ผลดำเนินโครงการ การพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์

“ข้าวหมาก ข้าวแต๋น”

U2T ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

  1. เข้าร่วมประชุมออนไลน์และออนไซต์ กับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย เพื่อวางแผนการติดตามและการลงพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ “ข้าวหมาก ข้าวแต๋น” การจัดกิจกรรมสังเคราะห์รายงานการดำเนินโครงการ U2T ,กิจกรรมให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น,กิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ,กิจกรรมจัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ U2T กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ข้าวหมาก ข้าวแต๋น, กิจกรรมจัดทำสรุป TSI เป็นอินโฟกราฟิกรายงานมหาวิทยาลัย,กิจกรรมการทำตลาดออนไลน์ช่วยชุมชน ออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ และติดตามสอบถามปัญหาระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับกลุ่มตัวแทนของชุมชน

 

  1. กิจกรรมสังเคราะห์รายงานการดำเนินงานโครงการ U2T ณ บ้านบุลิ้นฟ้า ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ร่วมกันจัดทำรายงานสรุปโครงการ U2T ตำบลทะเมนชัย และสรุปประเด็น ระดมความคิด เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลนำไปจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน โดยประกอบไปด้วย บทที่ 1 บทนำสภาพทั่วไปของตำบลทะเมนชัย บทที่ 2วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน บทที่ 3ผลการดำเนินงาน บทที่ 4 ประเมินผลโครงการ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ และทีมผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนความคิด ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระหว่างการดำเนินโครงการ ภายในกลุ่ม เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำรายงาน

  1. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ผศ.ดร.คำภีรภาพ อินทะนู อ.ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลทะเมนชัย และกลุ่มตัวแทนชาวบ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านน้อยพัฒนา และบ้านบุตาริด ได้เข้าร่วมรับฟังคำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวอินทรีย์ ข้าวหมาก ข้าวแต๋น โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์จิรายุ อาจารย์ธนวรรณ มุสิกา อาจารย์ประจำวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากดังนี้
  2. การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนสามารถขอ อย.ได้ และต้องมีโรงเรือนในการผลิตข้าวหมาก
  3. การนำข้าวหมากไปแปรรูปเป็นไอศกรีม เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ต้องผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ทำให้อุณหภูมิต่ำ และอาจารย์ได้แนะนำให้ศึกษาสูตรของไอกรีมข้าวหมาก โดยการผสมนมเข้าไป เช่น น้ำนมข้าว นมถั่วเหลือง เป็นต้น
  4. ช่วงฤดูหนาวข้าวหมากเป็นยากกว่าฤดูร้อน อาจารย์ได้แนะนำให้นำข้าวหมากใส่กล่องโฟมแล้วนำผ้าชุบน้ำอุ่นปกคลุมไว้ เพื่อทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
  5. แป้งข้าวหมากที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเองพบหนอนแมลง และมีรสชาติเปรี้ยว โดยอาจารย์จะค้นหาสูตรวิธีการทำแป้งข้าวหมากให้กับกลุ่มตัวแทนชาวบ้าน
  6. มีการแนะนำการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของกลุ่ม โดยแนะนำให้จัดทำในระบบคอมพิวเตอร์ และแนะนำแอปพลิเคชั่นกลุ่มเกษตรขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาวบ้าน

และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นดังนี้

  1. แนะนำให้เพิ่มสีจากวัตถุดิบธรรมชาติให้มีสีสันที่หลากหลาย เช่น สีม่วงจากดอกอัญชัน สีแดงจากแก้วมังกร เป็นต้น และแนะนำให้จัดทำข้าวแต๋นหน้าพริกเผาหมูหยอง ข้าวแต๋นหน้าช็อคโกแลต เพื่อเพิ่มความหลากหลายต่อการจำหน่ายและแปลกให้ในท้องตลาด
  2. แนะนำช่องทางการจำหน่าย เพิ่มช่องทางการตลาด เช่น จำหน่ายในกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น
  3. ออกแบบโลโก้ให้ชัดเจน มีคิวอาร์โค้ด และมีสตอรี่ที่มาของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น
  4. แนะนำให้กลุ่มตัวแทนชาวบ้านไปยื่นขอทะเบียนวิสาหกิจ เพื่อให้มีใบรับรองข้าวอินทรีย์ปลอดสาร เมื่อวางจำหน่ายสินค้าจะทำให้มีความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภค

