ข้าพเจ้านางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์ กลุ่มประชาชน ได้ลงพื้นที่ในเขต ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยได้ดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากประชาชนบ้านบริหารชนบท พบว่า ประชาชนต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ หลายประเภท ได้แก่ ข้าวหมาก ข้าวเกรียบและสบู่น้ำนมข้าว  มีผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนให้ความสนใจ คือ ข้าวหมาก เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวหมากมีวิธีการทำที่ง่าย ใช้วัตถุดิบไม่มากและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นต้น โดยเห็นว่า ควรมีการอบรมเรื่องการทำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ  การตลาด  การจัดตั้งกลุ่มการผลิต มีกระบวนการส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาอาชีพในชุมชนให้เข้มแข็ง

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดกิจกรรมกลุ่ม (focus group) ในชุมชนบ้านบริหารชนบท มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน  พบว่า ประชาชนมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ดังนี้ 1.ข้าวหมาก 2.ข้าวเกรียบ 3.สบู่น้ำนมข้าว เมื่อได้ทำการสังเคราะห์ความต้องการที่เป็นจุดเด่นและที่ชุมชนมีศักยภาพเพียงพอ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ ข้าวหมาก เนื่องจาก ข้าวหมากเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สามารถบำบัดอาการของโรคเรื้อรังต่างๆ ได้และยังช่วยทำให้ผิวพรรณดี ผิวใส อีกด้วย โดยเห็นว่า ควรมีการอบรมในเรื่อง การอบรมเรื่องการทำข้าวหมากเพื่อสุขภาพ มีกระบวนการส่งเสริมในเรื่องการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน

จุดเด่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านบริหารชนบท ได้แก่  มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเพณีบุญกลางบ้าน ที่น่าสนใจ มีวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติและการดำรงชีพของชาวบ้าน ทำให้ประหยัดต้นทุน ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอกจนเกินไป

จุดด้อยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านบริหารชนบท ได้แก่ ชาวบ้านส่วนมากไม่มีแหล่งที่ดินทำกินสาเหตุมาจากประสบกับปัญหาผลผลิตการเกษตรที่ล้มเหลว ผลผลิตล้นตลาด ราคาตก ก่อให้เกิดภาวะหนี้สิน นำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินทำกินเพราะขายนำไปใช้หนี้

โอกาสที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนนี้สามารถจำหน่ายและสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ชุมชนได้ คือ ความทันสมัยของเทคโนโลยี การมีตลาดออนไลน์ ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมจะทำให้ชุมชนมีศักยภาพที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผู้รับการอบรมสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และสามารถใช้ตลาดออนไลน์เป็นเครื่องมือในการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆของตนเองและชุมชนได้

อุปสรรค ปัจจัยภายนอกที่เป็นข้อจำกัดในการผลิตสินค้าประเภทนี้ได้แก่ สภาพภูมิอากาศหรือฤดูกาลมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ สภาวะทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องแป้งข้าวหมากที่ต้องสั่งซื้อจากตลาดภายนอก และส่วนผสมบางอย่างมีความใกล้เคียงกับแป้งสาโท หากได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสรรพสามิตจะทำให้เกิดความมั่นใจในการผลิตมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะของสมาชิกในชุมชน : มีการอบรมเพิ่มความรู้ การไปศึกษาดูงานในพื้นที่ใกล้เคียง และนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ตามวิถีของความพอเพียง

ข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงาน : การพัฒนาเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง นำโดยผู้นำชุมชนและชาวบ้านช่วยกันขับเคลื่อนและวิธีแบบที่ชุมชนบริหารจัดการตนเอง เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ เน้นชุมชนที่มีศักยภาพ และมีการติดตามประเมินผล พร้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติมาปรับใช้กับการพัฒนาประเทศ

ภาพประกอบ

อื่นๆ

เมนู