บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า หมู่ที่ 13 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เดือนกันยาน 2564 (HS08)

รายงานการดำเนินงานโครงการ บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนาชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า หมู่ที่ 13 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เดือนกันยาน 2564 (HS08)

ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายให้สำรวจข้อมูลทั่วไปของแต่ละชุมชนใน ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดย ต.ทะเมนชัยมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 17 หมู่บ้าน โดยมีการนัดรวมกลุ่มกันเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวน 5 คน ได้แก่ 1.นางสาวสิรินภา ทะกาเนนะ 2.นางสาวณัฐริยา จงปลูกกลาง

3.นายยงยุทธ เขียววิลัย 4.นายธนาธิป เสาวพันธุ์ 5.นางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์

วันที่ 11กันยายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจและสอบถามสภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา บ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ

ประวัติทั่วไป

แต่ก่อบ้านบุลิ้นฟ้าเป็นป่าหัวไร่ปลายนาของ ๒ ตระกูล คือตระกูล แสนรัมย์ / ซุยรัมย์ คนทั้ง ๒ ตระกูลนี้ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนโดยมี พ่อใหญ่แสงกับแม่ใหญ่สิงห์ แสนรัมย์ และอีกครับครัว ๑ คือ พ่อใหญ่โม่กับแม่ใหญ่อ่อน ซุยรัมย์ ซึ้งทั้ง ๒ ครอบครัวนี้ได้เป็นผู้ก่อตั้งบ้านบุลิ้นฟ้า

ต่อมาก็มีผู้คนเข้ามาอยู่ออาศัยโดยมีลูกๆหลานๆมาพร้อมจึงมีการจัดสรรแบ่งที่ให้ตามสัดส่วนและยังมีผู้มาขอซื้ออีกมาก จนหมู่บ้านมีครอบครัวเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน แต่ก่อนยังไม่มีบ้านบุลิ้นฟ้ามีแต่บ้านหนองตาดหมู่ ๓ ต่อมาคนเริ่มมีคนมาอาศัยมากขึ้น ทางการจึงจัดตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ โดยชาวบ้านได้เลือก นายคูณ แกล้วกล้า เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ผู้ใหญ่คูณ ปฏิบัติงานได้เพียง ๔ ปีก็ลาออก จึงได้เลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่คือนายแก้ว แซมรัมย์ ได้ปฏิบัติงานได้เพียง ๑๓ ปี แล้วลาออกจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่คือนายจรูญ เชือกรัมย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านครบวาระ ๔ ปีต่อมาได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่คือนายวิจิตร ซุยรัมย์ และได้ขอแยกหมู่บ้านบุลิ้นฟ้าออกมาจากบ้านหนองตาดเนื่องจากมีผู้อยู่อาศัยมากขึ้นเมื่อทำการแยกบ้านขึ้น นายวิจิตรซุยรัมย์ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ ๗ ปี ก็ลาออก

ก่อนหน้านั้นบ้านบุลิ้นฟ้ายังไม่มีการตั้งซื่อหมู่บ้านจึงได้มีการปรึกษาหารือกันทางหมู่บ้านโดยมีผู้เสนอชื่อหมู่บ้านจำนวน ๒ ฝ่าย ฝายแรกเสนอชื่อบ้านสระนกเขา ฝ่ายที่ ๒ ได้เสนอชื่อบ้านบุลิ้นฟ้า ช่วงนั้นเป็นระบบประชาธิปไตย ชาวบ้านได้ยึดเสียงเป็นส่วนข้างมากที่สุด และบ้านบุลิ้นฟ้าได้รับรับรองเสียงมากที่สุดและได้ทำการจัดตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้น “บ้านบุลิ้นฟ้า “ ชื่อนี้มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ”ต้นบุลิ้นฟ้า “  เพราะในหมู่บ้านมีต้นไม้ชนิดนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และในช่วงเวลาต่อมาได้มีผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ คือนายสังข์  ประกอบมี  และเมื่อนายสังข์  ประกอบมีได้เกษียณอายุราชการก็ไม่มีผู้ใหญ่บ้านแต่มีผู้นำชุมชน คือ นายประสิทธิ์ ชัยวิชา ปัจจุบันนายสุที แสนรัมย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน บ้านบุลิ้นฟ้ามีจำนวนประชากรทั้งหมด ๓๒๑คน เป็นชาย ๑๕๔ คน เป็นหญิง ๑๖๗ คน ผู้สูงอายุ ๕๔ คน ผู้พิการ ๑๗ คน จำนวนหลังคาเรือน ๙๔ หลังคาเรือน