  1. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 อ.ดร.สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน และทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลทะเมนชัย ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ ณ วัดด่านทองสามัคคี บ้านหนองตาด      ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีกิจกรรมล้างห้องน้ำ ทำความสะอาดบริเวณวัด และปลูกต้นไม้ ข้าพเจ้าและสมาชิกอีก 3 ท่าน ได้อาสาล้างห้องน้ำจำนวน 5 ห้อง และทำความสะอาดบริเวณรอบห้องน้ำและพื้นที่บริเวณวัด และทำหน้าที่บันทึกภาพและวิดีโอเพื่อนำมาใส่ในรายงาน เดือนธันวาคม

  1. กิจกรรมจัดทำรายงานการดำเนินงานโครงการ U2T ทีมผู้ปฏิบัติงานได้จัดทำรายงานดำเนินโครงการ U2T โดยได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบออกเป็น 4 กลุ่ม ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบรายงาน บทที่ 3 ผลการดำเนินงานโครงการ โดยได้รวบรวมกิจกรรมระหว่างดำเนินงานโครงการ U2T ตำบลทะเมนชัย ได้แก่

5.1 การฝึกอบรม โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน U2T และให้ความรู้กับกลุ่มตัวแทนชาวบ้าน กลุ่มข้าวหมาก ข้าวแต๋น เพื่อให้กลุ่มตัวแทนชาวบ้านได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์และคอยติดตามให้คำแนะนำ และแนวทางการแก้ปัญหากับชาวบ้านอยู่เสมอ

5.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวแทนชาวบ้านได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์“การทำข้าวหมาก”มีกระบวนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ใช้วัตถุดิบไม่มากและใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่การนำใบตองซาดมาเป็นบรรจุภัณฑ์ และต่อมาได้นำใบตองกล้วยมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ แต่การนำใบตองกล้วยมาเป็นบรรจุภัณฑ์นั้น พบปัญหา คือ ใบตองแตกทำให้น้ำข้าวหมากรั่วไหลเลอะบรรจุภัณฑ์จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์มาเป็นกระปุกพลาสติกใสมีฝาปิดมิดชิด เพื่อลดปัญหาการรั่วไหลของน้ำข้าวหมาก เพื่อความสะดวกในการรับประทานและการเก็บรักษา และในอนาคตจะมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น “ถ้วยกระบอกไม้ไผ่” เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติและเป็นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการช่วยลดการใช้แก้วหรือถ้วยพลาสติก

และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ข้าวแต๋น” การเเปรรูปจากข้าวอินทรีย์ให้อยู่ในรูปของขนมทานเล่น ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อมาใช้ในการทำข้าวเเต๋น อีกทั้งยังเป็นการลดการทิ้งข้าวเหนียวไปโดยสูญเปล่า เมื่อทานข้าวเหนียวไม่หมด  สามารถนำมาทำเป็นข้าวเเต๋น เพื่อเป็นขนมเก็บไว้ทานในภายหลัง ซึ่งในการทำข้าวเเต๋นนั้น สามารถต่อยอดให้เกิดเป็นอาชีพให้กับชาวบ้านได้ เมื่อเริ่มมีการพัฒนา จะมีการปรับปรุงสีเเละรสชาติ ซึ่งสีของข้าวเเต๋นนั้น เราสามารถนำสีจากพืชในท้องถิ่นมาใช้ได้ เช่น ใบเตย ดอกอัญชัน เเละเเตงโม เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่เกิดการปรับปรุงสีของตัวผลิตภัณฑ์

5.3 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมการอบรมพัฒนาตลาดออนไลน์ การตลาดและการตลาดสมัยใหม่ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรกระบวนการ นายปัณณทัต  สระอุบล  นักการตลาดออนไลน์ (Digital Marketer) เข้ามาให้ความรู้ทีมผู้ปฏิบัติงาน เรื่อง สัมมาชีพชุมชน, การเชื่อมโยงสัมมาชีพสู่การตลาด,การตลาดด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า,ความสำคัญของการตลาด,วิวัฒนาการการตลาด,การวิเคราะห์ตลาด,การดูกลุ่มเป้าหมาย Marketing Mix สินค้า ผลิตภัณฑ์ โปรโมชั่น,กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสนใจสั่งซื้อ และสามารถปิดการขายได้,นำเสนอช่องทางการขายผ่าน Facebook  Fanpage , Shopee , Lazada อีกทั้งทีมผู้ปฏิบัติงานได้จัดทำ Facebook  Fanpage เพื่อการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของตำบลทะเมนชัย ข้าวหมากและข้าวแต๋น

