สภาพทั่วไป

         บ้านหนองม่วงน้อยในเดือนพฤษภาคมที่มา ชาวบ้านในชุมชนได้เริ่มฤดูกาลทำนา เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง และในการเฝ้าระวังโรคระบาดโควิด-19 บ้านหนองม่วงน้อยได้มีการตั้งจุดเฝ้าระวังผู้สัญจรไปมา ณ ศาลากลางหมู่บ้าน สถานการณ์ในชุมชนช่วงโรคระบาดโควิด-19 มีความเป็นอยู่เหมือนเดิมตั้งแต่ยังไม่มีสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เว้นแต่ไม่มีการจับกลุ่มนั่งเล่นเหมือนแต่ก่อน การค้าขายของในชุมชนค้าขายได้ลำบากขึ้นเนื่องจากไม่ค่อยมีชาวบ้านออกมาซื้อของเหมือนแต่ก่อน

การประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนๆ

กระบวนการการประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเชิญชวนให้ประชาชนลงทะเบียน

ขั้นตอนที่ 1 ได้มีการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะในตำบลทะเมนชัย ที่วัดด่านทองประชาสามัคคี และศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า โดยการกวาดฝุ่นลานทีชาวบ้านไว้ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ถูพื้นห้องที่ใช้เก็บอุปกรณ์ และเช็ดโต๊ะเก้าอี้ที่ชาวบ้านไว้ใช้นั่งทำกิจกกรม

ขั้นตอนที่ 2 ได้มีการบรรจุสเปรย์แอลกอฮอล์ ทำสบู่ เพื่อแจกจ่ายในชาวบ้านในชุมชนไว้ใช้ป้องกันโรคระบาด

ขั้นตอนที่ 3 มีการเดินรณรงค์เชิญชวนชาวบ้านในชุมชน โดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์ การทำวิดีโอเชิญชวน แพทย์ประจำโรงบาลสุขภาพตำบลได้มาให้ความเข้าใจและผลดีของการฉีดวัคซีน และยังมีการเข้าไปเชิญชวนชาวบ้านตามครัวเรือน

การฝึกอบรมการสร้างอาชีพให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย ซึ่งเป็นชุมชนที่รับผิดชอบไม่มีผู้เข้าร่วมโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ จึงได้รับผิดชอบบ้านหนองม่วงใต้

  1. การอบรมตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย

อบรมเรื่องการทำข้าวหมาก ที่ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบุลิ้นฟ้า มีวิทยากรเป็นกลุ่มชาวบ้านบ้านหนองตาดที่รวมกลุ่มทำข้าวหมากขาย โดยมีตัวแทนบ้านหนองม่วงใต้เข้าอบรมจำนวน 2 คนได้แก่  1.นายอภิวัฒน์ โยเหลา

2.นายประสาน แอบไธสง

ในการอบรมครั้งนี้ วิทยากรสามารถถ่ายทอดวิธีการทำและข้อควรระวังได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย

  1. การอบรมสมาชิกกลุ่มย่อย

เป็นการอบรมโดยตัวแทนที่เข้าอบรมในรอบแรกได้แก่ นายอภิวัฒน์ โยเหลา และ                   นายประสาน แอบไธสง เป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการทำข้าวหมากให้กับสมาชิกในกลุ่มย่อย โดยมีการอบรมที่ศาลากลางหมู่บ้านบ้านหนองม่วงใต้ มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 3 คนได้แก่

1.นางดาวเรือง  เดือนแจ้ง

2.นางบุญมี  เหมาะทอง

3.นายกิตติภูมิ  เพียรไลย์

ในการอบรมครั้งนี้เป็นเหมือนการทดลองทำข้าวหมากของสมาชิกในกลุ่มทุกคน จากการทดลองทำข้าวหมากในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ตัวแทนสมาชิกในกลุ่มที่อบรมรอบแรกสามารถนำความรู้ที่ได้อบรมมาถ่ายทอดกระบวนการทำได้สำเร็จครบถ้วน

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอบรม ได้แก่

  1. ข้าวหมาก
  • วัตถุดิบ ได้แก่ ข้าวเหนียวอินทรีย์ 1 กิโลกรัม แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน กระปุกสำหรับใส่ข้าวหมาก
  • ขั้นตอน 1. นึ่งข้าวเหนียวแล้วพักข้าวเหนียวให้เย็น
  1. เมื่อเข้าเหนียวเย็นแล้วให้นำข้าวเหนียวไปล้างด้วยน้ำฝนจำนวน 2 ครั้ง
  2. บทแป้งข้าวหมากให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับข้าวเหนียวที่ล้างเสร็จแล้วให้เข้ากัน
  3. บรรจุลงในกระปุกที่ได้เตรียมไว้ แล้วรอ 2-3 วัน ถึงจะสามารถรับประทานได้

2.ข้าวแต๋น

– วัตถุดิบ ได้แก่ ข้าวเหนียวอินทรีย์ครึ่งกิโลกรัม น้ำมันพืช งาขาว น้ำตาลทราย น้ำปูนใส น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย ผงโกโก้ มะนาวและเกลือ

– ขั้นตอน 1. นำข้าวเหนียวที่หนึ่งแล้วผสมกับน้ำ 250 มิลลิลิตร ผสมน้ำตาลเล็กน้อย น้ำปูนใส 2 ช้อน เกลือ งาและน้ำมะนาวเล็กน้อย

  1. เมื่อผสมทุกอย่างเข้ากันเรียบร้อย นำมาใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้แล้วเอาไปตากแดดให้แห้งสนิท
  2. เมื่อข้าวแต๋นแห้งสนิทแล้วให้นำมาทอดด้วยไฟความร้อนระดับกลาง
  3. ทำน้ำราดหน้าข้าวแต๋น เคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวกับน้ำ ใส่น้ำตาลอ้อย ผงโกโก้และเกลือลงไป คนให้เข้ากัน และเคี่ยวจนน้ำตาลเป็นเนื้อคาราเมล แล้วราดหน้าข้าวแต๋นที่ได้ทอดไว้เรียบร้อยแล้ว

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอาชีพ

  1. ในกระบวนการทำข้าวหมากอยากให้หาแป้งข้าวหมากที่รสชาติดีกว่านี้
  2. อยากให้ทำแป้งข้าวหมากเป็นสูตรเฉพาะของชุนชน เพื่อจะได้เป็นจุดเด่นและลดต้นทุนการผลิต
  3. อยากให้กลุ่มสมาชิกผู้ปฏิบัติงานฝึกพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง และนำความรู้ถ่ายทอดสู่ชุน

วีดีโอปฏิบัติงานประจำเดือนมิถุนายน

อื่นๆ

เมนู