HS08 – โครงการยกระดับแบบเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให่้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ประจำเดือน กรกฎาคม 2564

ข้าพเจ้านายอภิวัต สำรวมรัมย์ ประเภทบัณฑิต

ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภาพรวมของตำบล อธิบายกระบวนการการปฏิบัติงาน ตลอดหลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตำบลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึกอบรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวบ้าน การฝึกอบรมที่ได้ผลอย่างแท้จริงต้องมีการวางแผนและพัฒนาอย่างถูกต้องกระบวนการพัฒนามีความต้องการในการฝีกอบรม 1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมแก่ชาวบ้าน 2.การจัดทำแผนและโปรแกรมการฝึกอบรมให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายในการฝึกทำผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก จะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากในชุมชุนตำบลทะเมนชัยมีประสิทธิภาพมากขึ้นยิ่งๆขึ้นไป การออกแบบผลิตภัณฑ์ข้าวหมากมีใบตองกล้วยและกล่องพลาสติกเพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ข้าวหมากแต่มีอุปสรรคในการขนส่งทางทีม U2T มีไอเดียที่จะนำเอากระบอกไม้ไผที่มีมากในชุมชนเพื่อจะนำมาบรรจุผลิตภัณฑ์ข้าวหมากทำให้บรรจุภัณฑ์แข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและยังได้เอาวัสดุธรรมชาติมาใช้อีกด้วยเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

ผลจากการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่รับผิดชอบ อธิบายกระบวนการการปฏิบัติงาน ตลอดหลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชาวบ้านได้รับเข้าร่วมการอบรมกับวิทยากรด้านข้าวแต๋นได้อย่างแม่นยำและถูกต้องตามที่กำหนดเอาไว้และสอนวิธีทำให้แก่ชาวบ้านพร้อมให้ชาวบ้านลงมื้อทำด้วยมือของชาวบ้านและชาวบ้านที่เข้ารับการอบรมนำองค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมนำไปปรับใช้ในหมู่บ้านของตนเองอีกด้วย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของข้าวแต๋นจะนำซองสีน้ำตาลหรือกล่องที่มีรูใสๆตรงกลางเพื่อจะได้เห็นสินค้าของเราได้ชัดเพื่อดึงดูดลูกค้าข้าวแต๋นชาวบ้านก็นำเอาสีธรรมชาติมาทำและเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายอีกด้วย

ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการตลาดของกลุ่มอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมีปัญหามาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาและอุปสรรคด้านราคามีปัญหามากที่สุด รองลงมา มีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านผลิตภัณฑ์

ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม  พร้อมแนวทางแก้ไข การประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันทำให้การทำงานล่าช้า  ต้องมีการเรียกประชุมกันภายในกลุ่มและชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกัน

ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม  พร้อมแนวทางแก้ไข เวลาว่างของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ไม่ค่อยตรงกัน เลือกเวลาที่สมาชิกทุกคนว่างตรงกันมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่วันเสาร์-อาทิตย์

ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม  พร้อมแนวทางแก้ไข ขั้นตอนเตรียมการเกิดปัญหาในเรื่องวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ว่าหาซื้อได้ยากน้อยเพียงใดและเหมาะสมและจะออกมาดีหรือไม่  สมาชิกได้รวมตัวกันทดลองทำผลิตภัณฑ์ว่าจะออกมาดีตามที่ได้คาดหวังหรือเหมาะแก่การจัดจำหน่ายหรือไม่   

การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์  (Product  Development) 2. เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน 4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย2.1 สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity)2.2 ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistent)2.3 ความมีมาตรฐาน (Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction)2.4 มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product) ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนเชิงพื้นที่

 

อื่นๆ

เมนู