ดิฉันนางสาวรุ่งอรุณ ศรีสวัสดิ์ ประเภทประชาชน ต.ทะเมนชัย หลักสูตร : HS08 พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ลงพื้นที่ปฎิบัติงานกับทีมงาน เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๐๘ : ๐๐ – ๑๗ : ๐๐ น.
ดิฉันกับทีมงานได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ลงพื้นที่ทำการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม ๐๑ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร : HS08 พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ณ บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำโดยจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาณ บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
บริบททั่วไป จากการที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ทำการเก็บข้อมูล ชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่๕ ที่อยู่ในเขตเทศตำบลทะเมนชัย หมู่ที่ ๕ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๐๐๙ ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ๓๑๑๓๐ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอลำปลายมาศ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร จำนวนครัวเรือนตามทะเบียนราษฎร จำนวนประชากร ๖๓๐ ครัวเรือน แยกเป็นชาย ๓๓๐ คน หญิง ๓๐๐ คนทุพพลภาพ จำนวน ๔ คน ผู้สูงอายุ ๕๖ คน ไม่มีสตรีมีครรภ์ เด็ก ๖๐ คน และเยาวชนอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๐ คน ลักษณะสภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลำคลอง ห้วยน้ำ ล้อมรอบพื้นที่หมู่บ้าน และพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้องมีแหล่งน้ำล้อมรอบหมู่บ้านโดยมีแหล่งน้ำดังนี้ ๑. สระน้ำเป็นแหล่งน้ำชุมชนหนองหญ้าปล้อง โดยอุปโภคและบริโภคและผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ๒.คลองอิสานเขียน ซึ่งประชากรในชุมชนใช้ทำการเกษตรในการปลูกพืชผัก ๓. สระหนองตาด อยู่ในเขตชุมชนแต่ไม่ได้ใช้น้ำจากสระหนองตาด โดยเทศบาลเป็นผู้นำน้ำมาบริหารจัดการทำระบบน้ำปะปาใช้ในเขตเทศบาลตำบลทะเมนชัย สถาบันทางสังคมหรือสถานที่ทางศาสนาของคนในชุมชน คือ ๑.โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง/ซึ่งเข้าเริ่มโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ โดยผู้ใหญ่บ้าน นายบุญมี ตอรบรัมย์เป็นที่ปรึกษาโครงการ ๒.วัดหนองหญ้าปล้อง ซึ่งเป็นสถานที่ทางศาสนาของชุมชนที่ขึ้นชื่อ ในเรื่องพระธาตุ
ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ค้าขายและเลี้ยงสัตว์ มีเพียงบางครัวเรือนที่ประกอบอาชีพงานหัตถกรรม คือ การถักสานสวิงเป็นอาชีพเสริม นอกจากรายได้ประจำ ลักษณะฐานะและรายได้ ส่วนมากในประชากรในชุมชนมีฐานะปานกลาง และรายได้ส่วนมากมาจากการทำนา โดยฐานะปานกลางจะทำนาประมาณ ๒๐-๓๐ ไร่ ถ้ามีฐานะดีจะทำนาประมาณ ๕๐ไร่ ขึ้นไป ลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่๕ คือ การเลี้ยงศาลตาปู่ ประจำหมู่บ้าน ในทุกๆปีของ ๓ ค่ำเดือน ๓ ชาวบ้านจะนำข้าวและเครื่องเซ่นไหว้อาหารคาวหวาน มาไหว้ที่ศาลตาปู่ประจำหมู่บ้านทุกปี ถือว่าเป็นที่พึ่งทางใจให้กับชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก และการทำบุญกลางบ้านของชุมชน ในทุกๆปี ของ ๖ ค่ำ เดือน ๖ จะมีการทำบุญกลางบ้านชุมชน ด้วยการนิมนต์พระมาสวดมนต์ช่วงเช้าและเย็น โดยช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และวันแรกของการสวดมนต์ ชาวบ้านจะร่วมรับประทานอาหารจนเสร็จพิธี โดยชาวบ้านความเชื่อว่าการทำบุญกลางบ้าน ก็เพื่อเป็นศิริมงคลของหมู่บ้านในชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน มีดังต่อไปนี้ ๑.ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน ข้าวมะลิ ๑๐๕ ซึ่งมีการรวมกลุ่มที่ศูนย์ข้าวที่บ้านบุลิ้นฟ้า ๒.ผลิตภัณฑ์ ฟาร์มเห็ด ถนอมศิลป์ ผลิตภัณฑ์โดดเด่นเป็นผลิตภัณฑ์ของครัวเรือน ในชุมชน หมายเหตุ: เดิมทีชุมชนเคยมีการสร้างผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้าน ทำขนมเปียะแต่ ณ ปัจจุบันไม่ได้ทำเพราะไม่มีแหล่งตลาดรับซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่กำลังศึกษาและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ข้าวมะลิ ๑๐๕ ความโดดเด่นทางกายภาพของพื้นที่/ชุมชน คือโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง เป็นโรงเรียนระดับเพชรและโรงเรียนพระราชทานของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สภาพปัญหาภายในชุมชนส่วนใหญ่ เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนทำอาชีพเกษตรกร จากการทำนา โดยชาวบ้านมีเมล็ดพันธุ์ข้าวของตัวเอง โดยเอาเมล็ดพันธุ์มาจากศูนย์ข้าวในตำบลชาว บ้านเริ่มทำนา โดยเดือนพฤษภาคม จะเริ่มทำการไถหว่าน และใส่ปุ๋ยบำรุงช่วงแรกเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม และช่วงที่สอง เดือน กันยายน – ตุลาคม และเริ่มเก็บเกี่ยว ในเดือน พฤศจิกายนเป็นต้นไป การทำนามีรายได้เพียงปีละ ๑ ครั้ง และเป็นรายได้หลักของครัวเรือนซึ่งมีปัญหาข้าวได้ผลผลิตน้อยและยังมีปัญหาอื่นเกี่ยวกับการทำนาเช่นปัญหาการรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเพราะเป็นการรวมกลุ่มเฉพาะสมาชิกของกลุ่มศูนย์ข้าว ปัญหาด้านองค์ความรู้ในการผลิต มีชาวบ้านบางกลุ่มยังไม่รู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว ปัญหาบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเมล็ดข้าวปน อย่างเช่นเม็ดข้าวมะลิแต่มีเม็ดข้าวแดงผสม และมีปัญหาสภาพแวดล้อม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการจัดเก็บและกำจัดขยะ มีชาวบ้านบางกลุ่มยังทิ้งขยะไม่เป็นที่ และการกำจัดขยะโดยการเผาขยะที่ไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ปัญหาที่พบเจอส่วนใหญ่ คือ เมื่อหลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตชาวบ้านก็เข้าสู่สภาวะการว่างงาน ทำให้ชาวบ้านต้องประสบกับปัญหาการใช้จ่ายในครัวเรือนที่ไม่เพียงพอ เมื่อชาวบ้านประสบปัญหากับรายได้ จึงต้องหันไปกู้ยืมเงินและต่อมาทำให้เกิดภาวะหนี้สินในครัวเรือน ซึ่งหากในปีถัดไปผลผลิตจากการทำการเกษตรราคาตกก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านประสบกับปัญหารายจ่ายในครัวเรือน รวมไปถึงการจ่ายหนี้สินที่จะทำให้เกิดปัญหายากจน
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ คือ อยากให้มีโครงการอบรมจัดให้มีการประชุมกลุ่มชาวนาที่ได้ผลผลิตข้าวตกต่ำ เพื่ออบรมและเข้ากลุ่มเป็นสมาชิกศูนย์ข้าวเพื่อเรียนรู้ และ การพัฒนาจัดอบรมเกี่ยวกับการทำเกษตรปลูกข้าวและวิธีการแก้ปัญหา ทางการเกษตร และโครงการช่วยเหลือชาวบ้านที่ว่างงานจากการทำการเกษตรโดยเริ่มจากมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาฝึกอาชีพให้กับชาวบ้าน มองหาจุดเด่นในชุมชนอย่าง ในกรณีนี้ดิฉันเห็นว่าจุดเด่นในชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่๕ นอกจากผลิตภัณฑ์ ข้าวมะลิแล้ว ยังมีการเลี้ยงสัตว์ การปลูกผักสวนครัวและการทำฟาร์มเห็ดของบางครัวเรือน หากได้รับการสนับสนุนในด้านความรู้และมีผู้นำในการทำโครงการ ดิฉันคิดว่าสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อสร้างอาชีพ มีการรวมตัวกันเพื่อมาเรียนรู้และให้ผู้เชี่ยวชาญหรือนักศึกษาจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่มีความรู้และความสามารถมาให้ความรู้กับคนในชุมชนได้ เช่น การเรียนรู้การปลูกพืชผักสวนครัวทางการค้าให้ได้ผลผลิตที่สูงและมาตรฐาน การเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด และการสนับสนุนแหล่งรับซื้อผลิตทางการเกษตร เพื่อเป็นกระจายรายได้ให้กับครัวเรือนในชุมขน
ดิฉันได้เข้าไปลงพื้นที่เก็บข้อมูลกับชาวบ้าน บ้านหนองหญ้าปล้องและได้ถามถึงความเป็นมาของคนในหมู่บ้านแล้วนั้น ดิฉันได้ขอสอบถามข้อมูลและรายละเอียดกับชาวบ้านตามแบบสอบถาม ๐๑ สำรวจข้อมูลชุมชน และสอบถามแบบฟอร์ม (๐๒) ผลกระทบจากโควิด -19 ที่ทางส่วนกลางให้มา และดิฉันจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนรายงานในเชิงวิชาการในลำดับต่อไป