 

แผนที่ชุมชน

บ้านบุลิ้นฟ้ามีพื้นที่ทั้งหมด ๒๒๔๐ ไร่  พิกัด gps ๐๔๓๐๖๕

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิดเหนือติดต่อกับบ้านหนองเจ้าหัว ต.บุโพธิ์

ทิดใต้ติดกับบ้านหนองตาด    ต.ทะเมนชัย

ทิดตะวันออกติดกับบ้านหนองม่วงน้อย  ต.ทะเมนชัย

ทิดตะวันตกติดกับบ้านทะเมนชัย ๒    ต.ทะเมนชัย

ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นพื้นที่ราบ – ดอน  อาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร  ไม่มีแหล่งน้ำชลประทาน

 

วันที่13กันยายน 2564ช่วงเช้าเวลา 09.00 น. พวกเราได้เดินทางไปสอบถามข้อมูล ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านทะเมนชัย ม.1 และได้พากันไปถ่ายรูปสถานที่แหล่งน้ำประจำหมู่บ้านร่วมกับผู้ใหญ่บ้านและร้านค้าในชุมชนจำนวน 2 แห่ง เป็นร้านขายของชำทั้งหมด

เวลา 10.00 น. ได้เดินทางไปที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ม.7 บ้านหนองตราด เพื่อสอบถามข้อมูลกับผู้ใหญ่บ้านและเก็บภาพบรรยากาศร้านค้าในชุมชนทั้งหมด 3 ร้าน เป็นร้านขายของชำ 2 ร้านและร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 1 ร้าน

เวลา 11.00 น. ได้เข้าไปสอบถามข้อมูลกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านตลาดทะเมนชัย ณ จุดตรวจทางเข้า – ออก ของชุมชน และได้ถ่ายภาพร่วมกับผู้ช่วยและร้านค้าในชุมชนจำนวน 2 ร้าน ซึ่งเป็นร้านขายปุ๋ยและร้านขายของชำ มีการสอบถามถึงความเป็นอยู่และการค้าขายในช่วงสถานการณ์โควิด 19

เวลา 12.00 น. ได้เดินทางไปที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านบริหารชนบท ม. 6 ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่หมู่บ้านนั้นๆ ได้แก่ ประวัติทั่วไป แผนที่ชุมชน ข้อมูลสำคัญรายตำบล ข้อมูลสมาชิกชุมชน ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม และพืชสมุนไพรในชุมชน ได้รวบรวมข้อมูลมาทั้ง 17 หมู่บ้าน ของ ต.ทะเมนชัย แล้ว ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้นัดรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านและจัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการรอบแรก (เดือนมีนาคม-กรกฎาคม) 2564 เพื่อจัดทำรูปเล่มพร้อมส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การส่งเสริมการตลาดในชุมชนของ ต.ทะเมนชัย ข้าพเจ้าและทีมงานได้ปรึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำการตลาดในชุมชน และได้จัดทำเพจเฟซบุ๊กกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋นของ ต.ทะเมนชัย โดยในเพจได้มีการลงภาพกิจกรรมการทำข้าวหมากและข้าวแต๋นของคนในชุมชน กิจกรรมการอบรมการทำขนม โดยมีวิทยากรมาสอนและสาธิตวิธีการทำพร้อมทั้งให้คนในชุมชนได้ลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนั้นข้าพเจ้าและทีมงานได้จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 พร้อมทั้งการแนะนำให้ได้รับการฉีดวัคซีน และมีอุปกรณ์การป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 เช่น แมส สบู่ เจลล้างมือ ยังไม่พอทางเรามีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในชุมชน ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ใหญ่ทะเมนชัย ศาลเจ้าพ่อหินตั้ง และสถานีรถไฟทะเมนชัย ที่จะใช้ประชาสัมพันธ์ควบคู่กับการขายข้าวหมากและข้าวแต๋น

