1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. HS08 – การลงพื้นที่สำรวจการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ : ข้าวหมากและข้าวแต๋น บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่11 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS08 – การลงพื้นที่สำรวจการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ : ข้าวหมากและข้าวแต๋น บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่11 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

HS08 – โครงการยกระดับแบบเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

               ประจำเดือนพฤษภาคม  2564

                                                                   ข้าพเจ้า นายอภิวัต สำรวมรัมย์ ประเภทบัณฑิต

                                                                ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 

ในเดือน พฤษภาคมนี้ กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์วันแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 กำหนดอบรมหลักสูตรข้าวหมากและข้าวแต๋น วันที่ 04 พฤษภาคม 2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมการวางแผนปรับรูปแบบการอบรมเพิ่มเติมใหม่ วันที่ 06 พฤษภาคม 2564 ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรข้าวหมากและข้าวแต๋น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์แบบกลุ่มย่อย วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่นำข้อมูลไปถ่ายทอดชาวบ้าน บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่ 11 และต่อไปนี้ผมจะกล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าว

การประชุมออนไลน์ วันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่องที่ 1 กำหนดหลักสูตรผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น เฉพาะกลุ่มย่อย จากเดิมวันที่ 29-30 เมษายน 2564 เลื่อนเป็นวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2564 เรื่องที่ 2 วิธีการจัดอบรมวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2564 ถ้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น อาจจะเลือกจัดอบรมได้ 3 วิธีดังนี้ 1.แยกกลุ่มอบรม 2.เปลี่ยนสถานที่ 3.เชิญชุมชนที่สนใจมาอบรมที่มหาวิทยาลัย เรื่องที่ 3 กรณีลืมลงเวลาให้ทำเป็นหนังสือลา ดังนี้ 1.การลาทุกครั้งต้องมีใบลา หากไม่มีใบลาถือว่าขาดในครั้งนั้น 2.การลาที่มีใบลา ลาได้ไม่เกิน 3 ครั้ง 3.การลงเวลาขาดเช้าหรือบ่าย ถือว่าขาด ให้ทำหนังสือลา ถ้าไม่มีหนังสือลา ถือว่าขาดในครั้งนั้นเช่นกัน เป็นต้น เรื่องที่ 4 การตรวจรายงานผลการปฏิบัติงาน จะต้องส่งอีเมล์ให้อาจารย์หลักสูตรตรวจสอบก่อน กำหนดส่งไม่เกินวันที่ 20 ของทุกเดือน

การประชุมออนไลน์วันที่ 04 พฤษภาคม 2564 เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงสถานที่ฝึกอบรมจากเทศตำบลทะเมนชัยให้มาฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 1.1 รูปแบบการฝึกอบรม อบรมเฉพาะผู้ปฏิบัติงาน ในส่วนของชาวบ้านให้ผู้ปฏิบัติงานนำการฝึกอบรมไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านอีกครั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 ดีขึ้น 1.2 อบรมวันที่ 06 พฤษภาคม 2564 ณ อาคาร 25 ชั้น 2 เริ่มการฝึกอบรมตั้งแต่เวลา 09.00น. – 12.00น. เรื่องที่ 2 การฝึกอบรมให้กับชาวบ้าน ให้รอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด-19 ดีขึ้นค่อยทำการถ่ายทอดการฝึกอบรมให้ชาวบ้านอีกครั้ง

เข้าร่วมอบรมหลักสูตรข้าวหมากและข้าวแต๋น ในฐานะกลุ่มย่อยอีกครั้ง ในวันที่ 06 พฤษภาคม 2564 การนำข้าวอินทรีย์ของเด่นในตำบลทะเมนชัยเพื่อไปแปรรูปเป็นข้าวหมากและข้าวแต๋นไปสร้างจุดเด่นและจุดสนใจ เพื่อเอาไปเผยแพร่อาหารว่างของคนในชุมชนให้เป็นที่รู้จักกับบุคคลทั่วไป โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือรสชาติแปลกใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น เพื่อที่เจาะกลุ่มเป้าหมาย และทำให้เป็นจุดสนใจในการซื้อ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่เป็นการประยุกต์และบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม สามารถใช้เป็นของที่ระลึก ของชำร่วย ของฝากในเทศกาลงานต่างๆ ตลอดจนสามารถเพิ่มรายได้เสริมให้แก่ชุมชน และที่สำคัญคือ การมุ่งเน้นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาข้าวหมากและข้าวแต๋นที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาสร้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดย่อมในชุมชน ให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น และยังสร้างความแปลกใหม่โดยเอาข้าวที่เหลือจากการบริโภคมาปรับเปลี่ยนรสชาติเพื่อให้เกิดการหลากหลายของตัวสินค้า พร้อมกับการนำเสนอรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและยังเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นอีก

การลงพื้นที่วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นำข้อมูลที่ไปอบรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ไปถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้าน บ้านหนองน้ำขุ่น หมู่11 การนำข้าวอินทรีย์ของดีในชุมชนไปแปรรูปเป็นข้าวแต๋นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านสนใจในการทำผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้

ได้สาธิตการทำข้าวหมากจากข้าวเหนียวหอมมะลิ ให้กับทีมงานจิตอาสาและตัวแทนประชาชนกลุ่มชุมชนอื่นๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำข้าวหมาก โดยมีวิธีการทำและรายละเอียดดังนี้

ส่วนประกอบและอัตราส่วน   : ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

วิธีทำ :

1.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน  ประมาณ 3 ครั้ง  ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

2.นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว

3.บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

– ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า

– การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง

– ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้

– น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน- เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

อื่นๆ

เมนู