5.4 การจัดทำบัญชีครัวเรือน ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ให้ความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ให้กับกลุ่มตัวแทนข้าวบ้าน กลุ่ม “ข้าวหมาก,ข้าวแต๋น” เพื่อประโยชน์ ดังนี้ 1. ตอนนี้รายรับมากกว่ารายจ่าย หรือน้อยกว่า 2.เพื่อทราบว่าค่าใช้จ่ายมาจากส่วนไหนมากที่สุด 3.เป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยระงับความต้องการที่ไม่จำเป็น 4.เป็นหนึ่งเครื่องมือในการฝึกวินัย และใช้ในการวางแผนการเงิน

5.5 การรวมกลุ่มของสมาชิกผลิตภัณฑ์ “ข้าวหมาก,ข้าวแต๋น” ทำให้ชาวบ้านเกิดความสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันได้ภายในชุมชน และมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบูรณาการกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน

  1. กิจกรรมพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “ผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋น” การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลทะเมนชัย ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่คอยให้คำปรึกษา พร้อมทั้งถามถึงปัญหาและช่วยแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาในการจัดทำรายงาน และลงพื้นที่บันทึกภาพ วิดีโอ ในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อนำมาสรุปผลการดำเนินโครงการ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของ U2T ตำบลทะเมนชัย โดยมีหมู่บ้านต้นแบบจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองตาด บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านน้อยพัฒนา และบ้านบุตาริด

 

  1. จัดทำกราฟิกการดำเนินงานรายตำบล (TSI) ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์“ตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน” ประกอบไปด้วย

7.1 ข้อมูลพื้นฐานชุมชน ตำบลทะเมนชัยประกอบไปด้วย 17 หมู่บ้าน 2,477 หลังคาเรือน   มีประชากร 9,030 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 การปกครองได้แก่ เทศบาลตำบลทะเมนชัย 7 หมู่บ้าน อบต.10 หมู่บ้าน

7.2 โจทย์พัฒนาพื้นที่

      1. การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนได้มีรายได้เสริม
      2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์
      3. การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยั่งยืน                                                                                         7.3กิจกรรมพัฒนาพื้นที่
  1. การส่งเสริมอาชีพ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ “ข้าวหมากและข้าวแต๋น”
  2. การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรปลอดสาร
  3. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ จัดทำคู่มือ การเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
  4. การจัดการแหล่งท่องเที่ยวจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เชื่อมโยง สถานที่สำคัญในชุมชน

7.4 กลไกการทำงานในตำบล

7.5 TMAPความต้องการ 5 มิติ

7.6 ผลลัพธ์

7.6.1 เชิงเศรษฐกิจ

      1. ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ภายในชุมชน จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์
      2. รายได้ที่เพิ่มขึ้น

– กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ ร้อยละ 20 / 25,000 บาทต่อปี

– 5,000 บาท ต่อครัวเรือน

    1. การเพิ่มผลผลิต

– ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 5

– ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

  • ผลลัพธ์เชิงสังคม
  1. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาบูรณาการกับการผลิต
  2. ชาวบ้านสามารถใช้เวลาว่างหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋นให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมได้
  3. ทำให้ชาวบ้านเกิดความสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปัน พึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเองได้
  4. ชุมชนและลูกค้าผู้บริโภคเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์จากข้าวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น
  5. เกิดแหล่งเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนที่เป็นต้นแบบได้ จำนวน 4 ชุมชน
  6. ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนในชุมชน

8.กิจกรรมการทำตลาดออนไลน์ช่วยชุมชน มีผู้ปฏิบัติงาน U2T ได้จัดทำ Facebook  Fanpage โดยมีชื่อว่า “U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ตำบลทะเมนชัย”เพื่อการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของตำบลทะเมนชัย ข้าวหมากและข้าวแต๋น ของกลุ่มตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมกับโครงการ U2T และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ข้าวแต๋นและผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผ่าน Facebook  Fanpage จัดทำการรับออเดอร์พร้อมปิดการซื้อขายผลิตภัณฑ์แล้วแจ้งชุมชนให้จัดทำผลิตภัณฑ์ส่งตามออเดอร์ที่สั่งเข้ามา ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อให้ผู้ที่ติดตาม Facebook  Fanpage  ได้รับข่าวสารและเพื่อเป็นสิ่งที่น่าสนใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อมากขึ้น

9.ปฏิบัติงานในฐานะประธานทีมผู้จ้างงาน ทำหน้าที่ในการประสานงานสมาชิกให้ความร่วมมือจากงานมอบหมายของมหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตร และหน่วยงานประสานงาน (กบค.)

10.จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และบันทึกข้อมูลลงในระบบ

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู