การปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
นายศุภกร วิเศษนคร บัณฑิตจบใหม่
พื้นที่เก็บข้อมูล บ้านทะเมนชัยสอง ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
จากการที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ไปติดตามผลการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวแทนสมาชิกทุกชุมชนนั้น มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการฝึกอบรมเป็นอย่างดีมาก มีการลองทำกันเอง ทดลองสูตร และการคิดค้นหาสูตรใหม่ๆ ในเฉพาะของชุมชนตัวเอง การเพิ่มสีสันและรสชาติของผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้ใส่ผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย เริ่มตั้งแต่การที่ตัวแทนสมาชิกรวมกลุ่มกันทำเองที่ชุมชนของตัวเอง ช่วยกันคิดค้นวิธีการที่จะแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์ที่รสชาติไม่เป็นตามที่ต้องการ การลองผิดลองถูก จนไปถึงการแลกเปลี่ยนทักษะความรู้ในการทำซึ่งกันและกันจนได้ผลิตภัณฑ์ที่ตัวแทนสมาชิกของชุมชนนั้นต้องการ
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำหน้าที่ในการคอยติดตามและให้คำแนะนำในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ตัวแทนสมาชิกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดสรรให้งบประมาณจากโครงการ สนับสนุนวัตถุดิบในการจัดทำ และช่วยคิดค้นรสชาติและสีสันของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการหาช่องทางการจำหน่ายที่สามารถเพิ่มยอดขายได้ โดยเฉพาะการสร้างเพจออนไลน์ ทำกลุ่มตลาดออนไลน์ จนไปถึงการบอกต่อโดยการเผยแพร่ผ่านบทความลงในระบบเว็บไซต์ของโครงการ
ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบปฏิบัติงาน บ้านทะเมนชัยสอง หมู่ 14 ซึ่งชุมชนนี้นั้นได้เลือกการฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น โดยผลจากการข้าพเจ้าไปฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นร่วมกับตัวแทนสมาชิกในชุมชนแล้วนั้น พบว่าตัวแทนสมาชิกในชุมชนนั้นมีประสบการณ์ในการทำขนมกรอบเค็มและโรตีกรอบส่งออกจำหน่ายมาก่อนแล้ว ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นจึงไม่เป็นงานยากนักสำหรับตัวแทนสมาชิกในชุมชนนี้ ข้าพเจ้าจึงได้แต่ทำหน้าที่ในการคอยติดตามและให้คำแนะนำในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ตัวแทนสมาชิกในชุมชน โดยการจัดสรรให้งบประมาณจากโครงการ สนับสนุนวัตถุดิบในการจัดทำ และช่วยคิดค้นรสชาติและสีสันของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการหาช่องทางการจำหน่ายที่สามารถเพิ่มยอดขายได้ โดยเฉพาะการสร้างเพจออนไลน์ ทำกลุ่มตลาดออนไลน์ จนไปถึงการบอกต่อโดยการเผยแพร่ผ่านบทความลงในระบบเว็บไซต์ของโครงการ
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
1. ปัญหาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1) ปัญหาก่อนดำเนินกิจกรรม
ชาวบ้านในบางชุมชนยังไม่ให้ความร่วมมือในการรวมกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากชาวบ้านยังไม่มีความเชื่อมั่นในโครงการ และยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของการ หาตัวแทนสมาชิกและวัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
แนวทางแก้ไข สร้างเครือข่าย โดยให้ชาวบ้านในชุมชนที่ไม่มีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเครือข่ายให้กับชุมชนที่มีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) ปัญหาระหว่างดำเนินกิจกรรม
ไม่สามารถลงพื้นที่ไปดำเนินกิจกรรมในชุมชนบางกิจกรรมได้ เนื่องจากเป็นช่วงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ยังรุนแรงขึ้น
แนวทางแก้ไข จัดสรรงบประมาณ ค่าวัตถุดิบในการฝึกอบรมให้กับกลุ่มตัวแทน สมาชิกของแต่ละชุมชน เพื่อให้ไปทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองที่ชุมชนของตัวเอง โดยจะมีทีมผู้ปฏิบัติงานไปคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และติดตามผลการอบรมอยู่เสมอ
3) ปัญหาหลังจากการดำเนินกิจกรรม
ตัวแทนสมาชิกของแต่ละชุมชนยังไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้สื่อออนไลน์ทำการตลาดออนไลน์ ในการหาเครือข่าย เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนตัวเอง
แนวทางแก้ไข ทำการให้ความรู้ในเรื่องของการใช้สื่อออนไลน์ทำการตลาดออนไลน์ การหาเครือข่ายให้กับตัวแทนสมาชิกของแต่ละชุมชน
2. การพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแนวทางยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์
1) จัดทำเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ขั้นตอนและวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น พร้อมระบุถึงประโยชน์จากการรับประทาน เพื่อให้บุคคลอื่นๆ สามารถได้รู้จักผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นมากขึ้น
2) จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพให้กับคนอื่นๆ ในชุมชนด้วย โดยการให้วิทยากรตัวแทนสมาชิกที่ได้ฝึกอบรมมาแล้วนั้น เป็นผู้ถ่ายทอดกระบวนการทักษะและความรู้สู่คนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนนั้นมีความรู้และทักษะในการไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของตนเองได้
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการเข้าแข่งขันในกิจกรรมงาน Hackathon 2021 โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- ติดตามและแจ้งข่าวความคืบหน้าของกิจกรรมงาน Hackathon 2021 ให้แก่ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน
- ช่วยเหลือและร่วมทำงานนำเสนอ PowerPoint ให้กับทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
คลิปวิดีโอประกอบการปฏิบัติงาน