หมู่บ้านบ้านบุลิ้นฟ้า ม.13 มีสมาชิกในการทำข้าวหมากจำนวน 5ท่าน ได้แก่ 1.นางสมบูญ ปักษา 2.นางสุณี นวลไธสง  3.นางไพรี ซึมรัมย์ 4.นางระเบียบ ถนอมศิลป์  5.นางวิภาดา  ซุยรัมย์

เป็นเวลา 6 เดือนที่สมาชิกทั้ง 5 ท่านได้ทำกิจกรรมข้าวหมากร่วมกันและสามารถทำขายได้จริง ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้ดูแลบ้านบริหารชนบทได้มีการติดตามและประเมินผลการทำข้าวหมากของกลุ่มเป้าหมายเป็นประจำทุกเดือน พบว่าการทำข้าวหมากครั้งนี้สามารถทำขายเป็นรายได้เสริมจริงให้กับกลุ่มเป้าหมาย ข้าพเจ้าจึงได้แนะนำการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย เพื่อที่จะสามารถนำเงินไปต่อยอดในการทำข้าวหมากในครั้งต่อไปได้ อีกทั้งยังได้แนะนำให้กลุ่มเป้าหมายได้ลองใช้สีจากธรรมชาติมาพัฒนาในการทำข้าวหมาก เช่น สีเขียวจากใบเตย สีฟ้าจากดอกอัญชัน เป็นต้น นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังได้สอบถามถึงปัญหาในกระบวนการทำข้าวหมากว่าเป็นอย่างไรบ้าง พบว่าผลิตภัณฑ์ในการส่งออกไปยังต่างจังหวัดมีการรั่วซึมของน้ำข้าวหมาก ข้าพเจ้าจึงได้แนะนำให้ใช้กระปุกพลาสติกเซฟตี้ในการบรรจุภัณฑ์เวลาส่งไปต่างจังหวัด

ต.ทะเมนชัยขึ้นชื่อในเรื่องของข้าวอินทรีย์ ซึ่งประชากรโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นเกษตรกร ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้ระดมความคิดและสอบถามไปยังผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน ผลปรากฏว่า เข้าวหมากและข้าวแต๋นเป็นตัวเลือกหลักในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว หลังจากนั้นจึงได้หากลุ่มผู้ที่มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เป็นรายได้เสริมหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ข้าพเจ้าและทีมงานยังริเริ่มความคิดที่จะพัฒนาคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น โดยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานและรักษาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน และให้กลุ่มเป้าหมายสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

ข้าพเจ้าได้แนะนำการทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายโดยอยากให้เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนและแหล่งจำหน่ายในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าโอทอปประจำตำบลทะเมนชัย และเพิ่มช่องทางการขายทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook และ Line และสนับสนุนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงและจำหน่ายสินค่าในระดับท้องถิ่น เพื่อยกระดับให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากได้เป็นสินค้าประจำตำบลทะเมนชัย นอกจากนั้น ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเรื่องการออกแบบโลโก้ให้กับกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋น เพื่อสร้างคุณค่าและความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้า

ทุกวันนี้สื่อออนไลน์ได้เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันมาก อีกทั้งให้ความรวดเร็วและความสะดวกสบายการขายของออนไลน์จึงนำมาใช้ประโยชน์กับทุกอาชีพ เพราะการตลาดออนไลน์จะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้สร้างเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋นขึ้นมา เพื่อจะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำยอดขายให้สูงขึ้น การวางแผนการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญมาก

 

รูปภาพประกอบ

 

อื่นๆ

เมนู